คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ผีตาโขน

ผีตาโขน

       ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ จะมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่มี “บุญหลวง” เป็นบุญพระเวสสันดรและบุญบั้งไฟรวมกันนับเป็นเวลานานหลายร้อยปี หรืออาจจะมีตั้งแต่เมื่อครั้งพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย

      การละเล่นผีตาโขน "ผีตาโขน” เป็นคำที่เรียกชื่อ การละเล่นชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นต้องสวมหน้ากากที่วาดหรือแต้มให้หน้ากลัว โดยชุดแต่งผีตาโขนใช้ผ้าเก่า ผ้ามุ้ง หรือใช้เศษผ้านำมาห่อหุ้มร่างกายให้มิดชิด ซึ่งจะร่วมเข้าขบวนแห่และแสดงท่าทางต่าง ๆ ระหว่างที่มีประเพณีบุญหลวง เป็นการละเล่นที่มีเฉพาะในท้องที่อำเภอด่านซ้ายเท่านั้น

      คำว่า “ผีตาโขน” ความหมายเดิมไม่แน่ชัดเท่าที่สืบทราบแต่เพียงว่าเป็นผีที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวจากการที่สอบถามร่างทรง "เจ้ากวน” ผีตาโขนมาจากคำว่า"ผีตามคน” คนเข้ามาขออาหาร ขอส่วนบุญในเมืองมนุษย์ทำการเล่นหยอกล้อผู้คนขอข้าวปลาอาหารแล้วก็จะพากันกลับยังถิ่นที่อาศัยของตน ในการเล่น "ผีตาโขน” ของชาวอำเภอด่านซ้ายมีความเชื่อว่า ประการแรก เล่นเพื่อถวายดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจในการปกครองสูงสุดในเมืองด่านซ้าย ประการที่สองเล่นเพื่อร่วมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง อันเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ประการที่สาม เล่นเพื่อร่วมขบวนในการแห่บุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และการแห่ขอฝน ประการที่สี่ เล่นเพื่อความสนุกสนาน ประการสุดท้าย เล่นเพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีที่เคยกระทำด้วยกาย วาจา ใจ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ติดไปกับผีตาโขน โดยการนำไปล่องลำน้ำหมัน เป็นการเสร็จสิ้นพิธีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน

 

ข้อมูลจาก  :  กระทรวงวัฒนธรรม

http://www.m-culture.go.th/ 

37,120 views

0

share

Museum in Loei

31 October 2019
13,096
567
31 August 2018
6,705
519
27 July 2018
9,297
488
31 August 2019
3,916
290