คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

มนต์รักโค้งแหลม

มนต์รักโค้งแหลม แซมเสน่ห์นารายณ์ราชนิเวศน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เสน่ห์ประการหนึ่งของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี คือซุ้มประตูที่มีรูปทรงเป็นวงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร แล้วที่ผนังด้านในกำแพงวัง ยังเจาะช่องซุ้มโค้งแหลมเล็ก สำหรับตามประทีป หรือวางตะเกียงส่องสว่างอีกนับพันช่อง

ชวนให้จินตนาการถึงค่ำคืนที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ.2199 – 2231) ทรงเปิดพระราชวังต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากแดนไกล โดยใช้ “ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง” เป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาต ยามนั้นจะงดงามอลังการเพียงใด

สะท้อนยุคทองของเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม และการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยะประเทศ จนกรุงศรีอยุธยาประหนึ่งเป็นสโมสรที่มีชาวนานาชาติพันธุ์มาชุมนุมกันมากถึง 40 ชนชาติภาษา ตามที่ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสบันทึกไว้

หนึ่งในจำนวนนั้นคือชาวเปอร์เชีย หรือ “แขกเปอร์เซีย” ที่เข้ามาค้าขายเป็นล่ำเป็นสันกับชาวอยุธยา จนร่ำลือกันว่าพระเจ้ากรุงเปอร์เซียถึงกับแต่งทูตมาถวายคัมภีร์อัล กุรอ่าน เพื่อเชิญเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ให้เปลี่ยนศาสนา เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสต้องรีบแต่งราชทูตมาทูลเชิญให้เข้ารีตเป็นชาวคริสเตียนเช่นกัน ทว่า ก็เป็นเจตนาที่ล้มเหลวด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ขณะเดียวกัน ราชสำนักอยุธยาก็ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักเปอร์เซีย สมัยชาห์สุลัยมานแห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม อันเป็นเหตุให้รูปทรงสถาปัตย์แบบวงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) เลื่อนไหลถ่ายเทมาเติมเสน่ห์ให้ซุ้มประตูพระนารายณ์ราชนิเวศน์ตราบจนวันนี้

ในทางสถาปัตยกรรม ช่องโค้ง (Arch) เป็นภูมิปัญญาในการออกแบบโครงสร้างลักษณะโค้ง เพื่อใช้รองรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง เป็นเทคนิควิธีที่มีพัฒนาการมาแต่สมัยเมโสโปเตเมีย อียิปต์ และโดยเฉพาะในสมัยโรมันเรืองอำนาจ

จากช่องโค้งธรรมดา พัฒนาไปสู่วงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) โครงสร้างสำคัญของโบสถ์ในศาสนาคริสต์ มัสยิดในศาสนาอิสลาม ซึ่งนอกจากเป็นเทคนิคถ่ายเทน้ำหนักสิ่งก่อสร้างแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนจิตใจมนุษย์ที่มุ่งทำแต่ความดี เพื่อจะได้ใกล้ชิดพระเจ้าบนสรวงสวรรค์ พบเห็นได้ในศิลปะสถาปัตยกรรมแบบกอทิก ศิลปะเปอร์เซีย และศิลปะไบแซนไทน์ และกอทิกแบบเวนิเทียน (Venetian Gothic) ซึ่งผสมผสานกอทิกกับไบแซนไทน์ เข้าด้วยกัน
เช่น รูปทรงวิหารซานมาร์โก และพระราชวังดอจ ในเมืองเวนิส อิตาลี ถือเป็นศิลปะ “กอทิกแบบเวนิเทียน” ที่ส่งแรงบันดาลใจให้ล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ทรงสร้าง “บ้านนรสิงห์” ด้วยศิลปะลูกผสมนี้ โดยปัจจุบัน บ้านนรสิงห์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนาม ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับซุ้มประตูโค้งแหลม ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ศาสตราจารย์พิทยา บุนนาค ผู้ศึกษาอิทธิพลศิลปกรรมเปอร์เซียในสถาปัตยกรรมอยุธยา ระบุว่าเป็นโค้งแบบอิสลาม ไม่ใช่โค้งแบบกอทิก และมีลักษณะพิเศษคือเป็นโค้งยอดแหลมแบบตวัดเล็กน้อย งดงามไปอีกแบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มนต์รักโค้งแหลมที่แซมเสน่ห์ให้นารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมเปอร์เซียที่ปรากฏเด่นชัดในสังคมไทย นอกเหนือไปจาก กุหลาบ แกงมัสมั่น ขนมซ่าหริ่ม ข้าวหมกไก่ รวมถึงคำว่า “ฝรั่ง”   ก็มาจาก “ฟารังงี” ที่ชาวเปอร์เซียใช้เรียกชาวตะวันตก และอีกมากมายหลายคำ ที่ซึมแทรกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน...ตราบจนวันนี้   

*เอกสารอ้างอิง

1.น. ณ ปากน้ำ. “ศิลปะและวัฒนธรรมจากดินแดนอาหรับเมื่อแรกเข้าสู่สยามประเทศ“ สนพ.เมืองโบราณ, 2534

2.เว็บไซต์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://www.surdi.su.ac.th

 

 

 

หมูตึกสิบสองท้องพระคลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิหารซานมาร์โก เวนิส อิตาลี

 

 

 

 

 

 

 

พระราชวังดอจ เวนิส

 

 

 

 

 

 

 

 

ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง

 

ผู้เขียนบทความ : teeraparb lohitkul

10,260 views

1

share

Museum in Loburi

22 August 2022
17,155
501
06 September 2023
34,867
650
28 June 2019
4,615
489
22 August 2022
9,526
445
23 May 2019
5,814
550
28 June 2019
3,533
493
28 June 2019
10,549
479
27 November 2018
10,905
517