คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ข่าวสาร

  1. หน้าแรก
  2.    >   ข่าวสารทั้งหมด
  3.    >   มิวเซียมสยาม จับมือภาครัฐ-เอกชน ร่วมพัฒนาเครือข่าย

มิวเซียมสยาม จับมือภาครัฐ-เอกชน ร่วมพัฒนาเครือข่าย

21 มีนาคม 2560

655 ผู้เข้าชม

0

แบ่งปัน

มิวเซียมสยาม เดินหน้าพันธกิจส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มุ่งยกระดับขีดความสามารถ และมาตรฐานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยในแง่ของการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และทันสมัย รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นเป็นที่จดจำล่าสุดได้จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเครือข่าย “พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้” ที่มุ่งพัฒนาหน่วยงานเครือข่ายที่มีความพร้อมไปสู่การเป็นพิพิธภัณฑ์มาตรฐานสากล ผ่านโมเดลการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ 9 ด้าน อาทิ การวางแผนพิพิธภัณฑ์ (Museum Planning) การจัดการวัตถุพิพิธภัณฑ์ (Museum Collection) การตลาดในพิพิธภัณฑ์ (Museum Marketing)


โดยในวันที่ 16 มีนาคม 2560 มิวเซียมสยามได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ร่วมกับ 4 หน่วยงาน อันประกอบไปด้วย


1). วัดชลประทานรังสฤษดิ์ (พระอารามหลวง) จังหวัดนนทบุรี เพื่อพัฒนา “พิพิธภัณฑ์ปัญญานันทภิกขุ จ.นนทุบรี” ให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์เชิงศาสนาและวัฒนธรรม 
2). องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ จังหวัดพิจิตร เพื่อพัฒนา “พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์” ให้เป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ 
3). การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ เพื่อพัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้ การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ” ให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์เชิงนวัตกรรมและธุรกิจ 
4). บริษัท ศรีบ้านโป่ง มาร์เก็ต จำกัด จังหวัดราชบุรี เพื่อพัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้ฟิช วิลเลจ จ.ราชบุรี” เป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เชิงนิเวศ


นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า ในปี 2560 มิวเซียมสยาม ในฐานะองค์การจัดการความรู้ขนาดใหญ่ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นท็อป “Museum Destination” ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโครงการ “ต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้” เพื่อยกระดับและขีดความสามารถ และมาตรฐานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยในแง่ของการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และทันสมัย รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นเป็นที่จดจำตามมาตรฐานสากล


สำหรับโครงการดังกล่าวจะดำเนินการยกระดับพิพิธภัณฑ์ผ่านโมเดลการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Discovery Museum Knowledge Model)” รวม 9 ด้าน อันประกอบไปด้วย การวางแผนพิพิธภัณฑ์ (Museum Planning) การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ (Museum Management) การจัดการวัตถุพิพิธภัณฑ์ (Museum Collection) การอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ (Museum Conservation) การจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ (Museum Exhibition) การจัดทำโปรแกรมการเรียนรู้และกิจกรรมสร้างสรรค์ในพิพิธภัณฑ์ (Museum Program) การตลาดในพิพิธภัณฑ์ (Museum Marketing) การบริการผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Services) การบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์ (Museum Facility)


อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมามิวเซียมสยามได้ร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศในการจัดเสวนาฝึกอบรมบุคลากรพิพิธภัณฑ์ให้มีความรู้ และทักษะที่สำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างมีศักยภาพไปแล้วถึง 1,257 คน จากพิพิธภัณฑ์ 558 แห่ง ตลอดจนมีการพัฒนาหน่วยงานเครือข่ายที่มีความพร้อมสู่การเป็น “พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้” ซึ่งเริ่มดำเนินการขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2554 โดยสำเร็จไปแล้ว 5 แห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์แมลงสยาม จ.เชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว จ.ภูเก็ต พิพิธภัณฑ์ซับจำปา จ.ลพบุรี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จ.พิษณุโลก และพิพิธภัณฑ์บางกอกดอลล์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้กว่า 5,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค หากทุกภาคส่วนช่วยกันดึงศักยภาพของพิพิธภัณฑ์ไทยออกมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นมาตรฐานสากล อันจะเป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

วันที่สร้าง : 28 มีนาคม 2560

0

แบ่งปัน