โต๊ะวาลี เป็นเสมือนความเชื่อของกลุ่มชาวมุสลิมเกี่ยวกับบุคคลในเรื่องปาฎิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่พึ่งทางใจ มีสถานที่ตั้งเป็นอาคารถาวรสำหรับประกอบพิธีกรรม มีสิ่งแสดงความเชื่อทีเป็นตัวแทนของโต๊ะวาลี ปัจจุบันมีแท่นคอนกรีตครอบขอนไม้ไว้แล้วคลุมด้วยทรายสีขาวละเอียด เมื่อทำพีธีบูชาเสร็จจะหยิบทรายโปรยลงบนศรีษะเพื่อเป็นศิริมงคล โต๊ะวาลี เป็นเรื่องเล่าขานกันมานานหลายสิบปีว่า สมัยที่จังหวัดตราดยังไม่มีถนนหนทางติดต่อจังหวัดหรือหัวเมืองต่างๆ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ติดต่อได้เพียงทางทะเล และในแต่ละวันมีเรือสำเภานำสินค้ามาจากกรุงเทพฯมาขายในจังหวัดตราดและนำสินค้าจากจังหวัดตราดไปขายยังกรุงเทพฯซึ่งครั้งหนึ่งมีชายวัยกลางคน หน้าตาท่าทางใจดีสวมเสื้อธรรมดาแต่โพกศรีษะด้วยผ้า ขออาศัยเรือสำเภามายังจังหวัดตราด ระหว่างทางมีลูกเรือสำนวนมากกว่า 10 คน มาด้วย ซึ่งแต่ละครั้งเรือสำเภาจะประสบปัญหามากมาย รวมทั้งการขาดแคลนน้ำจืด ลูกเรือทุกคนต้องใช้น้ำอย่างประหยัด แต่ชายที่ขออาศัยมาด้วยกลับใช้น้ำจนหมดทำให้ลูกเรือโมโหมาก เมื่อใกล้ถึงจังหวัดตราดลูกเรือจึงเข้าทำร้ายด้วยความโมโหที่ดื่มน้ำจนหมด ชายผู้นั้นจึงใช้เท้าราน้ำแล้วบอกว่าน้ำทะเลจืดไม่มีใครเชื่อและยังดุด่าตลอด อย่างไรก็ตามลูกเรือผู้หนึ่งทดลองชิมดูจึงรู้ว่าจืดทำให้ลูกเรือทั้งหมดประหลาดใจพากันกราบไหว้ชายผู้นั้นแม้จะถูกร้องห้าม เพราะตนนับถือศาสนาอิสลามจะมากราบไหว้ไม่ได้ แต่ลูกเรือก็ไม่ฟัง ชายผู้นั้นเห็นท่าไม่ดีจึงกระโดดลงจากเรือสำเภาพร้อมแสดงปาฏิหาริย์เดินบนผิวน้ำบริเวณบ้านแหลมมะขาม อำเภอเหลมงอบ จังหวัดตราด ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้พ่อค้าและลูกเรือที่ผ่านไปมาบริเวณนี้ ต่างกราบไหว้ขอพรตลอดเวลา เป็นที่เลื่องลือของชาวบ้านย่านนั้น เป็นผลให้มีการตั้งชื่อว่า“โต๊ะวาลี”ซึ่งหมายถึงผู้ใหญ่ใจดีมากับน้ำ

ศาลโต๊ะวาลีในวัดแหลมมะขาม

แท่นคอนกรีตครอบขอนไม้ไว้แล้วคลุมด้วยทรายสีขาวละเอียดตัวแทนโต๊ะวาลี

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าขานถึงการแสดงปาฏิหาริย์ของโต๊ะวาลีหลายเรื่องจนเป็นที่กล่าวขานของมุสลิมโดยทั่วไปทำให้ชาวมุสลิมทุกสารทิศมากราบไหว้ โดยในแต่ละปีจะมี 2 ครั้ง คือช่วงออกบวช ประมาณเดือนมกราคม ช่วงออกฮัจญ์ หลังออกบวช 100 วัน (หลังเมกกะ)โดยชาวมุสลิมที่ไปจะขอพรให้ร่ำรวย ค้าขายดี และหายจากโรคภัยไข้เจ็บ กล่าวได้ว่าโต๊ะวาลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนที่นับถือกันต่อมาจนปัจจุบัน
(ข้อมูลจาก อภิลักษณ์ เกามผลกูล. (2559). ตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ สมาคมชาวตราด และคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ถวายเป็นที่ระลึกในการบำเพ็ญกุศล ๘๐ ปี สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรมหฺมคุตโต)กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ,334.)

ศาลโต๊ะวาลีในวัดแหลมมะขาม

แท่นคอนกรีตครอบขอนไม้ไว้แล้วคลุมด้วยทรายสีขาวละเอียดตัวแทนโต๊ะวาลี

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าขานถึงการแสดงปาฏิหาริย์ของโต๊ะวาลีหลายเรื่องจนเป็นที่กล่าวขานของมุสลิมโดยทั่วไปทำให้ชาวมุสลิมทุกสารทิศมากราบไหว้ โดยในแต่ละปีจะมี 2 ครั้ง คือช่วงออกบวช ประมาณเดือนมกราคม ช่วงออกฮัจญ์ หลังออกบวช 100 วัน (หลังเมกกะ)โดยชาวมุสลิมที่ไปจะขอพรให้ร่ำรวย ค้าขายดี และหายจากโรคภัยไข้เจ็บ กล่าวได้ว่าโต๊ะวาลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนที่นับถือกันต่อมาจนปัจจุบัน
(ข้อมูลจาก อภิลักษณ์ เกามผลกูล. (2559). ตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ สมาคมชาวตราด และคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ถวายเป็นที่ระลึกในการบำเพ็ญกุศล ๘๐ ปี สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรมหฺมคุตโต)กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ,334.)
วันที่สร้าง : 10 มกราคม 2560
สร้างโดย
ความคิดเห็น
แจ้งข้อความไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น (0)
โหลดเพิ่มเติม
กระทู้ยอดนิยม