คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร

ความงามที่มาพร้อมความลี้ลับในคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ สถานที่เก่าแก่โบราณนับร้อยปีที่อยู่คู่เมืองแพร่มายาวนาน เป็นอาคารที่ทรงคุณค่า ด้วยความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือที่มักได้ยินกันว่า “ทรงขนมปังขิง” ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้าย สร้างโดยช่างฝีมือชาวจีนที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น เป็นอาคาร 2 ชั้น มีความสง่างาม ประดับด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างประณีตสวยงาม เมื่อเข้าไปภายในอาคารจะเห็นถึงความโอ่โถง หรูหรา มีประตูหน้าต่างทั้งหมด 72 บาน โดยประตูแต่ละบานจะมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน นิยมตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคลดังเช่น ประตูตองคำใต้

สามสิบเอ็ดสอง        จื่อตองคำใต้

                                                                    เสียงโห่เอาจัย        อยู่ซ๊าว

ประตูที่ 31 และ 32 ชื่อ “ตองคำใต้”เมื่อเดินผ่านจะพบกับชัยชนะ

ภายในอาคารแบ่งเป็นห้องต่างๆหลายๆส่วน ภายในยังคงมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตของเจ้าหลวงที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พื้นอาคารชั้น1 จะสังเกตเห็นว่ามีช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กหลายๆช่องที่สามารถเปิดปิดได้ ช่องนั้นทำไว้สำหรับสอดส่องและหย่อนอาหารให้นักโทษ

คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้มีความแปลกกว่าอาคารอื่นคือ มีใต้ถุนอาคารเป็นคุกที่ใช้คุมขังทาส ซึ่งใช้มายาวนานกว่า 50 ปี โดยภายในแบ่งเป็น 3 ห้อง ใช้ขังทาสตามความผิดของแต่ละขั้น หากทำผิดขั้นร้ายแรงจะถูกขังในห้องมืดที่แสงไฟไม่สามารถลอดเข้าไปได้ และนักโทษจะได้รับบทลงโทษที่แสนทรมาน คำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับวิญญาณบรรดาผีทาสที่เสียชีวิตอย่างโหดเหี้ยมจึงกลายเป็นวิญญาณพยาบาท เคยมีคนเจอโครงกระดูก สภาพศพแขนขาหัก เจออุปกรณ์ที่ใช้ในการทรมานทั้งหลายอยู่ใต้คุ้มเจ้าหลวง จนกลายเป็นภาพหลอน บรรยากาศที่ดูวังเวงแสนหดหู่นั้นกลายเป็นเรื่องราวลี้ลับและอาถรรพ์เต็มไปด้วยตำนานที่น่าสะพรึงกลัว

                     จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศเลิกทาส

จากคุกขังทาสก็กลายเป็นคุกที่ใช้ขังนักโทษ มาจนถึงยุคสมัยที่มีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้น คุกทาส

ที่เป็นดั่งนรกบนดินที่ใช้งานมายาวนานจึงเหลือไว้เพียงตำนาน

 

          ปี พ.ศ. 2540 คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันและสาธารณะ ปัจจุบันคุ้มเจ้าหลวงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองแพร่

23,648 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่