ภายหลังจากสถาปนากิจการเสือป่าได้ ๒ เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชปรารภในการจัดตั้งกองลูกเสือ ซึ่งพระราชปรารภในการจัดตั้งกองลูกเสือ ได้ปรากฎอยู่ในคำปรารภข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือฉบับแรก ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐ ดังนี้
“พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงดำรงพระยศเปนนายกองใหญ่ในกองเสือป่า ทรงพระราชดำริห์ว่า กองเสือป่าได้ตั้งขึ้นเปนหลักเป็นฐานแล้ว พอจะเปนที่หวังได้ส่าจะเปนผลดีตามพระราชประสงค์ แต่ผู้ที่จะเป็นเสือป่าต้องเปนผู้ที่นับว่าเปนผู้ใหญ่แล้วฝ่ายเด็กชายที่ยังอยู่ปฐมวัย ก็เป็นผู้ที่สมควรจะได้ฝึกฝน ทั้งส่วนร่างกายและในส่วนของใจให้มีความรู้ทางเสือป่า เพื่อว่าเติบใหญ่ขึ้นแล้วจะได้รู้จักน่าที่ซึ่งผู้ชายไทยทุกคนควรจะประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อันเปนที่เกิดเมืองนอนของตน และการฝึกฝนปลุกใจให้คิดถูกเช่นนี้ ต้องเริ่มฝึกฝนเสีย เมื่อยังเยาว์วัยอยู่ เปรียบเสมือนไม้อ่อนจะดัดไปเปนรูปอย่างไรก็เปนได้ง่ายและงดงาม แต่ถ้ารอไว้รอจนแก่เสีย เมื่อจะดัดก็ต้องเข้าไฟ และมักจะหักลิได้ในขณะที่ดัด ดังนี้ฉันใด นิสัยคนก็ฉันนั้น”
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะมีพระราชประสงค์ที่จะทอดพระเนตรเครื่องแบบลูกเสือที่ทรงกำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้น จึงได้มีพระราชดำรัสสั่งไปยังโรงเรียนมหาดเล็กหลวงให้จัดนักเรียนคนหนึ่งแต่งเครื่องแบบลูกเสือไปถวายทอดพระเนตร ซึ่งนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์ บุนนาค) ผู้เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิม หรือผู้ที่ได้ถวายตัวมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์ และในเวลานั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนหลวงมาศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้เล่าถึงเหตุการณ์ในคราวนั้นไว้ว่า เมื่อโรงเรียนได้ออกใบสั่งให้นำไปตัดเครื่องแบบที่ร้านวิวิธภูษาคาร ถนนเฟื่องนคร และตัดรองเท้าที่ร้านเซ่งชง ถนนเจริญกรุง พร้อมกับฝึกซ้อมท่าทางการถวายเคารพแบบทหารและท่องคำสาบาลของลูกเสือ ๓ ข้อนั้นแล้ว
“พอถึงวันจันทร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นวันที่เสด็จออกขุนนางที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ได้นำตัว น.ร.ม.ชัพน์ ไปเฝ้าคอยรับเสด็จที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอัมพรสถาน เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากอัฒจันทร์ชั้นบนลงมาที่ท้องพระโรง หลวงอภิรักษ์ฯ จึงทูลเบิกตัว น.ร.ม.ชัพน์ บุนนาค ที่ได้นำตัวอย่างที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือมาถวายทอดพระเนตรตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าไปใกล้ ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปเปิดหมวกที่บังหน้า น.ร.ม.ชพน์ อยู่ ทรงทักว่า “อ้ายชัพน์ดอกหรือ” เมื่อทอดพระเนตรเครื่องแบบลูกเสืออยู่อย่างถี่ถ้วนเพื่อที่จะให้เป็นที่แน่พระราชหฤทัยแล้วจึงรับสั่งถามนายจ่ายง (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ภายหลังเป็นเจ้าพระยารามราฆพ) ว่า “เฟื้อ เครื่องแบบนี้ดีหรือยัง” นายจ่ายง กราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าดีแล้ว ถ้าต่อไปภายหน้าจะมีอะไรทีไม่เหมาะสม ก็ยังจะมีโอกาสแก้ไขต่อไปได้” ต่อไปจึงมีพระราชดำรัสถาม น.ร.ม.ชัพน์ว่า “เองท่องคำสาบาลของลูกเสือได้หรือเปล่า” เรื่องนี้ครูได้สอนนักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงไว้ก่อนแล้วเมื่อรู้ตัวว่าให้ตั้งกองลูกเสือขึ้นมา ฉะนั้น น.ร.ม.ชัพน์ จึงยืดตัวตรงยกมือแตะหมวกในท่าวันทยะหัตถ์ กราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าได้ท่องมาแล้ว” และลงมือกล่าวคำสาบาล คือ
๑). ข้าจะมีใจจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒). ข้าจะตั้งใจประพฤติตนให้สมควรเป็นลูกผู้ชาย
๓). ข้าจะประพฤติตนตามข้อบังคับ และแบบแผนลูกเสือ
พอ น.ร.ม.ชัพน์ กล่าวคำสาบาลจบ ก็มีพระกระแสรับสั่งต่อไปว่า “ในหน้าที่ซึ่งข้าได้เปนผู้ประสิทธิ์ประสาทลูกเสือของชาติขึ้นมา ข้าขอให้เจ้าเปนลูกเสือคนแรกของประเทศสยาม” ฉะนั้นจึงควรนับว่า นายชัพน์ บุนนาค เป็น เอหิลูกเสือเพราะเหตุได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น

นายชัพน์ บุนนาค ลูกเสือไทยคนแรก
ซึ่งในสมัยก่อนการที่จะเป็นลูกเสือนั้น มิได้เป็นกันง่าย ๆ เหมือนสมัยนี้ต้องมีการเขียนใบสมัครเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งผู้ปกครองต้องเซ็นยิมยอมให้บุตรหลานเข้ารับการฝึกตามข้อบังคับของกองลูกเสืออีกด้วย

ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือสมัยรัชกาลที่ 6
ข้อมูลอ้างอิง หนังสือ ประวัติลูกเสือไทย, หนังสือ เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์ รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอน ๑ โดย จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)
ผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล คุณ เจษฎาภรณ์ วิริยะสกุลธรณ์
“พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงดำรงพระยศเปนนายกองใหญ่ในกองเสือป่า ทรงพระราชดำริห์ว่า กองเสือป่าได้ตั้งขึ้นเปนหลักเป็นฐานแล้ว พอจะเปนที่หวังได้ส่าจะเปนผลดีตามพระราชประสงค์ แต่ผู้ที่จะเป็นเสือป่าต้องเปนผู้ที่นับว่าเปนผู้ใหญ่แล้วฝ่ายเด็กชายที่ยังอยู่ปฐมวัย ก็เป็นผู้ที่สมควรจะได้ฝึกฝน ทั้งส่วนร่างกายและในส่วนของใจให้มีความรู้ทางเสือป่า เพื่อว่าเติบใหญ่ขึ้นแล้วจะได้รู้จักน่าที่ซึ่งผู้ชายไทยทุกคนควรจะประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อันเปนที่เกิดเมืองนอนของตน และการฝึกฝนปลุกใจให้คิดถูกเช่นนี้ ต้องเริ่มฝึกฝนเสีย เมื่อยังเยาว์วัยอยู่ เปรียบเสมือนไม้อ่อนจะดัดไปเปนรูปอย่างไรก็เปนได้ง่ายและงดงาม แต่ถ้ารอไว้รอจนแก่เสีย เมื่อจะดัดก็ต้องเข้าไฟ และมักจะหักลิได้ในขณะที่ดัด ดังนี้ฉันใด นิสัยคนก็ฉันนั้น”
เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะมีพระราชประสงค์ที่จะทอดพระเนตรเครื่องแบบลูกเสือที่ทรงกำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณปกครองลูกเสือนั้น จึงได้มีพระราชดำรัสสั่งไปยังโรงเรียนมหาดเล็กหลวงให้จัดนักเรียนคนหนึ่งแต่งเครื่องแบบลูกเสือไปถวายทอดพระเนตร ซึ่งนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์ บุนนาค) ผู้เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิม หรือผู้ที่ได้ถวายตัวมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์ และในเวลานั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนหลวงมาศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงได้เล่าถึงเหตุการณ์ในคราวนั้นไว้ว่า เมื่อโรงเรียนได้ออกใบสั่งให้นำไปตัดเครื่องแบบที่ร้านวิวิธภูษาคาร ถนนเฟื่องนคร และตัดรองเท้าที่ร้านเซ่งชง ถนนเจริญกรุง พร้อมกับฝึกซ้อมท่าทางการถวายเคารพแบบทหารและท่องคำสาบาลของลูกเสือ ๓ ข้อนั้นแล้ว
“พอถึงวันจันทร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นวันที่เสด็จออกขุนนางที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ได้นำตัว น.ร.ม.ชัพน์ ไปเฝ้าคอยรับเสด็จที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอัมพรสถาน เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากอัฒจันทร์ชั้นบนลงมาที่ท้องพระโรง หลวงอภิรักษ์ฯ จึงทูลเบิกตัว น.ร.ม.ชัพน์ บุนนาค ที่ได้นำตัวอย่างที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือมาถวายทอดพระเนตรตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าไปใกล้ ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปเปิดหมวกที่บังหน้า น.ร.ม.ชพน์ อยู่ ทรงทักว่า “อ้ายชัพน์ดอกหรือ” เมื่อทอดพระเนตรเครื่องแบบลูกเสืออยู่อย่างถี่ถ้วนเพื่อที่จะให้เป็นที่แน่พระราชหฤทัยแล้วจึงรับสั่งถามนายจ่ายง (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ภายหลังเป็นเจ้าพระยารามราฆพ) ว่า “เฟื้อ เครื่องแบบนี้ดีหรือยัง” นายจ่ายง กราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าดีแล้ว ถ้าต่อไปภายหน้าจะมีอะไรทีไม่เหมาะสม ก็ยังจะมีโอกาสแก้ไขต่อไปได้” ต่อไปจึงมีพระราชดำรัสถาม น.ร.ม.ชัพน์ว่า “เองท่องคำสาบาลของลูกเสือได้หรือเปล่า” เรื่องนี้ครูได้สอนนักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงไว้ก่อนแล้วเมื่อรู้ตัวว่าให้ตั้งกองลูกเสือขึ้นมา ฉะนั้น น.ร.ม.ชัพน์ จึงยืดตัวตรงยกมือแตะหมวกในท่าวันทยะหัตถ์ กราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าได้ท่องมาแล้ว” และลงมือกล่าวคำสาบาล คือ
๑). ข้าจะมีใจจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒). ข้าจะตั้งใจประพฤติตนให้สมควรเป็นลูกผู้ชาย
๓). ข้าจะประพฤติตนตามข้อบังคับ และแบบแผนลูกเสือ
พอ น.ร.ม.ชัพน์ กล่าวคำสาบาลจบ ก็มีพระกระแสรับสั่งต่อไปว่า “ในหน้าที่ซึ่งข้าได้เปนผู้ประสิทธิ์ประสาทลูกเสือของชาติขึ้นมา ข้าขอให้เจ้าเปนลูกเสือคนแรกของประเทศสยาม” ฉะนั้นจึงควรนับว่า นายชัพน์ บุนนาค เป็น เอหิลูกเสือเพราะเหตุได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น

นายชัพน์ บุนนาค ลูกเสือไทยคนแรก
ซึ่งในสมัยก่อนการที่จะเป็นลูกเสือนั้น มิได้เป็นกันง่าย ๆ เหมือนสมัยนี้ต้องมีการเขียนใบสมัครเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งผู้ปกครองต้องเซ็นยิมยอมให้บุตรหลานเข้ารับการฝึกตามข้อบังคับของกองลูกเสืออีกด้วย

ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือสมัยรัชกาลที่ 6
ข้อมูลอ้างอิง หนังสือ ประวัติลูกเสือไทย, หนังสือ เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์ รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอน ๑ โดย จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)
ผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล คุณ เจษฎาภรณ์ วิริยะสกุลธรณ์
วันที่สร้าง : 13 กรกฎาคม 2560
สร้างโดย
ความคิดเห็น
แจ้งข้อความไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น (0)
โหลดเพิ่มเติม
กระทู้ยอดนิยม