คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เรือเกลือลำสุดท้าย

เรือเกลือลำสุดท้ายที่ไปดาวคะนอง

"บ้านของพี่ทำนา ปลูกข้าวทุกเมื่อ

น้องก็ทำนาเกลือ ขายเกลือนั้นซื้อข้าวกิน

บ้านของพี่อยู่ที่กาฬสินธุ์

ส่วนตัวยุพินอยู่สมุทรสาคร"

เพลงหนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือเพลงนี้กำลังจะเหลือแต่เพลง เพราะเรือเกลือลำสุดท้ายที่แล่นไปเกือบถึงดาวคะนองกำลังโรยแรงแล้ว 

ผมโชคดีมากที่ครั้งหนึ่งด้วยความนึกสนุกอยากตามรอยบรรพบุรุษจึงขอตาวัฒน์นายท้ายเรือเกลือลำสุดท้ายที่แล่นไปเกือบถึงดาวคะนอง(ปัจจุบันมีประตูกั้นคลองที่จะไปดาวคะนอง) ตาวัฒน์ไม่ปฏิเสธแต่เล่าถึงความยากลำบากในการเดินทางที่ต้องใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมงจากคลองสุนัขหอนบางโทรัดถึงโกดังเกลือแถวพระรามสอง ในขณะเดียวกันต้องทนอยู่ท้ายเรือแคบๆที่พอนั่งได้ในร่มไม่เกิน 3 คน ซึ่งความกังวลของตาวัฒน์ลบความอยากรู้อยากเห็นของผมไม่ได้

 

เราเริ่มเดินทางจากคลองสุนัขหอนตำบลทางโทรัดตั้งแต่เช้าตรู่ ตาวัฒน์ให้ผมนำขนมน้ำติดตัวมาด้วย ส่วนกับข้าวกับปลาตาวัฒน์ใจดีเป็นคนเลี้ยง

เรือเกลือแล่นไปในลำคลองด้วยความเชื่องช้า ผมถ่ายรูปถามนั้นถามนี้ด้วยความสนใจ ขณะที่ตาวัฒน์ตอบด้วยความยินดี เพราะการสนทนาฆ่าเวลา 8 ชั่วโมงได้

ตาวัฒน์เล่าว่าการเป็นนายเรือเป็นความใฝ่ฝันของเขาตั้งแต่เป็นเด็กเรือ หรือผู้ช่วยนายท้ายเรือ สะสมประสบการณ์ ครูพักลักจำจนชำนาญ เมื่อโตขึ้นเก็บเงินมากพอก็ซื้อเรือเกลือประกอบอาชีพค้าเรือเกลือ 

ตาวัฒน์บอกผมว่า การเป็นนายท้ายเรือไม่มีใครสอน ทุกอย่างต้องจดจำและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องรู้ใจสายน้ำ จดจำนิสัยคลองได้ น้ำเหนือมาสีมีน้ำตาลเทา น้ำทะเลขึ้นมีสีเขียวเข้ม น้ำวังกุ้งปล่อยมามีสีแดงส้ม เป็นสัญญาณว่าน้ำขึ้นออกเรือได้ คลองนี้มีกี่คดกี่โค้งต้องรู้ ช่วงโค้งไหนน้ำแรงน้ำเบาต้องระวัง จุดไหนมีตอไม้เรือจมต้องเตรียมตัว 

8 ชั่วโมงของการเดินทางจากคลองสุนัขหอนเข้าแม่น้ำท่าจีนสู่คลองมหาชัย และจบที่คลองสนามชัยแถวพระรามสองเพื่อนำเกลือขายให้โกดังเกลือนั้น เราผ่านสายน้ำหลากอารมณ์ บางช่วงเขตชุมชนสายน้ำก็หมองคล้ำซึมเศร้าไปด้วยขยะจากชุมชน โดยเฉพาะช่วงใดมีประตูน้ำ เราต้องรอนายประตูเปิดให้เพื่อขออนุญาตนำเรือผ่าน บางช่วงสายน้ำสดใสร่าเริงไปด้วยฝูงนกหมู่ปลาแมกไม้เพราะห่างใกล้ชุมชน โดยเฉพาะช่วงแม่น้ำท่าจีนจะคึกคักไปด้วยเรือเดินสมุทรและเรือประมงที่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่จอดตลอดคุ้งแม่น้ำแถวมหาชัย ขณะที่เขาเขตพระรามสองคลองจะแคบตลอดแนวและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาของผู้คนและบ้านคลอง

น่าเสียผมคงเป็นคนสุดท้ายที่จะได้บอกเล่าความทรงจำนี้ การเดินทางไปกับตาวัฒน์ครั้งนั้นผ่านมาแล้ว 6 ปี เวลานี้ตาวัฒน์อายุมากแล้วและสุขภาพก็ไม่แข็งแรงพอที่ะจะล่องเรือค้าเกลือได้ ส่วนลูกหลานของตาวัฒน์และคนสมุทรสาครก็ไม่มีใครล่องเรือไปค้าเกลือที่กรุงเทพฯแล้ว เวลานี้เหลือแต่เรือเกลือเศร้าๆที่รอขายให้ร้านอาหารเท่านั้น

5,274 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร