คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   โอม มณี ปัทเม หุม… มนตราสารพัดนึก

โอม มณี ปัทเม หุม… มนตราสารพัดนึก

06 มีนาคม 2560

ชื่นชอบ 4

19,786 ผู้เข้าชม

37

แบ่งปัน

“โอม มานี เปเม ฮุง”
เรามักได้ยินคำซ้ำๆ 6 คำนี้ เมื่อเดินเข้าไปใกล้ชาวทิเบต และภูฏาน โดยเฉพาะท่านผู้อาวุโสทั้งชายและหญิง ซึ่งมือซ้ายมักถือเม็ดประคำ ขณะที่มือขวาถืออุปกรณ์การสวดมนตร์ ที่เรียกว่า “กงล้อมนตรา” (Prey Wheel) หรือในภาษาทิเบตว่า “มานี” อันมีความหมายเดียวกับคำว่า “มณี” หรือสิ่งเลอค่า

ในกงล้อนั้นจะบรรจุกระดาษเขียน หรือพิมพ์มนตราบทที่ว่า “โอม มณี ปัทเม หุม” หรือในสำเนียงทิเบตว่า “โอม มานี เปเม ฮุง” ไว้ซ้ำ ๆ กันนับหมื่นจบ การหมุนหรือผลักกงล้อ 1 ครั้ง จึงเท่ากับสวดมนตร์บทนี้ได้นับแสนจบ ตามความเชื่อว่าหากคนเราทำความดี มีสมาธิ และสวดมนตร์บทนี้ให้มากครั้งที่สุด ก็สามารถหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งมวลได้


นี่คือความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายาน และวัชรยาน ที่นับถือกันมากในแถบเทือกหิมาลัย โดยเฉพาะทิเบต เนปาล ภูฏาน สิกขิม อันเป็นนิกายที่กล่าวได้ว่า มี “ตัวช่วย” ให้คนบรรลุธรรมได้มากมายหลายชนิด

เริ่มจากบทสวดมนตร์อันยืดยาว ก็ย่อให้สั้นเหลือเพียง 6 คำ เพื่อให้จำได้ง่าย อีกทั้งการท่องมนตร์ดังกล่าวก็ยังมี กงล้อมนตรา แบบมือถือหมุน และแบบมือผลักให้หมุน ขนาดตั้งแต่ 2 เมตร ไปจนถึง 2 คืบ และยังมีแบบที่ตั้งไว้ให้น้ำไหล และลมพัดมาตีใบพัดให้กงล้อหมุน เท่ากับเป็นการท่องมนตร์วิธีหนึ่ง 

ยังไม่นับธงมนตรา ที่ลงอักขระว่า “โอม มณี ปัทเม หุม” ไว้เช่นกัน แล้วนำไปผูกไว้ตามสะพาน ช่องเขา ที่มีคนเดินผ่านมากๆ เท่ากับลมช่วยท่องมนตร์หรือพัดมนตรานี้ ปลิวไปเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและผู้ผ่านทาง นั่นหมายความว่าในแต่ละวัน พวกเขาจะสวดมนตร์บทนี้ได้นับแสนจบ ตามความเชื่อว่าหากคนเราทำความดี มีสมาธิ และสวดมนตร์บทนี้ให้มากครั้งที่สุด ก็สามารถหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

ถ้าเช่นนั้น “โอม มณี ปัทเม หุม” มีความหมายอย่างไร? “โอม” คำนี้ชาวพุทธมหายาน – วัชรยาน รับอิทธิพลจากคำว่า “โอม” ในศาสนาฮินดู อันมีความหมายถึงการร้องเรียก หรืออัญเชิญมหาเทพองค์สำคัญสามองค์คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม 

โดยนำเสียงลงท้าย “อะ” (ศิวะ) “อุ (วิษณุ) และ “มะ” (พรหม) สามคำนี้มาเมื่อพูดรวมกันจะได้เสียง ”โอม” แต่ชาวพุทธอธิบายใหม่ว่า “โอม” คือการสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คือ “พระรัตนตรัย” นั่นเอง

“มณี” หมายถึงพระธรรมคำสอนอันล้ำเลอค่าดังอัญมณี และยังหมายรวมถึง“พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” ซึ่งอวตาร หรือแบ่งภาคมาเกิดเป็นองค์ทะไลลามะ ประมุขสูงสุดของชาวทิเบต

“ปัทเม” – “ปัทมา” หรือ “เปเม” หมายถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แทนจิตใจอันบริสุทธิ์ของชาวพุทธ ส่วน “หุม” หรือ “ฮุง” มีความหมายเดียวกับเสียงกำราบว่า “ฮึ่ม” นั่นเอง

“โอม มณี ปัทเม หุม” จึงอาจแปลว่า “ขออัญเชิญพุทธธรรมคำสอนอันล้ำเลอค่าดั่งมณี มาสถิตในดวงใจอันบริสุทธิ์ดั่งดอกบัวของข้าเทอญ” และจึงมีสถานะเป็นทั้งบทสวดสรรเสริญ เพื่อขอพรจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นคำปฏิญาณว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และยังเป็นคาถาอาคมสยบสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง 


ท่องโอม มณีฯ ด้วยการหมุนกงล้อมนตราก่อนเข้าห้องเรียน

นี่มิใช่ของเล่น หากคือกงล้อมนตราแบบต้ั้งบนโต๊ะ ว่างเมื่อไรก็ใช้นิ้วหมุน

สำหรับเด็กเล็กและผู้อาวุโส มีกงล้อมนตราแบบนั่งหมุนได้ทั้งวัน

ทิวธงมนตราประดับเป็นสิริมงคล บนสะพานที่เด็กๆ เดินไปโรงเรียน

วันที่สร้าง : 03 เมษายน 2560

37

แบ่งปัน
สร้างโดย