สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า " ในราวพุทธศักราช 1900 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร 4 ทิศ มีพระระเบียง 2 ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง 3 หลัง" ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในตำนานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้สร้าง เมืองพิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรัสให้สร้างวัดพระรัตนมหาธาตุ มีพระมหาธาตุ รูปปรางค์ สูง 8 วา และ พระวิหารทิศ กับระเบียงรอบพระมหาธาตุ ทั้ง 4 ทิศ โปรดให้ช่างชาวชะเลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน และหริภุณชัย(ลำพูน) ร่วมมือกันสร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองสัมฤทธฺ์ 3 องค์ สำหรับประดิษฐานในพระวิหารทิศ ได้เริ่มทำพิธีเททองหล่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศกจุลศักราช 317 (พ.ศ.1498) เมื่อกะเทาะหุ่นออกแล้ว ทองคงแล่น ติดเป็นองค์พระบริบูรณ์เพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ กับพระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชิราชทองไม่แล่นติดเต็มพระองค์ ต้องทำพิธีหล่อต่อมาอีก 3 ครั้งก็ยังไม่สำเร็จ ครั้งหลังสุด พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ต้องตั้งสัษจาธิษฐาน แล้วทำพิธีเททองหล่อเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง นพศกจุศักราช 319 (พ.ศ.1500) ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง จุลศักราช 717 จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อสร็จพิธีหล่อพระแล้ว ปะขาวก็ออกเดินทาง ไปทางเหนือเมืองพอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายตัวไปไม่มีผู้ ใดพบเห็นอีก ส่วนหมู่บ้านที่ปะขาวไปหายตัวนั้น ก็เลยได้นามในภายหลังว่า บ้านปะขาวหาย หรือตาผ้าขาวหาย มาจนทุกวันนี้ การวางผังของวัด มีพระปรางค์เป็นองค์ประธานของวัด รอบองค์พระปรางค์มีระเบียงคตแลมีวิหารทิศ พระวิหารทางทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ที่เรียกกันว่าวิหาร เก้าห้อง ปัจจุบันคงเหลือพระอัฏฐารส เสาและเนินพระวิหารบางส่วน พระวิหารทางด้านทิศตะวันตก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระวิหารทางด้านทิศเหนือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ พระวิหารด้านทิศใต้เป็นที่ประดิษฐานพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานที่วัด บวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารจึงได้สร้างองค์จำลองขึ้นแทน
: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ข้อมูลติดต่อ : 055-267224-5 http://library.psru.ac.th