คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพะเยาว์

     วัดพะเยาว์เป็นอีกหนึ่งวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก เช่นเดียวกับอีกหลายวัดในจังหวัดสระบุรี ชาวบ้านมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนพากันอพยพมาจากทางเหนือ อาจจะมาพร้อมกันกับชาวเชียงแสนที่เข้ามาเมื่อพ.ศ.2347 ตรงกับรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลักฐานที่เป็นสิ่งยืนยันการเข้ามาของชาวเหนือ คือขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมไปถึงสำเนียงภาษาการพูดจะเป็นภาษายวน

     ภายในวัดพะเยาว์มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ นั้นคือพระพุทธรูปทองดำ สันนิษฐานกันว่าสร้างในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 พระองค์ใดพระองค์หนึ่งซึ่งไม่ทราบแน่ชัด เป็นพระปางมารวิชัย เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกทิ้งไว้ในวัดร้าง ที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในพ.ศ.2420 ชาวบ้านศาลารีไทย ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ตั้งชื่อว่า วัดอุทิศสโมสร แต่ไม่มีพระประธานให้ชาวบ้านได้กราบไหว้บูชา ผู้นำการสร้างได้ทราบว่ามีพระพุทธรูปถูกทิ้งร้าง ไม่มีผู้ใดสนใจจึงได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดแห่งนี้ ต่อมาวัดเกิดร้างเนื่องจากชาวบ้านอพยพย้ายถิ่นฐานใหม่เพราะขาดแคลนน้ำ พระพุทธรูปจึงถูกปล่อยทิ้งร้างไว้อีกครั้ง ต่อมาในพ.ศ.2484 วัดพะเยาว์ต้องการพระพุทธรูปสำหรับพระอุโบสถที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปปูนที่วัดอุทิศสโมสร มาประดิษฐานไว้ที่วัดพะเยาว์แห่งนี้ตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน หลังจากอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นมาได้มีพระบวชนาคผู้หนึ่งสังเกตเห็นรอยปูนแตกเป็นรอยกระดำกระด่าง ไม่สมควรปล่อยไว้จึงให้ชาวบ้านช่วยกันกะเทาะปูนที่พอกองค์พระออกและพบว่าองค์พระพุทธรูปเป็นทองทั้งองค์  ต่อมาได้มีการเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปกรมาตรวจสอบ พบว่าองค์พระเป็นโลหะที่มีทองคำผสมรวมอยู่ด้วยถึง 70% มีลักษณะที่งดงามใบหน้ากลม ปากยิ้ม ดวงตาเหลือบต่ำลง ร่างกายสมสัดส่วน หลังจากนั้นชาวบ้านจึงพากันเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อทองคำ”

     ถือได้ว่าหลวงพ่อทองคำเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาองค์เดียวที่รอดพ้นจากการทำสงครามกับพม่าในสมัยก่อนที่ยังเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน และมีผู้เลื่อมใสศรัทธาได้ร่วมกันสร้างวิหารจัตุรมุขเพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทองคำให้มีสง่าราศีเป็นที่รู้จักและศรัทธาแก่ชาวเมืองสระบุรี นับได้ว่าเป็นอีกวัดหนึ่งที่หากมาถึงสระบุรีแล้วต้องมาสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมกันนั้นยังได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านวัดแห่งนี้ได้อีกด้วย

จัดทำโดย Muse Mobile

631 views

0

แบ่งปัน