คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพระราม

     โบราณสถานเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่นอกเขตพระบรมมหาราชวังทางด้านทิศตะวันออก ใกล้กับบึงพระรามใจกลางพระนคร ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร  ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีองค์พระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์พระปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน (นำปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน) เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำศาสนสถานเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง โดยมีการระบุถึงประวัติของวัดดังกล่าวในพระราชพงศาวดารว่า “ศักราช 731 ปีระกา (ค.ศ. 1369) พ.ศ. 1912 มีการก่อสร้างวัดพระราม ปีนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต จากบันทึกดังกล่าว อาจระบุได้ว่าวัดพระรามสร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระราเมศวร เพื่อทรงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระเจ้าอู่ทอง(พระราชบิดา) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และพื้นที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าอู่ทองอีกด้วย

     วัดพระรามได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายต่อหลายครั้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป โดยครั้งที่บูรณะในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งมีการระบุไว้ในพระราชพงศาวดารหลายฉบับกล่าวว่าเป็นการเริ่มบูรณะเป็นครั้งแรก ส่วนการบูรณะครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2284 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งถือว่าเป็นการซ่อมแซมครั้งใหญ่ที่กินเวลากว่า 1 ปี

     สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของวัดพระรามคือ องค์พระปรางค์ประธานที่ยังคงเหลือร่องรอยการประดับตกแต่งให้ได้ยลกันอยู่บ้าง องค์พระปรางค์ประธานเป็นทรงฝักข้าวโพด ด้านบนสันนิษฐานว่าเคยประดับด้วยยอดพระปรางค์ มีพระปรางค์คู่ขนานข้างทางทิศเหนือและทิศใต้ ล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่มีพระปรางค์ทรงยอดแหลมประดับอยู่ทั้งสี่ทิศ พระวิหารตั้งอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถตั้งอยู่ด้านหลัง ซุ้มปรางค์ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปสัตว์จากหิมพานต์ โครงสร้างภายในก่ออิฐถือปูนมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนบัลลังก์ และภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ สีที่ใช้มีสีแดง สีคราม สีเหลืองและสีดำ เป็นภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ลบเลือนไปมากแล้ว นอกจากนี้สถาปัตกรรมที่ยังคงหลงเหลือให้ศึกษาอยู่คือ เจดีย์น้อยใหญ่เรียงรายอยู่ตามแนวระเบียงคดรอบองค์พระปรางค์ประธานประมาณ 28 องค์ มีซากกำแพงอยู่ด้านหนึ่ง มีเสาในพระอุโบสถและซากวิหารอีก 7 หลัง ดังนี้

1 วิหารใหญ่อยู่ทางด้านหน้าวัด ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ วิหารองค์นี้ยังเหลือซากให้เห็นลักษณะและ  ขนาดอยู่โดยรอบและเสากลมใหญ่แต่งเหลี่ยมสูงเกือบถึงบัว หัวเสา เป็นวิหารที่เชื่อมต่อกับพระปรางค์องค์ใหญ่ เดินถึงกันตรงระเบียง

2 วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลังเชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว คงเหลือแต่มูลดินทิ้งไว้ให้ศึกษา

3 วิหารอยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง มีเจดีย์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร วิหารนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

4 วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหลือแต่ด้านข้างสองด้านมุมวิหารน้อยทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กองค์หนึ่ง

5 วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกข้างละ 1 ประตู

6 วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีเสาเหลี่ยมปรักหักพังด้านหลังวิหาร มีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ปรักหักพังเช่นกัน

7 วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีวิหารขนาดย่อมกว่าวิหารด้านตะวันออกเล็กน้อยเชื่อมระเบียงองค์ปรางค์ที่ระเบียง มีบันไดหน้าวิหารตรงกับซุ้มประตู ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

     ใน พ.ศ. 2501 กรมศิลปากรได้ขุดกรุที่วัดพระรามเพื่อทำการบูรณะ ปรากฏว่าพบเจอของมีค่ามากมาย เช่น พระพุทธรูปทองคำ พระพิมพ์แบบอู่ทอง ลูกประคำทองคำ และลูกประคำแก้วผลึกอีกหลายรายการด้วยกัน

4,462 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา