คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพระงาม

ประตูแห่งกาลเวลา

     ประเทศไทยเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นประเทศเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปี ผืนพื้นดินนี้ผ่านพบเรื่องราวสุขทุกข์มามากมายเหลือคณานับ แม้ว่าวิทยาการทางเทคโนโลยีของเราจะพัฒนาไปได้ไกลสักเพียงไหน ก็ยังไม่สามารถที่จะพาเราย้อนอดีตไปศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจริงได้ ทำได้แต่เพียงค้นคว้า ตั้งสมมติฐาน ทำงานวิจัย หรือรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาประกอบกันเป็นเรื่องราวเผยแพร่ให้รับทราบทั่วกันเท่านั้น ดังนั้นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่หลงเหลือยู่ในปัจจุบันนี้จึงควรค่าแก่การให้ความสำคัญและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง

     นอกจากเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว ความสวยงามยิ่งใหญ่ของโบราณสถานในไทยยังคือว่าเป็นสิ่งที่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์เฉพาะควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่ามีโบราณสถานหลายแห่งกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ความนิยมในปัจจุบัน หรือได้รับการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN THAILAND ดังเช่นที่ วัดพระงาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแห่งนี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวจากความสวยงามและบรรยากาศอันเข้มขลังในบริเวณซุ้มประตูวัดที่มีรากต้นโพธิ์ใหญ่เลื้อยพันปกคลุมมานานไม่ต่ำกว่าร้อยปี

ประวัติวัดพระงาม

     “วัดพระงาม” หรือชื่อเดิมคือ วัดชะราม ตั้งอยู่บนเกาะนอกเมืองอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร แต่จากหลักฐานการขุดแต่งทางโบราณคดีพบว่าวัดพระงามมีแผนผังเป็นแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขอบเขตของวัดกำหนดจากคูน้ำล้อมรอบทุกด้าน มีเจดีย์ประธานอยู่หน้าโบสถ์ ซึ่งสันนิษฐานว่า ถูกดัดแปลงมาจากวิหาร เจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมซ้อนอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม เจดีย์องค์นี้มีร่องรอยของการพอกอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ ลักษณะของเจดีย์สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นและสืบต่อมาถึงอยุธยาตอนปลาย ส่วนโบสถ์เป็นอาคารยกพื้นมีฐานรอบอาคาร มีร่องรอยการสร้างทับอาคารเดิม จากการขุดแต่งและขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทดินเผาปูนปั้น และโลหะ กระเบื้องมุงหลังคา ลวดลายปูนปั้นรูปนาค เทวดา เทพนม ตะปูจีน ฯลฯ ส่วนประเภทรูปเคารพทางศาสนาพบส่วนหน้าตักของพระประธาน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องปางสมาธิ

     นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น สิ่ว ผอบ หม้อก้นกลม เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาบ้านบางปูน เตาแม่น้ำน้อย เตาศรีสัชนาลัย เตาสุโขทัยภาชนะดินเผาต่างประเทศที่พบมีเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เครื่องถ้วยเวียดนามและญี่ปุ่น จากโบราณวัตถุที่พบทั้งหมดและลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปลายพุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมาถึงอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23-24 พบร่องรอยการบูรณะหลายครั้ง และน่าจะถูกทิ้งร้างไปหลังช่วงกรุงศรี ฯ แตกครั้งที่สอง ในปี 2310

พระอุโบสถ

     เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 34 เมตร มีมุกยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  มีประตูทางเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 บาน มีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร พระอุโบสถหลังนี้ก็พบร่องรอยการบูรณะมาหลายครั้งเช่นกัน

     จุดเด่นของวัดนี้คือ ประตูแห่งกาลเวลา ซุ้มประตูวัดที่ปรากฏรากของต้นโพธิ์ใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ อายุไม่ต่ำกว่า100 ปี เลื้อยพันปกคลุมอยู่โดยรอบซุ้มประตู ส่วนลำต้นก็เจริญเติบโตสูงขึ้นไปด้านบนซุ้มประแลดูคล้ายหลังคาโดมขนาดใหญ่ แต่เป็นหลังคาที่มองแล้วร่มรื่นสบายตาเหลือเกิน ยิ่งผนวกกับช่วงเวลายามอาทิตย์อัสดง แสงอาทิตย์ที่คล้อยลงต่ำค่อย ๆ ลอดผ่านซุ้มประตูออกมาช้า ๆ เพิ่มความเข้มขลังให้บรรยากาศรอบ ๆ จนดูเหมือนกับเชิญชวนให้เราก้าวเข้าไปผ่ามิติสู่อดีต อย่างไรอย่างนั้น เป็นบรรยากาศที่สวยงาม น่าประทับใจมาก สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าชมแสงลอดซุ้มประตูแห่งกาลเวลา ที่วัดพระรามนี้คือเวลา 17.00น.เป็นต้นไปจนกว่าฟ้าจะมืด หรือช่วงเช้าตรู่หลังพระอาทิตย์ขึ้นก็ย่อมได้ และในช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน ในวันที่มีฝนตกอาจจะมีหมอกจาง ๆ เพิ่มบรรยากาศด้วย 

     เมื่อเดินลอดประตูแห่งกาลเวลาเข้าไปภายในบริเวณวัดจะพบกับเจดีย์แปดเหลี่ยมซึ่งเป็นเจดีย์ประธานตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา  พระอุโบสถและหลวงพ่อวัดพระงามให้กราบสักการะ โดยดอกไม้บูชาพระของที่นี่จะจัดเป็นช่อขนาดประมาณฝ่ามือ ใช้ดอกไม้สดดูสดชื่นสวยงาม สามารถบูชาได้ตามกำลังศรัทธา

5,623 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา