คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดบรมพุทธาราม

(วัดกระเบื้องเคลือบ) และสะพานบ้านดินสอ

วัดบรมพุทธาราม (วัดกระเบื้องเคลือบ) และสะพานบ้านดินสอ

     วัดบรมพุทธาราม และสะพานบ้านดินสอ เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ถือเป็นไฮไลท์ที่สำคัญของการท่องเที่ยวในเส้นทางนี้ โดยเฉพาะวัดบรมพุทธารามนั้นมีศิลปกรรมที่โดดเด่น และมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตั้งอยู่ภายในเขตรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ทางด้านทิศตะวันตกติดกับถนนพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนฝั่งตะวันออกติดกับแนวคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นคลองโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ทิศเหนือบริเวณถัดจากวัดบรมพุทธารามเพียงเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของสะพานป่าดินสอ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนสะพานโบราณพียงไม่กี่แห่งที่เหลือร่องรอยโครงสร้างอยู่

ประวัติความเป็นมา

     ในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง โปรดฯ ให้สร้างวัดบรมพุทธรามขึ้น ณ บริเวณพระนิเวศน์เดิมของพระองค์ในบริเวณที่เรียกว่า บ้านหลวง ตำบลป่าตอง ซึ่งอยู่ในเขตกำแพงพระนคร ริมคลองฉะไกรน้อยใกล้กับประตูไชย ใช้ระยะเวลาในการสร้างถึง 3 ปีเศษ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หมื่นจันทรา ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถและพระวิหาร ชาวกรุงศรีอยุธยาจึงนิยมเรียกกันเป็นสามัญว่า วัดกระเบื้องเคลือบ

     ด้วยเหตุเพราะหลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว จึงทำให้วัดบรมพุทธารามมีความสวยงามโดดเด่นกว่าพระอารามอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน ที่ยังนิยมใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาอยู่ มีเอกสารกล่าวว่าครั้งหนึ่งวัดนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์มาก่อน นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่เคยอยู่ที่วัดบรมพุทธารามแห่งนี้คือ บานประตูไม้ประดับมุกไฟ ซึ่งเป็นงานช่างหลวงในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างชุดบานประตูนี้ขึ้นใน พ.ศ. 2295 ดังปรากฏคำจารึกบนบานประตู ปัจจุบันนำไปจัดแสดง ณ มุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

     สำหรับสะพานบ้านดินสอนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใด ในเอกสารตำนานกรุงเก่า ฉบับพระยาโบรณราชธานินทร์ กล่าวถึง "สะพานหน้าวัดบรมพุทธาราม" ซึ่งคงหมายถึงสะพานบ้านดินสอแห่งนี้ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นสะพานไม้เพื่อเชื่อมต่อกับแนวถนนที่แยกจากถนนมหารัถยา ทางทิศตะวันตกไปยังป่าดินสอ ป่าสมุด ป่าจาน และย่านบ้านแหทางฝั่งทิศตะวันออก ดังปรากฏในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมว่า  "...ถนนย่านป่าดินสอริมวัดพระงาม มีร้านขายดินสอศิลาอ่อนแก่ และดินสอขาวเหลืองดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ…"  ถนนเส้นนี้จึงถูกเรียกตามแหล่งผลิตและแหล่งค้าขายในชื่อ ถนนย่านป่าดินสอ รวมไปถึงชื่อสะพานก็ถูกเรียกตามภาษาปากของคนในยุคนั้นว่า สะพานบ้านดินสอเช่นกัน ดินสอรวมถึงสมุดที่อยู่ในเขตย่านการค้าแถบนี้ จึงเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่เป็นที่ต้องการแก่พระภิกษุ สามเณร เจ้าพนักงานในหอแปลพระราชสาส์น อาลักษณ์ กวี รวมไปถึงกุลบุตร กุลธิดาที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนหนังสือในยุคนั้น แต่ในเวลาต่อมาเมื่อมีการขยายตัวของชุมชน และย่านการค้า สะพานแห่งนี้น่าจะได้รับการบูรณะเปลี่ยนโครงสร้างด้วยอิฐให้แข็งแรง อย่างน้อยก็ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรืออาจจะพร้อมกับคราวที่มีการสร้างวัดบรมพุทธาราม

 

ศาสนา ความเชื่อ อายุสมัยทางศิลปกรรม

     วัดบรมพุทธราม เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธเถรวาท จากเนื้อความในพระราชพงศาวดารที่กล่าวถึงการสร้างวัดในรัชกาลสมเด็จพระเพทราขา (พ.ศ. 2231 - 2246) และมีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) จึงสามารถกำหนดอายุสมัยพุทธศตวรษที่ 23 ศิลปะอยุยาตอนปลาย ในส่วนของสะพานป่าดินสอนั้น ไม่ปรากฏเอกสารหรือหลักฐานการสร้างว่ามีการก่อสร้างสะพานครั้งแรกขึ้นเมื่อใด แต่จากโครงสร้างสะพานที่มีการก่ออิฐสันเหลื่อมเป็นซุ้มโค้งกลีบบัว พบว่าเป็นรูปแบบได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานว่าสะพานป่าดินสอคงถูกสร้างขึ้น หรือมีการบูรณะเปลี่ยนโครงสร้างด้วยอิฐอย่างน้อยก็ราวตันพุทธศตวรรษที่ 23

จุดเที่ยวชมโบราณสถาน วัดบรมพุทธาราม และสะพานบ้านดินสอ

จุดที่ 1 สะพานบ้านดินสอ

     โครงสร้างสะพานที่เห็นในปัจจุบันได้รับการขุดแต่งบูรณะจากกรมศิลปากร เป็นลักษณะสะพานอิฐปูพื้นด้วยการเรียงสันอิฐเป็นก้างปลา ใต้สะพานก่ออิฐสันเหลื่อมตามโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า Corbel Arch เป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัว ซึ่งรูปแบบดังกล่าวสันนิษฐานว่าเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากทางตะวันตก

จุดที่ 2 ก่อนเข้าพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม

     พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม มีขนาดใหญ่เป็นไปตามความนิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายที่เน้นพระอุโบสถเป็นประธานของวัด ปรากฏร่องรอยใบเสมาหินชนวนล้อมรอบ มีการวางแผนผังหันทิศทางไว้ในแนวเหนือ-ใต้ ขนานแนวกับคลองประตูฉะไกรน้อย และถนมหารัถยา ด้านหน้าของพระอุโบสถมีพระสถูปทรงปรางค์ 2 องค์ ลักษณะเพรียวสูง ตั้งเรียงตามแนวแกนขึ้นมาทางทิศเหนือ แต่ไม่อาจตั้งพระสถูปคู่ในแนวขวางเช่นวัดอื่นๆ ตามระบบแผนผังทางสถาปัตยกรรมในสมัยยุยาตอนปลายได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ ผนังสกัดด้านหน้าพระอุโบสถ มีบันไดทางขึ้นซ้ายขวา มีประตูทางเข้า ๓ ช่องทาง ประตูช่องกลางมีขนาดใหญ่เนื่องด้วยเป็นทางเสด็จของพระหากษัตริย์ ในอดีตเคยประดับด้วยบานประตูไม้ประดับมุกไฟ ซุ้มด้านบนประตูทำเป็นยอดปราสาท โดยหากมองในระดับเดียวกันกับซุ้มประตูจะเห็นเหมือนพระประธานประทับนั่งบนฐานชุกชีภายในบุษบกยอดปราสาท ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางด้านสถาปัตยกรรมของงานช่างโบราณในการบังคับมุมมอง บริเวณกรอบหน้าบันบนประตูช่องซ้ายและขวามีร่องรอยงานประดับปูนปั้นอันงดงามเหลืออยู่ ส่วนพระวิหารมีขนาดย่อมกว่าพระอุโบสถ อยู่ติดกับแนวถนมหารัถยา หรือถนพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน

จุดที่ 3 ภายในพระอุโบสถ

     ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีการบูรณะซ่อมแซมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อ พ.ศ. 2526 แท่นชุกชีก่อฐานสูงเพื่อให้เกิดความความโดดเด่นของพระประธานในฐานะศูนย์กลางจักรวาล ด้านหลังพระประธานไม่ก่อติดผนังเพื่อสามารถเดินประทักษิณได้โดยรอบ ผนังพระอุโบสถมีขนาดสูงใหญ่ก่ออิฐอย่างแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักเครื่องบนหลังคา บริเวณผนังปูนกรอบประตูด้านหลังพระประธานทั้งซ้ายและขวา และผนังปูนกรอบหน้าต่างด้านขวาของพระประธาน ยังมีร่องรอยของภาพจิตรกรรมฝาผนังเหลือให้ชมอยู่บางส่วน

ขอบคุณข้อมูลจาก

สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

6,775 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา