คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หลวงพ่อรวย

หลวงพ่อรวย แห่งวัดตะโก

     หากกล่าวถึงหลวงพ่อรวย แห่งวัดตะโก ถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกองค์หนึ่งในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่นับถือของผู้คนในพื้นที่ภาคกลาง และพื้นที่ทั่วประเทศไทยที่เคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก เพราะท่านถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่สมถะ รวมทั้งศีลาวัตรปฏิบัติอันงดงาม ควรแก่การศรัทธาและเคราพอย่างยิ่ง

     ประวัติ ชาติภูมิ หลวงพ่อรวย ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.2464 เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 8 คน (ชาย 3 หญิง 5) ของคุณโยมบิดา ชื่อ มี โยมมารดา ชื่อ สินลา ศรฤทธิ์ (บรรพบุรุษของสกุลศรฤทธิ์นี้ เป็นเชื้อสายชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต) ณ บ้านตะโก หมู่ที่ 2 ต.ดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

     ชีวิตในปฐมวัยมีความเป็นอยู่เหมือนๆ กับเด็กในชนบททั่วไป คือได้ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอันถือได้ว่า เป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำ มาแต่บรรพชน ทั้งช่วยเหลือเลี้ยงดูเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว กระบือ มาโดยตลอด

     ส่วนด้านการศึกษาเมื่อท่านอายุได้ 12 ปี ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ในโรงเรียนวัดตะโก เพราะเด็กๆ ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการในละแวกพื้นที่ตำบลดอนหญ้านาง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นครูสอนบนศาลาการเปรียญของวัด จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ มีความรู้เทียบได้ชั้นประถมปีที่ 4 ก็ออกจากโรงเรียน

     เมื่อท่านอายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตะโก โดยมีพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ในที่ครองเพศพรหมจรรย์ ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในด้านพระคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

     และเมื่อท่านอายุครบบวช ราวปี พ.ศ.2484 ก็อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดตะโก โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อชื่น) เจ้าอาวาสวัดภาชี เจ้าคณะอำเภอภาชีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจ้อย เจ้าอาวาสวัดวิมลสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก (ในสมัยนั้น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณะฉายาว่า ปาสาทิโก ครั้นอุปสมบทแล้ว อยู่จำพรรษาที่วัดตะโกเรื่อยมา ได้ศึกษาด้านคันถธุระพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบได้นักธรรมชั้นโทใน พ.ศ.2485 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกใน พ.ศ.2487

     หลังจากจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านคิดว่าเพียงพอสำหรับด้านคันถธุระแล้ว เพราะพระที่อยู่ตามชนบทบ้านนอกพอที่จะรักษาพระธรรมวินัยเพศพรหมจรรย์ให้ รุ่งเรืองและเป็นนำสอนชาวบ้านได้ก็เป็นที่เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นท่านก็หันมาสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระโดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเรียนพระกรรมฐานกับครูบาอาจารย์เก่งๆ ในยุคนั้น อาทิเช่น

๑.หลวงพ่อชื่น วัดภาชี อยุธยา เชี่ยวชาญด้านวิปัสนากรรมฐานที่สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้นซึ่งมีศิษย์ที่ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อกลั่นมากมาย อาทิเช่น หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา หลวงพ่อศรี หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อชื่น ศิษย์หลวงพ่อกลั่นที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้มรณะภาพไปหมดแล้วซึ่งแต่ ละองค์ล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี

 ๒.หลวงพ่อแจ่ม วัดแดงเหนือ เชี่ยวชาญเวทมนต์คาถาอาคม ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาให้หลวงพ่อรวยทุกอย่าง อาศัยความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจมุ่งมั่นจึงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนวิชาที่เล่าเรียนปฏิบัติเข้มขลังในพลังแห่งวิทยาคมสูงส่ง

     หลวงพ่อรวย วัดตะโก ท่านเป็นผู้ไฝ่ในการศึกษา และมีความขยันมั่นเพียร จึงสามารถสำเร็จในสรรพศาสตร์ทั้งหลายเหล่านั้น และนำมาช่วยเหลือสงเคราะห์ศรัทธาญาติโยมผู้ได้รับความเดือดร้อนด้วยความเมตตา จึงเป็นที่รัก เคารพ และศรัทธาของสานุศิษย์ยิ่ง ด้านการพัฒนาและการพระศาสนา ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ในกิจแห่งสงฆ์ จนพระอารามรุ่งเรืองดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ด้วยคุณูประการต่างๆดังกล่าว จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ราชทินนาม พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ

     หลวงพ่อรวย ได้มรณะภาพลงอย่างสงบเมื่อเวลา 21.00น. ของวันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ    สิริอายุรวม 95 ปี 76 พรรษา และหลังจากสังขารหลวงพ่อมรณภาพมา 100 วัน สังขารหลวงพ่อไม่เน่าไม่เปื่อยจึงทำให้ คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ พร้อมใจกันเชิญสรีระสังขารของหลวงพ่อรวยบรรจุใส่โลงแก้วเพื่อให้ศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะ ณ พระมหาธาตุเจดีย์ปาสาทิโก วัดตะโกต่อไป ทำให้เหล่าศิษยานุศิษย์เชื่อว่า การที่หลวงพ่อรวยสรีระสังขารไม่เน่าไม่เปื่อยมาจากการเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นสายกรรมฐานที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่า เป็นพระกรรมฐานและเป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งของประเทศ

    ในส่วนวัตถุมงคล ท่านเริ่มสร้างมาก่อน ปีพ.ศ.2512 ซึ่งถือเป็นวัตถุมงคลยุคต้นของท่าน และนับแต่ปีพ.ศ.2513 เป็นต้นมา วัตถุมงคลของท่านมีการจัดสร้างหลายครั้ง หลายวาระ และหลายรุ่น ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายๆรุ่น มีค่านิยมสูง ด้วยปรากฏประสบการณ์มาแล้วกับผู้อาราธนาติดตัว

104,139 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา