คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สะพานปรีดี-ธำรง

     สะพานปรีดี-ธำรง  ถือได้ว่าเป็นสะพานแห่งแรกที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเชื่อมเข้าเกาะเมืองอยุธยา โดยข้ามผ่านแม่น้ำป่าสัก โดยสะพานปรีดี-ธำรง นั้นเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2483 ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยแรกซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองเพิ่งจะผ่านพ้นจากวิกฤติการณ์ เหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ สะพานมีความยาว 168.60 เมตร สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งตรงกับวันเกิดของจอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาเป็นประธานพิธีเปิดสะพานฯ

     การตั้งชื่อของสะพานแห่งนี้ ได้ตั้งชื่อตามชื่อบุคคลในคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา 2 ท่าน คือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยถือเป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาแห่งแรก

     ก่อนการดำเนินการก่อสร้างสะพานปรีดี-ธำรงการเดินทางเข้าไปยังฝั่งเกาะเมืออยุธยานั้นมีความยากลำบากเป็นอย่างมากต้องใช้การเดินทางทางเรือในการข้ามแม่น้ำ เพราะภูมิประเทศของตัวเมืองเกาะอยุธยานั้นเป็นเกาะ มีแม่น้ำล้อมรอบโดยแม่น้ำ ด้านเหนือ คือ แม่น้ำลพบุรี, ด้านตะวันตก คือ แม่น้ำเจ้าพระยา, ด้านตะวันออก คือ แม่น้ำป่าสัก, ด้านใต้ คือ แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักไหลรวมกันลงไปออกทะเลอ่าวไทย

     ความสำคัญของสะพานแห่งนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกในด้านการคมนาคมแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชุมชุนบ้านเรือนภายในเกาะเมืองอยุธยากลับมาคึกคักอีกครั้ง การพลิกฟื้นอดีตของเมืองกรุงเก่าครั้งสำคัญนี้ เกิดขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ซึ่งแนวความคิดที่ว่าต้องย้ายคนจากลำน้ำเข้าสู่เกาะเมืองให้ได้ เริ่มต้นด้วยการออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่วัดร้างภายในกำแพงเมืองปี 2481 ซึ่งแต่เดิม รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สงวนที่ดินในเกาะเมืองไว้ห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาถือครอง มาเป็นของกระทรวงการคลัง

     โดยในขณะนั้น นายปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการอยู่ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วขายที่ดินให้กับราษฎร เพื่อจูงใจให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเกาะเมือง งานทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะสอดคล้องกับการรณรงค์เรื่องวัฒนธรรมของชาติอยู่พอดี

     และตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา การปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองมักจะมี “ถนน” เป็นตัวแปรสำคัญ ตลาดบกเริ่มมาแทนที่ตลาดน้ำ ในเกาะเมืองกรุงเก่าก็เช่นกัน มีการสร้างถนนเพิ่มขึ้น ติดตามมาด้วยหัวใจสำคัญของแผนคืนชีวิตให้กับกรุงศรีอยุธยาก็คือ สะพานปรีดี-ธำรง ถือเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนกรุงเก่า จากที่เคยเดินทางขนส่งสินค้าทางเรือจากจังหวัดต่าง ๆ มาสู่การใช้ถนน ซึ่งสะดวกรวดเร็วกว่านอกจากนี้ยังมีการสร้างถนนเชื่อมต่อกับถนนพหลโยธิน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ โดยตรง รวมถึงการสร้างศาลากลางจังหวัดให้อยู่กึ่งกลางของเกาะเมือง ตรงดิ่งจากตัวสะพาน การจัดสร้างสาธารณูปโภค โรงพยาบาล และอาคารพาณิชย์ให้เช่า แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเมืองสำเร็จรูปในยุคนั้นทีเดียว ประชาชนจึงค่อย ๆ ขยับขยายเข้าสู่ภายในเกาะเมืองมากขึ้น

     แม้ปัจจุบันสะพานปรีดี-ธำรง จะมีอายุถึง 77 ปีแล้ว แต่สะพานแห่งนี้ก็ยังคงความสง่างาม และยังสามารถใช้งานให้รถยนต์ทั่วไป รวมไปถึงรถจักรยานยาน ทางเท้าวิ่งสัญจรไปมาอยู่โดยสะดวก

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.matichonacademy.com/content/culture/article_38705

4,953 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา