คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เฉกอะหมัด

อนุสรณ์สถานเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

     อาคารทรงโคมศิลปะอินโด-อิหมีเสนห์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาสถานที่แห่งนี้ คือ อนุสรณ์สถานของบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซีย ที่มีบทบาททางกรเมืองและการค้าในสมัยอยุธยา นามว่า เฉกอะหมัดเป็นขุนนางกรมท่าขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบวรราชนายก และจุฬาราชมนตรีคนแรกของไทย ที่มีเชื้อสายวงศ์สกุลสืบมาถึงปัจจุบัน โดยบริเวณที่เป็นอนุสรณ์สถานนั้น เชื่อว่าเป็นกุโบร์หรือหลุมฝังศพของท่าน

     ประวัติความเป็นมา

     เจ้าพระยาบวรราชนายก หรือ เฉกอะหมัด เดิมเป็นพ่อค้าชาวเมืองกุม จากเปอร์เซีย(อิหมีเสนห์) ได้เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบลท่ากายี ทำการค้าขายเครื่องหอม แพรพรรณ และนำสินค้า จากสยามบรรทุกสำเภาไปค้าขายยังต่างแดนจนมีฐานะมั่งคั่ง

     เมื่อราชสำนักในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เห็นความสามารถทางด้านการค้าทางทะเล จึงได้ให้เฉกอะหมัดเข้ามาช่วยราชการแผ่นดิน ปรับปรุงราชการกรมทำ โดยเฉพาะงานด้านการค้าขายกับพวกพ่อค้านานาประเทศ ทำให้กิจการการค้าระหว่างประเทศของกรุงศรีอยุธยาเจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก

     สมเด็จพระเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงกรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้เป็น "พระยาเฉกอะหมัด รัตนราชเศรษฐี" จ้ากรมห่ขวาและจุฬาราชมนตรี นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของชาวมุสลิมในประเทศไทย ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท้ายคู ซึ่งต่อมาท่านเฉกอะหมัดได้สร้างศาสนสถาน เรียกว่า กุฎีเจ้าเซ็น หรือ กุฎีทอง และยังจัดที่ดินส่วนหนึ่งเป็นสุสาน ต่อมาเกิดเหตุการณ์พ่อค้าชาวญี่ปุ่นก่อกรจลาจล ยกพวกเข้าโจมตีพระนคร มีแผนการจะจับกุมสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งประทับอยู่ ณ พระที่นั่งจอมทอง วัดพระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังหลวง ออกญามหาอำมาตย์ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ในแผ่นดินก่อน ได้ร่วมกับพระยาเฉกอะหมัดฯเกณฑ์คนทั่วไปพล ทั้ง ไทย จีน และแขก เข้าปราบจลาจลได้สำเร็จทันท่วงที พวกญี่ปุ่นที่เหลือหลบหนีออกนอกพระนครไป

     ภายหลังสถนการณ์สงบลง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศพระยาเฉกอะหมัดฯ ขึ้นเป็น เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ศักดินาหมื่นไร่ และให้เลื่อนออกญามหาอำมาตย์ขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายใต้

     เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี รับราชการสืบมาอีกสองรัชกาลจนกระทั่งเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งได้เป็นอัครมหาเสนาบดีร่วมกันมาแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง (พ.ศ. ๒ค๗๙) จึงนับได้ว่าท่านเฉกอะหมัดได้พำนักในแผ่นดินสยามยาวนานถึงหกแผ่นดิน

     เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดีดำรงตำแหน่งสมุหนายกจนอายุได้ ๘๗ ปี พระเจ้าปราสาททองทรงพระราชดำริเห็นว่าท่านชราภาพลงมากแล้ว จึงโปรด เกล้าฯ ให้พ้นตำแหน่งสมุหนายก และเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย อันเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาการปกครองแผ่นดิน และในปีถัดมา เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ถึงอสัญกรรมสิริอายุได้ ๘๘ ปี

     ศาสนา ความเชื่อ อายุสมัยทางศิลปกรรม

     อนุสรณ์สถานเจ้าพระยาบวรราชนายก เป็นสถานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงท่านเฉกอะหมัด ซึ่งเป็นผู้นำชาวมุสลิมในศาสนาอิสลาม นิกายซือะห์ ส่วนตัวอาคารทรงโดมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับบูรณะขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๕๖๐ ตามรูปแบบศิลปะอิสลาม

จุดที่ ๑ ลานร่มไม้ ด้านหน้าอนุสรณ์สถานอนุสรณ์สถานเจ้าพระยาบวรราชนายก เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญหลายประการคือ

ประการที่ ๑ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งสัมพันธไมตรี ระหว่างไทย-อิหมีเสนห์

ประการที่ ๒ อนุสรณ์สถานแห่ผู้นำศาสนาอิสลาม คือ จุฬาราชมนตรีคนแรก ที่มีการสืบทอดตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ประการที่ ๓ เป็นอนุสรณ์สถานแห่ต้นสกุลบุนนาค และอีกหลายสกุล

ประการที่ ๔ เป็นหลุมศพบรรพบุรุษชาวมุสลิมในอยุธยาในปัจจุบัน ที่มีชาวมุสลิมมาเยี่ยมหลุมศพบรรพบุรุษเป็นประจำทุกปี โดยเรียกกันติดปากมาแต่ตั้งเดิมว่า "ท่านเจ้าประคุณกลางเมือง"

จุดที่ ๒ หน้าหลุมฝังศพเจ้าพระยาบวรราชนายก

     ความเชื่อทางศาสนา เป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนมาก ผู้คนแต่ละศาสนา หรืองแม้แต่คนในศาสนาเดียวกันแต่ต่างนิกาย จะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น

ชาวพุทธ สามารถสักการะด้วยการพนมมือไหว้ เพื่อเป็นการเคารพตาม

มุสลิมนิกายสุหนี่ นับถืออัลลอฮฺ พระองค์เดียว

มุสลิมนิกายชีอะห์ นับถืออัลลอฺ และผู้นำทางจิตวิญญาณด้วย

มุสลิมนั้น ควรเป็นไปตามวิจารณญาณของแต่ละบุคคล

     ดังนั้นเรื่องการสักการะของนักท่องเที่ยวชาวพุทธจึงไม่น่ากังวล แต่การสักการะของชาวมุสลิมนั้นควรเป็นไปตามวิจารณญาณของแต่ละบุคล

6,902 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา