คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แขกมัวร์

โบราณสถานและร่องรอยการเป็นอยู่ที่หลงเหลือ ของแขกมัวร์ ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน

     คำว่าแขกมัวร์ (moor) เป็นการเรียกขานของกลุ่มชาวตะวันตกที่นิยมเรียกชื่อของผู้คนในกลุ่มคนนับถือศาสนาอิสลามที่มาจากทวีปแอฟริกาตะวันออก เอเชียตะวันออกลาง เอเชียกลาง และอินเดียที่เข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงสมัยของกรุศรีอยุธยา  กลุ่มแขกมัวร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถือได้ว่ามีความสำคัญและมีบทบาทเป็นอย่างมากในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งเข้ามาค้าขาย เข้ามารับราชการในพระราชวัง กลุ่มแขกมัวร์ที่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่กรุงศรีอยุธยานั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มมุสลิมชาวเปอร์เชีย อาหรับและอินเดีย ที่ได้เข้ามามีบทบาทในราชสำนักกรุงศรีอยุธยารับราชการในหน่วยงานทั้งทางฝ่ายทหารและพลเรือน โดยพวกที่รับราชการฝ่ายทหารได้แก่ พวกทหารอาสาและทหารรักษาพระองค์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จงมาเป็นกองอาสาหรือทหารอาสาต่างชาติที่จ้างมาโดยเฉพาะ ในหนังสือ "สำเภากษัตริย์สุไลมาน กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์ทรงจ้างชาวอิหมีเสนห์ 200 คน จากอินเดียมาเป็นทหารรักษาพระองค์และในจดหมายเหตุการเดินทางของบาทหลวงตาชาร์ดซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2228 ( ค.ศ. 1685 ) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ บรรยายเกี่ยวกับพิธีรับรองคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ว่า มีกองร้อยทหารแขกมัวร์ขี่ม้าถือหอกเฝ้าอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นสอง ในเขตพระราชฐานชั้นสี่ ที่โถงสองข้างมีทหารรักษาพระองค์ชาวเปอร์เซีย อยู่ราว 500 คน ทหารอาสากลุ่มนี้คงพักอาศัยภายในกำแพงเมืองเช่นเดียวกับมุสลิมเชื้อสายเดียวกันเนื่องจากต้องคอยรับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ และยังต้องประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกับชุมชน

     จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าแขกมัวร์หรือกลุ่มอิสลามมุสลิมชาวเปอร์เชีย อาหรับและอินเดีย นั้นได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านการค้าขาย การเข้ารับราชการในพระราชวัง และเข้ามาเป็นทหารอาสาและทหารรักษาพระองค์ ในปัจจุบันนั้นโบราณสถานและร่องรอยการเป็นอยู่ที่หลงเหลืออยู่ของแขกมัวร์หรือกลุ่มอิสลามมุสลิมชาวเปอร์เชีย อาหรับและอินเดีย  ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันนั้น  ได้แก่ สะพานเทพหมีเป็นสะพานข้ามคลองประตูเทพหมี ที่เป็นคลองโบราณด้านใต้ของเกาะเมืองอยุธยา เป็นสะพานก่ออิฐซึ่งสันนิษฐานว่าศิลปกรรมนั้นได้รับอิทธิพลโครงสร้างแบบเปอร์เซียในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมาซึ่งขณะนี้เหลือเพียงไม่กี่แห่ง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สำหรับชื่อเทพหมี ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย ‘เทสมี่’ แปลว่า ‘ประตู’ หรือข้อมูลบางแหล่งระบุว่าชื่อเทพหมีเรียกตามชื่อของหลวงเทพอรชุน (หมี) ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางปากคลองด้านทิศเหนือ หรือเทพอาจจะหมายถึงแขกเทศชุมชนมุสลิมต่างด้าวบริเวณนี้

 

5,135 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา