คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สหประชาชาติกรุงศรีฯ

หมู่บ้านนานาชาติในอยุธยา

     บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณทิศใต้นอกเกาะเมืองของอยุธยา เป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชุมชนชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา อยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านโปรตุเกส แถวนี้สมัยก่อนเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวต่างชาติที่เดินทางมาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านโปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ โดยต่างได้รับพระราชทานที่ดินตั้งชุมชนบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้เคียงกันปัจจุบันบริเวณนี้เรียกว่า ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา

     ที่นี่เป็นชุมชนชาวญี่ปุ่นในอยุธยาเริ่มจากชุมชนเล็กๆตั้งแต่ช่วงปลายสมัยพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2132) เมื่อพ่อค้าเรือสำเภาญี่ปุ่นได้ตั้งคลังสินค้าที่นี่เพื่อรวบรวมสินค้าไว้คอยสำเภามาจากญี่ปุ่นในฤดูปีถัดไป ก่อนหน้านี้อยุธยากับญี่ปุ่นก็มีการค้าระหว่างกันมาซักพักแล้ว โดยมีอาณาจักรริวกิว (ปัจจุบันคือ หมู่เกาะโอกินาวา ตอนใต้สุดของญี่ปุ่น) เป็นตัวแทนการค้า  พอการค้าเฟื่องฟูขึ้น ก็มีชาวญี่ปุ่นอพยพมาอาศัยบริเวณนี้กันมากขึ้นเป็นชุมชนใหญ่โต โดยในชุมชนมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ พ่อค้า โรนิน (ซามูไรที่ไม่มีนายสังกัด) ที่เข้ามาเป็นทหารอาสาให้อยุธยา และ ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเดินทางอพยพหนีออกมาเพื่อเสรีภาพเพราะช่วงนั้นญี่ปุ่นมีการกวาดล้างกีดกันศาสนาคริสต์อยู่ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากกษัตริย์อยุธยาพระราชทานที่ดินตรงนี้ให้ตั้งเป็นหมู่บ้านชาวญี่ปุ่น

 

     หมู่บ้านญี่ปุ่นมีประชากรลดลงเรื่อยๆ จากการปิดประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นสมัยพระเจ้าปราสาททองเนื่องจากต้องการปิดประเทศเพื่อกีดกันศาสนาคริสต์ มีคำสั่งห้ามทำการค้ากับภายนอกและห้ามคนญี่ปุ่นจากภายนอกกลับเข้าญี่ปุ่น ชุมชนนี้เลยลดขนาดและบทบาทลงอย่างมากจนปิดตัว  หลังจากช่วงตั้งแต่ชุมชนนี้หายไปร่วมกว่า 400 ปี ก็เริ่มกลับมีการพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ใหม่ให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยมีสมาคมไทยญี่ปุ่นเป็นหัวแรงและเป็นผู้บริหารจัดการสถานที่นี้จนถึงปัจจุบัน

      ธันวาคม พ.ศ.2523 เจ้าชายนารูฮิโต มกุฏราชกุมารแห่งญี่ปุ่นในสมัยนั้น (ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิของญี่ปุ่น) ได้ทรงเสด็จมาเยือนที่หมู่บ้านญี่ปุ่นนี้

 

     พ.ศ.2529 ได้รับการปรับปรุงครั้งแรก โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทไทยในขณะนั้น) เนื่องในโอกาสที่ ร.9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา (พ.ศ.2530) และเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น

     พ.ศ.2550 ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ของ ร.9 และครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงอาคารผนวกและปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการภายในใหม่ทั้งหมด รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสร้างสวนและพร้อมศาลาญี่ปุ่นเพื่อเป็นอนุสรณ์

     พ.ศ.2557 ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ปรับปรุงอาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรอันใหม่ พร้อมสื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัย ใช้ชื่อว่า “นิทรรศการยามาดะ นางามาซะ (ออกญาเสนาภิมุข) และท้าวทองกีบม้า”

     พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงต่อยอดการจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์อยุธยาและหมู่บ้านญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง VR Street Museum โดยปรับปรุงห้องฉายภาพยนตร์และจัดทำ Street Museum แบบ 3D เพิ่มความตื่นตาตื่นใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์เพิ่มบรรยากาศของความเป็นญี่ปุ่น

หมู่บ้านฮอลันดา

     หมู่บ้านฮอลันดา ก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2177 หรือ ปี ค.ศ. 1634 โดยตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ ตำบลสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระราชินีนาทเบียทริกซ์แห่งเนเธอแลนด์และเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทรงเสด็จเยือนที่ตั้งของบ้านฮอลันดา ตอนนั้นมีเพียงป้ายเท่านั้น ยังไม่มีอาคารบ้านฮอลันดา ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งโบราณแห่งนี้เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ครบรอบ 400 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เนเธอแลนด์ เมื่อพ.ศ. 2547 ส่วนที่เหลืออยู่นี้คือรากฐานของสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East India Companyหรือเรียกว่า VOC) ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้จัดสร้างจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และงบประมาณจากรัฐบาลเนเธอแลนด์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวฮอลันดาในสมัยอยุธยา

     สมัยก่อน อยุธยาถือเป็นจุดรวมศูนย์กลางการค้าขาย  ใครอยากซื้อสินค้าจากไทย ก็ต้องมาซื้อที่อยุธยาเท่านั้น ถือเป็นพ่อค้าคนกลาง นอกจากนี้ชาวดัตช์ยังเขียนแผนที่อยุธยาได้ใกล้เคียงมาก แม้ในส่วนของพระราชวังที่ชาวต่างชาติไม่มีโอกาสเข้าไปในวังและถือเป็นแผนที่ที่สเกลดีที่สุดเพราะจัดทำด้วยวิธีนับก้าวเดิน ชาวดัตช์จะออกเดินทางไปยังประเทศต่างๆ พร้อมแผนที่ ลูกโลก กระดาษ ปากกา เพราะชอบทำแผนที่และจดบันทึกต่างๆ

     ชาวดัตช์เข้ามาในช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงซื้อเพื่อนำไปขายต่อยังประเทศอื่นเช่นจีน ญี่ปุ่น และนำสินค้าจากประเทศต่างๆ กลับเข้ามาขายในไทย สินค้าของชาวดัตช์ถือว่าแปลก ถ้าใครอยากได้สินค้าแปลกๆต้องมาหาที่ตลาดน้ำบางกระจะ ในสมัยนั้น อยุธยามีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับคนต่างชาติว่า ถ้าจะมาตั้งถิ่นฐานในไทย ต้องอยู่นอกเกาะเมืองเท่านั้น นอกจากจะสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือ เรื่องความสะอาดเพราะจุดนี้จะสกปรกและมีหนู และยังมีเรื่องความมั่นคงอีกด้วย สมัยนั้นชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นชาติแรก ชาวฮอลันดาเข้ามาทีหลัง

     บ้านฮอลันดานี้ มี 2 ชั้น ชั้นบนจัดเป็นนิทรรศการ เน้นสีส้ม หมายถึงราชวงศ์ออเรนจ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ มีประวัติความเป็นมา เรื่องราวต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประทศ

     ซื้อบัตรชมจากด้านล่าง 50 บาท ด้านบนต้องเดินขึ้นบันไดสูงพอสมควร เดินขึ้นลำบากสำหรับผู้สูงอายุ  ด้านล่างเป็นร้านขายเครื่องดื่ม อาหารว่าง ของที่ระลึก จัดแต่งภาพวาดลายน่ารักตามแบบชาวดัตช์ เครื่องดื่มและอาหารราคาไม่แพง มีบริการ wifiด้วยครับ

     วิธีการเดินทาง คือถ้ามาจากวัดพนัญเชิงวรวิหาร หมู่บ้านฮอลันดาจะอยู่ด้านขวามือ ในซอยคานเรือ

หมู่บ้านโปรตุเกส

 

     หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่อยู่ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเชีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน

     ปัจจุบัน ซากสิ่งก่อสร้างคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อปีพ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

     โบราณสถานซานเปโตรประกอบไปด้วย ส่วนหน้า เป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัย มีการค้นพบโบราณวัตถุ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ

 มัสยิดกุฎีช่อฟ้า

     ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บรรดาพ่อค้า วานิช มุสลิมจากเปอร์เซีย อาหรับชาติอื่นๆ อินเดีย จีน และมาลายู ได้เดินทางมาติดต่อทำการค้ากับกรุงศรีอยุธยาจนเกิดความมั่งคั่งรุ่งเรืองและได้รับพระราชทานตำแหน่งสำคัญมากมาย

      ท่านเชคอะห์หมัด พ่อค้าชาวเปอร์เซียได้รับ พระราชทานให้ดำรง ตำแหน่งสมุหนายก และเป็นปฐมจุฬาราชมนตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงพระราชทานที่ดินแก่ชาวมุสลิม ซึ่งเป็นพื้นที่คลองตะเคียนในปัจจุบัน ในสมัยนั้นมีชาวมุสลิมหลากหลายเชื้อชาติอยู่อาศัยในบริเวณนี้ โดยมีลำคลองสำคัญในการทำการค้าคือ คลองตะเคียน คลองคูจาม และคลองเทศ เป็นต้น

     เมื่อเกิดชุมชนมุสลิมจึงได้มีการสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์รวมในการประกอบศาสนกิจ นั้นถือเป็นจุดกำเนิดของ มัสยิดกุฎีช่อฟ้า ในปัจจุบัน

     ในปี พ.ศ. 2220 ก่อนเสียกรุง พบบันทึกว่า มัสยิดเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง และในช่วงตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัฐสยามได้กวาดต้อนพี่น้องมุสลิมจากแหลมมลายู มาอยู่รวมกันในบริเวณชุมชนนี้ด้วย

     พ.ศ. 2462 โต๊ะกีแย้ม ผู้เป็นอิหม่ามได้ทำการบูรณะ ซ่อมแซม ซึ่งลักษณะอาคาร ในสมัยนั้นคล้ายโบสถ์มีช่อฟ้า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ได้เสด็จทางชลมารค(ทางเรือ) ผ่านมาและได้ทรงเยี่ยมพสกนิกรมุสลิมของพระองค์ในมัสยิด จึงได้พระราชทาน ชื่อว่า “มัสยิดกุฎีช่อฟ้า” พร้อมพระราชทาน “ตะเกียงช่อ” ให้กับมัสยิดด้วย

     พ.ศ. 2470 โต๊ะกียะฟัดร์ ตะเคียนคาม บุตรโต๊ะกีแย้ม เป็นอิหม่าม ในปี พ.ศ. 2482 ได้เริ่มจัดการสอนศาสนาอย่างเป็นทางการโดยใช้ว่าโรงเรียนกุรอานียะห์ ต่อมาเปลี่ยน ชื่อเป็น “โรงเรียนรุกียุนมะอาริฟ” ซึ่งในปัจจุบันก็คือโรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ และโรงเรียนบ้านคลองตะเคียน หมู่ 2 (วันครู2504) โดยอัลมัรฮูมอาจารย์มูซา ฮานาฟี ผู้เป็นบรมครูผู้ถ่ายทอดวิชาด้านศาสนาจนมีชื่อเสียง และท่านได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยตั้งสำนักงาน  ณ มัสยิดกุฎีช่อฟ้า ถัดมาอัลมัรฮูมอาจารย์ อับดุลลาตี๊ฟ บุญรอด และอัลมัรฮูมอาจารย์ปราโมทย์ ตะวันธรงค์ ดำรงตำแหน่งต่อมาตามลำดับ

      พ.ศ. 2512 ได้มีการบูรณะโดยขยายตัวอาคารมัสยิดให้กว้างขวางขึ้น

      เมื่ออิหม่ามโต๊ะกีหริ่ม ตะเคียนคาม บุตรอิหม่ามโต๊ะกียะฟัดร์ เสียชีวิตลง อิหม่ามอุมัร เลาะวิถี ทำหน้าที่ ต่อมา จนถึงวัยชราไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

     ปี พ.ศ. 2526 ได้มีการวางศิลารากฐานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ทดแทนอาคารศาลาเลี้ยงเก้าห้องที่ชำรุด ได้ก่อสร้างเสร็จในปี2535 โดยท่านอาจารย์ประเสริฐมะหะหมัด จุฬาราชมนตรี เป็นประธานวางศิลารากฐานและเปิดอาคาร  ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่บรรยายศาสนธรรม โรงเรียนสอนอัลกุรอ่านฟัรดูอีน สำนักบริหารงาน ห้องประชุม ห้องสมุด สถานที่ ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน และศูนย์ยุติธรรมชุมชน

2,619 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา