คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ชื่อจอหอนี่มายังไง

ประวัติความเป็นมา

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ได้ตั้งกิ่งอำเภอจอหอ ขึ้นกับอำเภอเมืองนครราชสีมา

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2481 ได้ยุบกิ่งอำเภอจอหอ

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งสุขาภิบาลจอหอ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลจอหอ เป็น เทศบาลตำบลจอหอ

 

คำว่าจอหอ

ประวัติความเป็นมา ตำบลจอหอ
คำว่า "จอหอ" ดร.เจ้าพระคุณอริยานุวัตร เขมะจารี ศิละศาสตร์ดุษฏียบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า จอหอ เป็นภาษาจีนจากคำสองคำคือคำว่า จ้อจ้อ เเละคำว่า ห้อห้อ เนื่องจากใช้มานาน เเละความเคยชินกับนิสัยของคนไทย วรรณยุต์บางตัวจึงหายไป เลยกรอนเสียงเหลือไว้เฉพาะคำว่า จอหอ ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้

ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ปลูกข้าว ปลูกปอ ปลูกฝ้ายเลี้ยงสัตว์ ถ้าจะนำสินค้าเหล่านี้มาขายต้องบรรทุกเกวียน โดยใช้เเรงวัวเเรงกระบือลากมาขายในเมืองโคราช ซึ่งมีพ่อค้าคนจีนรับซื้อสินค้า

ชาวนาที่เดินมาจากอำเภอนอก(บัวใหญ่) อำเภอวิมายะ(พิมาย) เเละอำเภอกลาง(โนนสูง) เดินทางมาถึงดินดอนเนินสูงมีอาหาร เเละบริเวณที่จะปล่อยให้วัวกระบือกินหญ้าได้ก็หยุดบริเวณดินเนินสูง เเห่งจอหอนี้ เพื่อรอพ่อค้าคนจีนมาจากในเมืองโคราชมารับซื้อสินค้า

ส่วนชาวนาอีกพวกหนึ่งก็เดินทางมาจากจตุหรัส(สี่เหลี่ยม) หนองบัวโคก โนนลาว สันเทียะ(โนนไทยในปัจจุบัน) ก็บรรทุกสินค้า เช่นเดียวกันกับสารเเรก

จอหอเกี่ยวกับการศึกสงครามในอดีตสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาเเห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้อธิบายไว้ว่าเเผ่นดินสยามนี้เมื่อก่อนชนชาติไทยปกครองของละว้า หรือลัวะ(ลพบุรี) ซึ่งเเยกออกเป็น 3 อาณาจักรดังนี้

1. อาณาจักรทวาราวดี ซึ่งมีเมืองนครปฐม เป็นราชธานี

2.อาณาจักยางหรือโยนก มีเมืองยาง(เชียงเเสน) เป็นราชธานี

3.อาณาจักรโคตรบูร คือพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน มีเมืองนครพนม เป็นราชธานี เเผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของนครราชสีมาในปัจจุบัน ก็รวมอยู่ในอาณาจักรโคตรบูร

ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้ครองราชสมบัติ ได้เเผ่อำนาจศิลปวิทยาการมากมาย นักโบราณคดีสัษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้สร้างเมืองพิมาย เเละปราสาทหินพิมาย นอกจากนี้ยังได้สร้างเมืองโบราณ ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองพิมาย คือเมืองเสมากับเมืองโคราช(ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน) ระหว่างปี พ.ศ. 1511-1544

สิ่งที่ปรากฏให้เห็นด่านจอหอ หรือด่านบ้านจอหอ ก็คงเป็นหน้าด่านของเมืองพิมาย เช่นเดียวกับเมืองเสมาเเละเมืองโคราช นอกจากด่านจอหอเเล้ว ยังมีด่านทองหลาง ด่านเกวียน ก่อนถึงเมืองพิมาย เเต่ไม่ปรากฏซากวัตถุให้เห็น เพราะเป็นเพียงหมู่บ้านไม่ใช่เมือง เพราะคำว่าด่าน ถูกตัดออกไป หลังการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนเเปลงการบริหารราชการเเผ่นดินส่วนภูมิภาคประมาณ พ.ศ. 2482 จอหอได้ยกฐานะ เป็นกิ่งอำเภอจอหอ พร้อมกับยกฐานะบ้านท่าช้าง ต่อมากิ่งอำเภอจอหอถูกยุบเป็นเพียงบ้านจอหอ

ข้อสังเกตุ : พี่น้องชาวจอหอที่มีนามสกุล กล้าจอหอ, กล้าหาญ, ภักดีจอหอ, ถมจอหอ, ชนะจอหอ, ชาจอหอ, ชวดจอหอ, ยนจอหอ ฯลฯ บรรพบุรุษน่าจะสืบเชื้อสายมาจากด่านจอหอที่พระเจ้าพิมายสั่งให้ออกรบต้านข้าศึก

ที่มาข้อมูลจาก - ตำนานบ้านจอหอ (นายประเชษฐ์ ศิริพงษ์พิมสาร)
------------------------------------------------------

*ที่มา "จอหอ" จากแหล่งอื่น

ที่มา 1
จอหอ เพี้ยนมาจากคำว่า "ก่อหอ" คือเดิมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จอหอ เป็นด่านเฝ้าระวังข้าศึกมาโจมตีเมืองนครราชสีมา จึงก่่อหอขึ้น ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น จอหอ (จากการสอบถามจากเพื่อนชาวโคราชที่เคยทำงานที่ จอหอ เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้ว) เท็จจริงประการใดลองไปสืบค้นต่อดูนะครับ. (ที่มา - Witoon Putpagul)
-----------------------------------------------------

ที่มา 2
จอหอ เมื่อก่อนเป็นหอคอยดูข้าศึกของเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีหลายหอ ตั้งแต่ หอ ก.หอ ข. หอ ค.หอ ง. หอ จ. คนไทยชอบผวนคำ เช่น "ไปไหน ไปหอจอ ก็ ผวนเป็นจอหอ" ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการเกณฑ์จีนเข้ามาค้าขาย ในโคราช หอจอ จะเป็นจุดรวมเกวียนสำหรับตลาดขายข้าวเปลือก เมื่อคนมาติดต่อค้าขายมากขึ้น จากหอจอ ก็ผวนเป็นจอหอในเวลาต่อมา (ที่มา - Mattana Dang)
-------------------------------------------------------

ที่มา 3
ฟังจากคำบอกเล่าของคนรุ่นปู่รุ่นย่า จอหอ ย่อมาจาก จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับที่เมืองหน้าด่าน เมืองนครราชสีมา และมีทัพช้าง และทัพม้า ต่อมาก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน บึงทับช้าง (ต่อมาเขียนจาก พ เป็น บ ) และ มีโนนทัพม้า ซึ่งอยู่ในเขตบ้านเกาะ
เรียบเรียงโดย ทัข จันทิมา บ้านนะกาย
(ที่มา - Yao Klinkamol)

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ

ขอบคุณเพจ โคราชในอดีต https://www.facebook.com/korat.in.the.past/photos/a.2751788571556557/1248102511925178/?type=3&theater

 

7,186 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา