คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตำนาน นารีผล

หรือ มักกะลีผลและเจ้าแม่ตะเคียน วัดพระปรางค์มุนี

     เป็นพันธุ์ไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกผลเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว ๑๖ ปี ที่ศีรษะจะมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง ๕ ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือน มนุษย์จริงๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนอยู่จะมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู่เข่า เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียด ออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง และมีขนาดเท่าคนจริงๆ บรรดา ฤาษี กินนร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอผลสุก แย่งชิงกัน เด็ดไปเป็นภรรยา ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปืนขึ้นไปเก็บ เมื่อเก็บมาแล้วก็จะนํากลับไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ วัน ก็จะเหี่ยวแห้งไป

     ในกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่องราวของมักกะลีผลตกเป็นข่าวครึกโครมตามหนา หนังสือพิมพ์ต่างๆ ในประเทศไทย เปิดเผยว่ามีซากคล้ายกับซากสัตว์แห้งๆ คู่หนึ่ง ที่มี รูปร่างคล้ายมนุษย์ ซ้ำยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เหมือนกลิ่นไม้หอมอีก ซึ่งพระครูโกศลวิริยกิจ วัดพระปรางค์มุนี จ.สิงห์บุรี ผู้ครอบครองระบุว่า เป็นมักกะลีผล ได้มีการนำไปเอกซเรย์แล้ว พบว่าไม่มีโครงกระดูก สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อ ก็สันนิษฐานไปต่างๆ นานาว่า เป็นทารกที่ ผิดปรกติที่เรียกว่าลูกกรอกหรือเปล่า หรือบางคนก็ว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวไปก็มี

     ท่านเล่าว่ามักกะลีผลคู่นี้ ได้มาจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมุโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี แต่เดิมเป็นของหลวงพ่อ วัดกลางทุ่ง จ.ลพบุรี ว่ากันว่าหลวงพ่อตุ๊รูปนี้ท่านเคยบำเพ็ญ พรตเป็นฤๅษี อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ และมีเพื่อนฤๅษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ด้วยกันที่นั่นมาแต่อดีตชาติ เมื่อดับขันธ์ก็ได้มาเกิดเป็นหลวงพ่อตู้ในชาตินี้ วันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อตู้ แสดง ธรรมโปรดญาติโยมอยู่นั้น ได้มีชายชราคนหนึ่ง ไว้ผมยาวรุงรัง เนื้อตัวสกปรก และมีกลิ่น เหม็นมาก ได้เดินเข้ามาในศาลา ญาติโยมทั้งหลายพากันหลีกหนีด้วยความรังเกียจ แต่ หลวงพ่อตุ๊หาได้แสดงอาการเช่นนั้นไม่ ท่านให้การไต่ถามความเป็นมา ก็รู้ว่าเป็นคนเสียสติ และหิวโหย อ่อนเพลีย ท่านจึงหาข้าวปลา อาหาร ที่หลับที่นอน ให้อาศัยพักผ่อนอยู่ที่วัด และดูแลเป็นอย่างดี ชายชรานั้นอยู่ที่วัดกลางทุ่งได้ ๓ วัน ก็ลาจากไป ก่อนไปได้มอบกล่อง ใบหนึ่งให้หลวงพ่อตู้เก็บรักษาไว้และกล่าวกับท่านว่า นับจากนี้อีก ๓ ปี ท่านจะมรณภาพ ให้รีบทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านรับคำนำกล่องนั้นเข้าไปเก็บไว้ในกุฏิ แล้วกลับออกมา ก็พบว่าชายชราผู้นั้นเดินไปไกลลิบถึงบริเวณเชิงเขาแล้ว เล่าต่อๆ กันมาว่าชายชราผู้นั้นเป็น เทวดาแปลงมา และอดีตชาติเคยเกิดเป็นฤๅษีในป่าหิมพานต์ เพื่อนของหลวงพ่อตุ๊นั้นเอง

     เมื่อหลวงพ่อตุ๊มรณภาพแล้ว ลูกชายคนโตชื่อลุงสำเริง ซื่อสัตย์ ได้นำกล่องนั้นไป ฝากไว้กับหลวงพ่อจรัญ เมื่อท่านเปิดดูก็รู้ว่านี่คือ มักกะลีผล พืชมงคลจากป่าหิมพานต์ สมัยเมื่อพระเวสสันดรพาพระนางมัทรีไปอยู่ป่าหิมพานต์ พร้อมด้วยบุตร-ธิดา (ชาลี-กัณหา) ท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) ทรงเป็นห่วงว่าพระนางมัทรี เป็นผู้ที่มีรูปร่างโสภา บางครั้ง ออกหาอาหาร ผลไม้ ตามลําพังคนเดียว หากเหล่าฤาษี กินนร หรือคนธรรพ์ มาพบเข้า อาจไม่สามารถระงับกิเลสตัณหา แล้วล่วงศีลได้ จึงเนรมิตต้นมักกะลีผล ไว้รอบทิศ ณ ที่ ไกล ก่อนถึงถิ่นแดนอันเป็นที่พํานักของพระเวสสันดร รวม ๑๖ ต้น ว่ากันว่า มักกะลีผลหนึ่ง ผล คือรุกขเทพธิดาหนึ่งนาง หรือเมื่อต้นมักกะลีผลออกดอก เสมือนเกิดวิมานแห่งรุกขเทพธิดาขึ้นที่นั่น ความสวยงามสมบูรณ์แห่งผลต่างกันขึ้นอยู่กับบุญของเทพธิดาแต่ละนาง ด้วยเมื่อเหล่าฤๅษี กินนร หรือคนธรรพ์ นำไปเสพสังวาส ฤทธิ์ก็จะเสื่อม ต้องบำเพ็ญเพียร ใหม่ นี่คงจะเป็นด่านป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้ใดไปทำร้ายพระนางมัทรีได้ เทพธิดาที่อุทิศตนไป เกิดเป็นมักกะลีผลเหล่านั้น จึงถือเป็นผู้เสียสละตนเองเพื่อสร้างบารมี โดยมีส่วนช่วยให้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้สำเร็จทานบารมี ในชาตินั้น

     ตำนานเรื่องเล่า ความลี้ลับและความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ความเลื่อมใสศรัทธาต่อ พระผู้เชี่ยวชาญกัมมัฏฐาน ประกอบกับความอัศจรรย์ของมักกะลีผลคู่นี้ รวมถึงเจ้าของเดิม (ลุงสำเริง ซื่อสัตย์) มีอัธยาศัยจะช่วยทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อวัดใดวัดหนึ่ง สัมฤทธิ์ผล ก็จะอัญเชิญต่อไปอีกวัดหนึ่ง

     พระครูโกศวิริยกิจเล่าว่า มักกะลีผลคู่นี้ได้ไปเข้าฝันเจ้าของเดิม ว่าจะมาช่วยท่าน ซึ่งในขณะนั้น (ปี ๒๕๓๔) ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างพระปรางค์อยู่ยังไม่แล้วเสร็จ จึงได้ อัญเชิญจากวัดอัมพวันมาอยู่ที่วัด และด้วยความอัศจรรย์ของมักกะลีผลทำให้มีผู้คน หลั่งไหลมาเยี่ยมชมขอพรอยู่มิได้ขาด เมื่อนำภาพถ่ายมักกะลีผล (รุ่น ๑) ไปบูชา ผู้ที่บูชานั้นเกิดศรีมงคล สมบูรณ์พูนสุข ด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ เงินทองไหลมาเทมา นำเงินมาถวาย เพื่อร่วมบุญด้วย ทำให้องค์พระปรางค์แล้วเสร็จใน ๓ ปี สินค่าก่อสร้าง ๒o,ooo,ooo บาท (ยี่สิบล้านบาท) เรื่องราวความอัศจรรย์ของมักกะลีผลคู่นี้ ถูกเล่าต่อๆ กันมาปากต่อปาก

     ปัจจุบันมีผู้แวะเวียนมาเยี่ยมชมเทพเทวนารีผล (เป็นชื่อที่พระครูโกศสวิริยกิจท่านเรียก มักกะลีผลคู่นี้) เมื่อนำภาพถ่ายมักกะลีผล (รุ่น ๑) กระปุกเงินล้าน (รุ่น ๒) และล็อคเก็ต (รุ่น : และวัตถุมงคลอื่นๆ จากวัดไปบูชา ซึ่งท่านจะอัญเชิญ บารมีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นๆ ไปบันดาล ให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จในพรที่วอนขอ สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา (ถ้าไม่เป็นกฎแห่งกรรม จนเกินไป) พร้อมคาถาเรียกเงินล้านที่ท่านสวดบูชามักกะลีผลอยู่เสมอ ความเจริญรุ่งเรือง ของวัด ความสำเร็จของท่าน คุณจะสามารถเห็นได้ เมื่อได้มาพิสูจน์ด้วยสายตาตนเอง ณ วัดพระปรางค์มุนี ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ แห่งนี้นั้นเอง

คาถาบูชาเทพเทวนารีผล

     (ตั้ง นะโม ๓ จบ) โอม ระรวย มหาระรวย เทพเทวนารีผล พืชมงคลจากป่าหิมพานต์ ช่วยบันดาลโชค ลาภ ทรัพย์สินเงินทองให้ข้าพเจ้าด้วย นาโร นาระ นาระ สะตั้ง นาระ ลาภัง ชิวหา สุวัณณัง เอหิ จิตตั้ง ปียัง มะมะ

(สวด ๓ จบ เช้า-เย็น)

เจ้าแม่ตะเคียน

     ในส่วนของเจ้าแม่ตะเคียนนั้นมีเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาโดยมีเรื่องอยู่ว่า ต้นตะเคียน เป็นต้นไม้ที่เชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีรุกขเทวดาสิงอยู่ มักจะ ได้รับการเรียกขานว่า เจ้าแม่ตะเคียน นางตะเคียน ตามตำนานพื้นบ้านของไทย เป็นผู้หญิง สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียน บริเวณผืนป่าที่นางตะเคียนสิงอยู่จะสะอาดสะอ้านเหมือนมีคนมาปัดกวาดอยู่เสมอๆ ก็อง เหมือนกับคนอยู่บ้าน ต้องออกมาปัดกวาดหน้าบ้านตัวเองให้สะอาดอยู่ตลอดเวลานั้นเอง นางตะเคียนมักมีรูปร่างหน้าตาสะสวย หมดจดงดงาม ผมยาว ห่มสไบ ใส่ผ้าถุง บางที่ก็ว่าแต่งตัวเหมือนสาวบ้านป่าทั่วไป ผู้คนที่มีความเชื่อเรื่องนี้ มักเชื่อว่าต้นตะเคียนมักมีนางตะเคียนสิงอยู่ การจะนำเอา ต้นตะเคียนมาขุดเป็นเรือ (เรือสมัยก่อนใช้วิธีขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น) หรือนำไม้ตะเคียนมาสร้าง บ้าน จำเป็นจะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตจากนางตะเคียนเสียก่อน ทั้งนี้ เมื่อต้น ตะเคียนที่ถูกนำมาแปรสภาพเป็นยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว นางตะเคียนที่สิงสถิติ อยู่ในต้นตะเคียนนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงสถานะตามไปด้วย เช่น ถ้าเป็นเรือ ก็จะกลายเป็น 2 ย่านางเรือ เป็นต้นสมัยก่อนนั้นวัดพระปรางค์มุนี ยังไม่เจริญ มีต้นตะเคียนเก่าแก่ อายุนับร้อยปีซึ่งอยู่คู่ วัดมานาน บริเวณต้นตะเคียนนั้นเป็นป่ารกครึ้ม ชาวบ้านเล่าว่า ตอนดึกๆ เดือนหงายเคย เห็นสตรีโบราณ รูปร่างสวย แต่งกายงดงาม โจงกระเบนลายพิกุล สไบแพรสีสดใส ในมือ ถือพวงมาลัย นั่งอยู่โคนต้น ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส บางคราวก็ไปเข้าฝันชาวบ้านเพื่อให้ หวย และว่าถ้าถูกแล้วให้หาผ้าลายสวยๆ สีสดๆ มาห่มให้ด้วย บางคราวก็ว่าต้องการช่วย ทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ใครมาขอหวยก็จะให้ แต่ต้องแบ่งส่วนหนึ่งถวายวัด ด้วย

     ปัจจุบัน ต้นตะเคียนได้ยืนต้นตายไปตามกาลเวลา ทางวัดจึงได้จ้างช่างมาแกะสลัก จากต้นตะเคียนเดิม เป็นรูปร่างของแม่ตะเคียนตามคำบอกเล่าของผู้ที่เคยพบเห็น ดังเช่นที่ เห็นกันในปัจจุบันนี้ เมื่อผู้ใดได้ไปกราบไหว้ขอโชคลาภจากท่าน ก็จะได้สมความปรารถนา กันถ้วนหน้า ด้วยจิตที่เมตตาของท่านนั่นเอง

35,215 views

0

แบ่งปัน