คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สระน้ำศักดิ์สิทธิ์

          สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในบริเวณของวัดโพธิ์เก้าต้น หลังประตูทางออกตรงข้ามกับอุทยานวีรชนชาวบ้านบางระจัน  เมื่อสืบหาประวัติพบว่ามีมาอยู่คู่กับวัดโพธิ์เก้าต้นแต่เดิมอยู่แล้ว เกิดจากการที่ในอดีตชาวบ้านพากันขุดดินขึ้นมาถมบริเวณลานหน้าวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ทำให้หน้าดินลึกเป็นหลุมเป็นบ่อและขยายแนวกว้างขึ้นเรื่อยๆจนเป็นสระน้ำที่มีทางน้ำเชื่อมต่อกับคลองธรรมชาติในที่สุด  มีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยอยู่ชุกชุม แต่ปัจจุบันนี้คลองธรรมชาติทางด้านทิศเหนือไม่มีแล้ว สระน้ำนี้จึงมีลักษณะเป็นสระน้ำปิด ไม่เชื่อมต่อกับทางน้ำธรรมชาติแห่งใดอีก

          คุณตาทนงศักดิ์  สุขเทวี ไวยวัจกรประจำวัดโพธิ์เก้าต้น กรุณาเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยคุณตายังเด็ก ประมาณปี พ.ศ. 2498-2499 จำความได้ว่าในสระฯมีปลาและสัตว์น้ำจำนวนมาก แต่ไม่มีใครสามารถนำเอาสัตว์น้ำเหล่านั้นไปกินได้เลย  เพราะจะเกิดอาเพศบางอย่างขึ้น ย้อนไปในปี พ.ศ. 2470 เคยมีชาวบ้านนำปลาในสระฯไปทำอาหาร พอทานเข้าไปแล้วเกิดความผิดปกติขึ้นคือ คนในครอบครัวที่ล้อมวงนั่งทานข้าวกันอยู่ จู่ไม่จู่ก็ลุกขึ้นมาชกต่อยกัน จะเอากันถึงตาย ต้องช่วยกันห้ามอยู่นานจึงจะสงบลง

          สัตว์น้ำในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์จะมีขนาดใหญ่โตมากกว่าปกติ เนื่องจากไม่มีใครกล้านำไปรับประทาน เช่น ปลาหมอซึ่งขนาดไม่ควรเกิน หนึ่งฝ่ามือผู้ใหญ่ กลับมีความยาวถึงเกือบหนึ่งศอก คุณตาทนงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านเคยเห็นกับตาของท่านเองเมื่อยังเด็ก  น้ำในสระนั้นมักจะแห้งขอดในหน้าแล้งเห็นเป็นเลนตม สัตว์น้ำจึงอยู่กันอย่างแออัดและทรมาณ ครั้งหนึ่งปรากฏปลาช่อนตัวเขื่องนอนหงายท้องแดงแจ๋อยู่ พระลูกวัดในวัดโพธิ์เก้าต้นมาเห็นเข้าจึงสั่งความว่าให้นำไปต้มกินเถอะ ปลามันหงายท้องมันตายแล้ว คุณตาทนงศักดิ์ไม่อาจทราบว่าระหว่างประกอบอาหารอยู่นั้นได้มีการชิมปลาต้มหม้อนั้นหรือไม่ แต่เมื่อพระลูกวัดทั้งหลายมานั่งล้อมวงฉันเพลกัน อยู่สักครู่หนึ่ง ก็เกิดทะเลาะเบาะแว้งกันจนถึงขั้นลุกขึ้นมาชกต่อย หน้าตาบวมปูด ปากแตก คางแตกกันไป  ไม่เพียงแต่สัตว์น้ำเท่านั้นที่มีความศักดิ์สิทธิ์ น้ำในสระก็เช่นกัน เล่ากันว่าหากใครจะนำไปทำเรื่องไม่ดี ก็เป็นอันได้เกิดเหตุร้ายอะไรขึ้นเป็นแน่  เช่น วันหนึ่งคุณตาทนงศักดิ์ทำงานอยู่ในวัด เห็นรถป้ายแดงขับเข้ามาเทียบข้างสระน้ำที่สมัยนั้นยังไม่มีการล้อมรั้ว เจ้าของรถเดินไปตักน้ำในสระฯมาสาดใส่รถโดยหวังว่าจะเกิดเป็นศิริมงคลแก่รถและตนเอง แต่กลับกลายเป็นว่ารถใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งซื้อมานั้น สตาร์ทเครื่องไม่ติดอีกเลย

          อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้นพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่าควรดำเนินการอะไรให้เป็นที่เรียบร้อย จึงตีกลองเรียกชาวบ้านจากสามหมู่บ้านในละแวกนั้นให้มารวมตัวกัน โดยขอแรงหนุ่มสาวไปช่วยกันหาบน้ำจากคลองใหญ่ทางทิศใต้ บริเวณแนวคูค่ายบางระจันเดิมซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 1 กิโลเมตร มาเติมให้เต็มสระ หาบกันทุกวันอยู่ราวๆหนึ่งเดือน น้ำในสระฯจึงเพิ่มระดับขึ้นมาจนสัตว์น้ำต่างๆพ้นสภาพที่หมกอยู่ในเลนในโคลนรอดพ้นจากความตายมาได้ จนถึงฤดูฝนชาวบ้านก็ถือว่าการหาบน้ำมาเติมในสระฯนั้นเป็นการได้ทำบุญไปด้วย

           จนเมื่อปี พ.ศ. 2510 ก็เริ่มมีคนนำประเพณีการหาบน้ำมาเติมในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์มาข้องเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าว โดยจะไปบนกับรูปหล่อหลวงปู่ธรรมโชติองค์ยืนในวิหารอิฐแดงว่า ถ้าหากได้ผลสำเร็จตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ จะมาแก้บนด้วยการหาบน้ำมาเติมในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ การบนในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการเกณฑ์ทหาร ขอให้ไม่ติดทหาร ใครที่สำเร็จก็จะมาแก้บน ด้วยการหาบน้ำ 200หาบบ้าง 300บ้าง แล้วก็ทำตามๆกันมา จากนั้นหัวข้อเรื่องที่มีการบนก็หลากหลายขึ้นเรื่อยๆ เช่น การขอลูก การสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำรวจ ทหาร ผู้พิพากษา อัยการ ต่างๆ แต่ไม่นานน้ำในลำคลองหลังแนวคูค่ายเดิมก็ปนเปื้อนสารเคมีจากการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านละแวกนั้น ทำให้เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทางวัดจึงขุดบ่อบาดาลหลังวิหารแดงให้ญาติโยมไปตักน้ำจากที่นั่นมาเติมในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์แทน

          สถิติจำนวนรอบในการหาบที่มีการบนน้อยที่สุดคือ 1 หาบ มีอยู่ 3 ราย มากสุด 20000 หาบ วิธีการบนคือ นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปอธิษฐานกราบหลวงปู่ธรรมโชติในวิหารอิฐแดงบอกกล่าวความปรารถนาและจำนวนรอบในการแก้บนให้ชัดเจน เมื่อการณ์สำเร็จดังคำอธิษฐานจึงกลับมาแก้บน ข้อควรระวังที่สำคัญคือ ถ้าหากบนไว้จำนวนมากๆในขั้นตอนอธิษฐานอย่าเจาะจงว่าจะหาบด้วยตนเอง เพราะในกรณีที่ผู้บนหาบไม่ไหวจะสามารถว่าจ้างชาวบ้านที่มารออยู่แถวนั้นหาบแทนให้ได้ คิดค่าบริการเที่ยวละ 3 บาท ( พ.ศ.2563 ) 

          การรักษาสัจจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับที่นี่ เช่น มีสามีภรรยาคู่หนึ่งมาบนขอลูกเอาไว้โดยอธิษฐานว่าหากได้ลูกสำเร็จตามที่หวังจะมาหาบน้ำไปเติมในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 99 รอบ จากนั้นไม่นานผู้เป็นภรรยาก็ตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายสมใจหวัง เมื่อบุตรชายอายุได้ 2 ขวบปีครอบครัวนี้ก็พากันมาแก้บน ผู้เป็นสามีนั้นเป็นทหารมีร่างกายแข็งแรงจึงใช้วิธีหิ้วถังน้ำด้วยมือทั้งสองข้างแทนการหาบ ส่วนผู้เป็นภรรยาใช้คานหาบปกติ เมื่อตกดึกคืนนั้นผู้เป็นภรรยาฝันว่า มีคนมาบอกให้กลับไปหาบน้ำใหม่ 29 รอบ ตามจำนวนที่ผู้เป็นสามีใช้วิธีหิ้วถังน้ำแทนนั่นเอง มิเช่นนั้นเขาจะมาเอาลูกคืนไป วันรุ่งขึ้นสองสามีภรรยาจึงรีบกลับไปแก้บนให้ถูกต้องทันที

          น้ำในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้เคยถูกนำไปใช้ในพระราชพิธีมงคลต่างๆ เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดสิงห์บุรี เช่น ในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาล 9 ขึ้นครองราชย์ครบ 60 ปี

          ปัจจุบันทางวัดโพธิ์เก้าต้นได้ทำการบูรณะสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการนำศิลาแลงจากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มาปูรอบๆ เพื่อกำหนดแนวเขต และทำทางลาดลงไปสู่สระน้ำ ทำรั้วเหล็กล้อมรอบเพื่อรักษาความสะอาดและสะดวกต่อการดูแล

4,178 views

0

แบ่งปัน