คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จาวตาล(โตนด)

วัตถุดิบทรงคุณค่า

เมื่อเข้าเขตจังหวัดสิงห์บุรีมา จะสังเกตเห็นว่าสองข้างทางของที่นี่ไม่ว่าจะทางถนนสายหลัก หรือสายรอง เรียงรายไปด้วย ทุ่งนาเขียวขจีสวยสุดลูกหูลูกตา แต่ที่โดดเด่นกว่านั้น เห็นจะเป็น ต้นตาลสูงชะลูดที่ขึ้นแซมอยู่ตามคันนา สวยงามไม่แพ้กัน และแน่นอนว่าชาวสิงห์บุรี ไม่ยอมปล่อยให้วัตถุดิบล้ำค่าจากธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมาอย่างเสียเปล่าแน่นอน  พวกเขามีผลิตภัณฑ์จากต้นตาลโตนดมากมาย อย่างเช่น น้ำตาลโตนดจากต้นตาล ชาวสิงห์บุรียังคงอนุรักษ์วิธีการเก็บและการทําน้ำตาลสด แบบดั้งเดิมผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใส่เปลือกไม้พะยอม หรือไม้ตะเคียนในปริมาณที่พอเหมาะลงในก้นกระบอกไม้ไผ่ก่อนนําไปรองน้ำตาล  จากจั่นหรืองวงของต้นมะพร้าวหรือต้นตาล เพื่อช่วยไห้น้ำตาลสดไม่เปรี้ยว ไม่บูดนั่นเอง และถ้าหากเก็บน้ำตาลสดได้มาก ก็จะนำไปทำน้ำตาลงบ ซึ่งสามารถเก็บเอาไว้ใช้ได้นาน จะนำไปทำขนมหรือปรุงอาหารก็ให้รสหวานหอมกลมกล่อม

 

ส่วนของน้ำตาลสดได้ใช้ประโยชน์ไปแล้ว ต่อไปเป็นส่วนของลูกตาลกันบ้าง ชาวอำเภอท่าช้างได้คิดค้นการทำ “ขนมถ้วยฟูน้ำตาลสด”  ขึ้นมา เป็นการทำขนมที่ยังอนุรักษ์วิธีการทำแบบดั้งเดิม ทั้งวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำ ล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น วัตถุดิบหลักคือ ข้าวสาร เนื้อตาล น้ำตาลโตนดและน้ำตาลมะพร้าว ใช้เชื้อลูกแป้งเพื่อให้ขนมพื้นฟู ให้สีด้วยการใช้กาบมะพร้าวหรือใบตาลเผา นึ่งบนเตาฟืนแบบดั้งเดิม ขนมจะออกมานุ่มเหนียว หวานหอม

เราได้เรียนรู้การนำน้ำตาลสดและเนื้อตาลไปใช้กันแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการไปรู้จักกับขนมจาวตาลเชื่อม ที่มีคนทำอยู่แค่เจ้าเดียวในสิงห์บุรีกันบ้าง

 

จาวตาล หรือ ลอนตาล จากต้นตาลโตนดเป็นวัตถุดิบที่ทรงคุณค่าไม่แพ้น้ำตาลสดหรือเนื้อตาลเลย หากบ้านไหนที่มีคนหนุ่ม ร่างกายแข็งแรง คล่องแคล่ว เมื่อถึงฤดูที่ตาลสุกหอมก็จะขึ้นไปตัดทวายตาลลงมา เพื่อปอกเอาลอนตาลอ่อนไปรับประทานกัน บ้านไหนเก็บได้มากจนเหลือก็จะนำไปตั้งขาย หรือทำเป็นลอนตาลลอยแก้วหวานหอมชื่นใจ ขายดิบขายดีกันไป

 

แล้วสำหรับตาลแก่ที่สุกเกินไปจนร่วงลงมากองที่พื้นล่ะ ?  จะปล่อยให้เสียเปล่าอย่างนั้นหรือ ?  เพื่อไม่ให้เสียชื่อชาวสิงห์บุรี เราไปพบกับคุณลุงคนหนึ่งที่สามารถนำตาลแก่ที่สุกร่วงทิ้งต้นมาประกอบอาชีพ ทำรายได้เลี้ยงดูครอบครัวมานานหลายปี คุณลุงไชยรัตน์ ชุ่มใจ เจ้าของร้าน “ไชยรัตน์ จาวตาลเชื่อม” กรุณาพาเราไปชมแหล่งผลิตและบอกเล่ากรรมวิธีการทำจาวตาลเชื่อมที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หลายขั้นตอนให้เราทราบอย่างหมดเปลือก คุณลุงเล่าว่าการที่จะไปขึ้นต้นตาลโตนด เอาน้ำตาลสด หรือลูกตาลอ่อนแข่งกับคนหนุ่มนั้นเห็นทีจะไม่ไหว ด้วยอายุที่มากแล้ว วัตถุดิบจากธรรมชาติที่คุณลุงจะหาประโยชน์จากมันได้ก็คือ ตาลแก่นี่ล่ะ แม้จะต้องใช้ความอดทน ความละเอียดอ่อนและต้องใส่ใจทุกขั้นตอน แต่ก็มั่นใจว่าจะออกมาเป็นขนมที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครทำออกมาได้ดีเท่าคุณลุงแน่นอน

กรรมวิธีเริ่มต้นจากการเก็บลูกตาลสุกที่ร่วงลงมากองที่พื้นรวบรวมไว้ให้ได้มากที่สุดในแต่ละรอบปี นำตาลสุกเหล่านั้นไปแช่น้ำไว้ประมาณสองเดือนหรือนานกว่านั้นเพื่อให้เนื้อเปื่อยยุ่ยละลายออกไปให้หมด  ขั้นตอนนี้ถ้าไม่ดูให้ดียังเหลือเนื้อตาลติดลูกไว้เมื่อเอาไปผึ่งให้แห้งจะเกิดปัญหาคือ มอดจะเข้ามากัดกินลึกเข้าไปถึงจาวตาลเกิดความเสียหายและนำมาใช้ไม่ได้ เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้เราจะได้ลูกตาลก้อนแข็งๆขนาดประมาณฝ่ามือ ให้นำขึ้นจากน้ำแล้วนำไปเพาะให้หน่อตาลงอกยาวออกมาประมาณ 1 ศอก (ใช้เวลาร่วมหนึ่งเดือนเลยทีเดียว)

เมื่อหน่อตาลยาวจนเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตอนหรือที่เรียกง่ายๆว่าเป็นการตัดหน่อตาลที่ยาวเกือบจะเท่าข้อศอกเหลือประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วนำไปเพาะต่ออีกประมาณหนึ่งเดือนครึ่ง รวมระยะเวลาการเตรียมทั้งหมดนี้เบ็ดเสร็จประมาณ สามเดือน จึงจะสามารถนำไป “ฟัน” ได้ 

 

การ “ฟัน” ตาล หรือเฉาะตาลนั้นเป็นความชำนาญขั้นเทพเฉพาะตัวของคุณลุงไชยรัตน์ เนื่องจากลูกตาลแก่ของเรามีเปลือกหนาถึงสองชั้น แถมยังแข็งมาก ถ้าไม่มีความชำนาญอาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้  เมื่อ “ฟัน” เปลือกตาลสองชั้นออก เราจะได้ลอนตาลหรือจาวตาลแก่สีเหลือง ซึ่งคุณลุงก็ใจดีให้เราชิมคนละอันสองอัน จาวตาลแก่นั้นเมื่อกัดเข้าไปจะมีความหอมมันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมที่จะนำไปทำขั้นตอนต่อไป และไม่ให้เสียชื่อชาวสิงห์บุรี คุณลุงไชยรัตน์ชี้ให้เราดูกองเปลือกตาลที่พูนสูงเป็นเนินย่อมๆด้างข้างที่ฟันตาลให้เราและกล่าวว่า เปลือกตาลพวกนี้มีประโยชน์นะเราไม่ทิ้ง แต่จะนำไปเผาให้เป็นถ่านเพื่อนำมาใช้ตั้งไฟในขั้นตอนการเชื่อมตาลนั่นเอง เป็นคนที่ใช้วัตถุดิบได้คุ้มค่าน่ายกย่องจริงๆ

จาวตาลแก่ที่ได้มา นำไปล้างน้ำสะอาดให้หมดเมือกพักไว้ จากนั้นตั้งน้ำให้เดือดแล้วเอาจาวตาลลงไปต้ม ต้มทิ้งไว้จนกว่าจาวตาลทุกเม็ดสุกใสและจมลงก้นหม้อให้หมด  จากนั้นรินน้ำทิ้งหรือที่เรียกว่า “เช็ดน้ำ” นั่นเอง

ขั้นตอนต่อไปคือการตั้งน้ำเชื่อม นำจาวตาลลงไปเคี่ยวกับน้ำเชื่อม ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพของขนมจาวตาลเชื่อม คุณลุงบอกว่าการเชื่อมรอบแรกเป็นแค่การเตรียมพร้อมเท่านั้น เมื่อต้องการจะนำไปขายหรือนำไปรับประทาน จะต้องเชื่อมอีกหนึ่งรอบ เพื่อให้ได้สีสันที่สวยงามและขนมจะเก็บไว้ได้นานไม่เสียง่าย

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของทางร้านคือ สาเกเชื่อมกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนไม่แพ้กัน เริ่มจากการนำสาเกไปปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นแช่น้ำปูนใสทิ้งไว้ สองชั่วโมง เมื่อได้ที่แล้วนำไปต้มกับน้ำสะอาด จึงจะสามารถนำไปเชื่อมอีกสองรอบเหมือนกับจาวตาล ด้วยเหตุผลเดียวกันคือเพื่อสีสันและคุณภาพของขนม

คุณลุงไชยรัตน์ พูดถึงการประกอบอาชีพนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า การทำจาวตาลเชื่อมนี้ ต้องใช้เวลาอยู่กับมันทั้งวัน ทุกขั้นตอนละสายตาไม่ได้เลย ต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก จนดูเหมือนกับว่าเวลาที่ได้นำขนมออกไปนั่งขายที่ตลาด จะเป็นเวลาที่สบายกายและสบายใจที่สุดแล้ว เพราะตั้งใจทำขนมมาเป็นอย่างดี ลูกค้าที่ซื้อไปจะได้ทานของอร่อยและคุณภาพดีแน่นอน 

 

ความใส่ใจในงานที่ทำของคุณลุงทำให้ร้าน ไชยรัตน์จาวตาลเชื่อม ได้รับการการันตีว่าเป็นร้าน “Clean Food Good Taste” หรือ “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” จากอำเภอค่ายบางระจัน และได้เป็นร้าน “มอช” หรือร้านมืออาชีพ โดยเข้าหลักเกณฑ์ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน  จาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

 

ร้าน ไชยรัตน์จาวตาลเชื่อม ขายอยู่ที่ตลาดวัฒนธรรมวัดโพธิ์เก้าต้น ทุกวัน เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 น. – 17.00น. แต่ขอนำว่าให้ไปแต่เช้าหน่อยเพราะขนมร้านนี้ขายหมดค่อนข้างเร็ว หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 093-525-3050

8,929 views

0

แบ่งปัน