คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แม่ครัวหัวป่า

นามพระราชทานแห่งพรหมบุรี

          บ้านหัวป่า อยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี คำว่าหัวป่า แปลว่า เหนือสุดของป่า หมายความว่าในบริเวณตำบลนี้เป็นป่า โดยเฉพาะหมู่ที่ เป็นป่าอยู่เหนือสุดของแถวย่านบ้านนี้จึงเรียกว่า บ้านหัวป่า แต่เดิมตำบลหัวป่าหมู่ที่ ๑ เรียกบ้านหัวป่า หมู่ที่ ๒ เรียก บ้านชลอน หมู่ที่ ๓ เรียก บ้านวัดโบสถ์ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นายอำเภอปชา ลาภานันต์ ท่านเห็นว่า หมู่ที่ มีประวัติที่เกี่ยวกับการเป็นที่ตั้งของจวนเจ้าเมืองพรหมบุรี จึงให้หมู่ที่ ๑ ชื่อบ้านจวนเก่า หมู่ที่ ๓ เรียกว่า บ้านหัวป่า ตั้งแต่นั้นมา

          คำว่าหัวป่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้า ๑๒๘๔ ให้ความหมายว่า คนทำอาหาร ในคำว่าแม่ครัวหัวป่า พ่อครัวหัวป่า โบราณเขียนเป็น หัวป่าก์

          คำว่าแม่ครัวหัวป่าก์ เป็นชื่อของหนังสือ ตำรา อาหารไทยของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จัดพิมพ์ เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          เมืองพรหมบุรี ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเมืองที่เจ้านายทางกรุงเทพฯ เสด็จไปเยี่ยมเยียนเป็นประจำ ข้าราชการเมืองพรหมบุรีจึงแคล่วคล่อง จัดเจนในทางการต้อนรับ ดังคำกล่าวมาแต่โบราณว่า “ก้นถึงฟาก ยกเชี่ยนหมากให้เจ้า หุงข้าวให้กิน” ในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า พระยาอภัยราชา ที่สมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ไปเมืองพรหมบ่อยๆ และประทับใจในการต้อนรับ รวมทั้งการจัดอาหารการกินต้อนรับของชาวเมืองพรหมบุรีเป็นอันมาก จึงนำคณะศรัทธามาสร้างโบสถ์ ศาลาให้วัดชลอน ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางตำบล และพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดชลอนนี้ ทางเมืองพรหมบุรีได้จัดการรับเสด็จพระราชดำเนินอย่างยิ่ง ใหญ่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องเสวยนั้น คุณหญิงโหมดเป็นหัวหน้า  นำแม่ครัวฝีมือเยี่ยมมาปรุงรสอาหารทั้งคาวและหวาน

          ในทำเนียบประวัติเมืองพรหมบุรี มีบันทึกในหมายเหตุรับเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นว่า “แม่ครัว เครื่องคาว ได้แก่ อำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่ง อำแดงแพ อำแดงสรวง ส่วน เครื่องหวาน ได้แก่ อำแดงหงส์ อำแดงสิน อำแดงพลับ อำแดงพา”

         สำหรับเครื่องเสวยที่จัดถวายในครั้งนั้น มีแกงมัสมั่น แกงบอน แกงบวน ต้มปลาร้าหัวตาล  ขนมจีนน้ำยา ส่วนเครื่องหวานมีขนมปิ้ง สังขยา ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน และข้าวตอก น้ำกะทิ

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฝีมือการปรุงเครื่องเสวยของคณะแม่ครัวชุดบ้านหัวป่า เมืองพรหมบุรีมาก เมื่อจะเสด็จกลับพระยาอภัยราชากราบบังคมทูลขอชื่อพระราชทานคณะแม่ครัวชุดนี้ จึงได้รับพระราชทานชื่อว่า “แม่ครัวหัวป่า” จากนั้นไม่ว่าจะเสด็จไปแห่งหนใด มักจะทรงเอ่ยถึงแม่ครัวหัวป่าอยู่เนือง ๆ ต่อมาทรงมีพระราชดำริ อยากได้แม่ครัวหัวป่ามาทำเครื่องเสวยในวังหลวงสัก ๔ คน คุณหญิงโหมดจึงจัดอำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่งมาถวายเป็นแม่ครัว และจัดให้อำแดงหงส์ อำแดงสินมาเป็นแม่ครัวเครื่องหวาน และในสมัยนั้นบ้านหัวป่ายังโด่งดังในฐานะ “ละคร” ระดับมาตรฐานในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน อำแดงเหม อำแดงปลื้ม ก็ได้ไปเป็นครูฝึกละครในวังหลวง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

          ตระกูลของแม่ครัวหัวป่าที่สืบทอดฝีมือมา จนถึงขั้นลูกหลานในปัจจุบันนี้ คือ ยายชั้น แก้วสว่าง ลูกสาว อำแดงอึ่ง ผู้มีฝีมือแกงขี้เหล็ก ยายเนียม เอมะรัตน์ ลูกสาว อำแดงสิน แม่ครัวเครื่องคาวหวาน ยายน้อม  สุขสำราญ เจ้าตำรับแกงบอนใส่ปลาย่าง ป้าตี๋ ศรีกลิ่นดี เจ้าตำรับปลาร้าปิ้ง ยำตะไคร้ ป้าลิ้นจี่ สนสกุล เจ้าตำรับขนมชั้น ป้าลำดวน บุญเพชรรัตน์ เจ้าตำรับขนมหม้อแกง ลุงยม ธรรมเนียมจัด เจ้าตำรับขนมตาล ฯลฯ ดังเคยมีคำกล่าวไว้ว่า บ้านหัวป่าเป็นแหล่งชุมชนของผู้มีฝีมือในการทำอาหารคาวหวาน จนเรียกได้ว่าเป็น “บ้าน แม่ครัวหัวป่า” อย่างแท้จริง สามารถที่จะแยกฝีมือของ แต่ละบ้านออกไปเป็นดังนี้ ขนมเปี๊ยะไส้ฟักใส่ไข่ ต้องบ้าน นางสมศรี จิตไพศาล ปาท่องโก๋จืด เค็ม หวาน บ้านนางสาวสุ่ม ดันทนง เต้าเจี้ยวรสดี ต้องบ้านนางลิ้นจี่ ศรสำราญ ข้าวหลามกะทิสด ต้องบ้านนางอุบล ธรรมเนียมจัด  แต่ข้าวหลามไส้สังขยา ต้องของนางเมี้ยน ยิ่งยง ถ้าข้าวหลามกระบอกสั้นไส้เผือกต้องของนางเม้า เทียนหอมขนมหม้อแกงบ้านนางผวน บุญเพชรรัตน์ ขนมเทียนไส้ถั่ว บ้านนางสาวราตรี ม่วงงาม ขนมไข่สุวรรณสีขาว และสีดอกผักตบบ้านนางสาวบุญเรือน ชาวแสนแสบ ขนมถ้วยฟู ถ้วยเล็กถ้วยใหญ่ บ้านนางสมจิตร สัมฤทธิ์ดี ขนมเต่าไส้ถั่วบ้านนางมณี  วงษ์อยู่ ขนมชั้นบ้านนางลิ้นจี่ สนสกล ขนมบ้าบิ่นอบเทียนหอมบ้านนางโปร่ง กล่อมวาจา ขนมปิ้ง บ้านนางสมศรี ชื่นอารมณ์ ขนมเข่ง ขนมเทียน บ้านนางแจ๊ด กมลเนตร ขนมเปียกปูน บ้านนางรำพึง ต่างทองคำ ขนม กวน ขนมกง บ้านนางเปลว สงวนศักดิ์ ขนมสังขยาถาด บ้านนางบุญยืน บ้านพลับ บ่มผลไม้ มะม่วง ละมุด ชมพู่ บ้านนางเฉลี่ย สังข์ยิ้มทับ หัวป่าจึงนับเป็นเพชรของเมือง สิงห์อย่างแท้จริง

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก

สิงห์บุรี วีรชนคนกล้า สายธาราวัฒนธรรม

1,906 views

0

แบ่งปัน