คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ขนมกง - ขนมกลอย

ขนมพื้นบ้าน ของทานเล่นมงคลของชาวสิงห์บุรี

              ขนมกง หรือขนมกงเกวียน เป็นขนมที่มีบันทึกไว้ว่าถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มีรูปร่างเป็นวงกลมและลวดลายด้านในคล้ายล้อเกวียน หรือพระธรรมจักร ซึ่งมีความเชื่อว่าจะหมุนไปข้างหน้าอย่างเดียว อันเป็นลักษณะที่เป็นมงคลจนชาวสิงห์บุรีถือว่าเป็นขนมที่จะขาดไม่ได้ในวันแต่งงาน เพื่ออวยพรให้บ่าวสาวครองคู่อยู่ด้วยกันตลอดไปนั่นเอง

              ขนมกงที่ทำทานเล่นกันในชีวิตประจำวัน จะเป็นขนมกงวงเล็ก ส่วนในพิธีแห่ขันหมากจะนิยมทำขนมกงวงใหญ่ ทำลวดลายด้านในให้สวยงามเป็นพิเศษ บางที่จะประดิษฐ์โดยการเอาตอกมาเสียบสี่มุมของตัวกง รวบปลายตอกแล้วมัดยอดด้วยตอกให้เหมือนทรงกระโจม นำแป้งที่ใช้ชุบตัวกงมาสลัดในกระทะให้เป็นแพฝอย ๆนำแพแป้งที่ลักษณะเหมือนแหนี้มาคลุมตัวกระโจมดังกล่าว เพิ่มความสวยงามไปอีกแบบ จากนั้นก็จะนำใส่สาแหรกหาบไปในพิธีแห่ขันหมากขนมกงขาดไม่ได้ในงานหมั้นงานแต่ง จนคนไทยสมัยก่อน ถึงกับ มีสำนวนพูดสัพยอกว่า “เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที” ซึ่งหมายความว่าเมื่อไรจะแต่งงานนั้นเอง ขนมกงเป็นขนมมงคล ด้วยเชื่อว่าจะทำให้คู่บ่าวสาวมีใจคอหนักแน่นและครองรักกันตลอดไปเหมือนกงล้อของเกวียนที่หมุนไปเรื่อย ๆ

ส่วนผสมไส้ขนมกง
-ถั่วเขียวโม่ละเอียด 2 ถ้วย
-น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วย
-น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
-มะพร้าว 1 1/4 กิโลกรัม คั้นข้นๆ 1 ถ้วย

ส่วนผสมของแป้งชุบขนมกง
-แป้งข้าวเจ้าอย่างดี 1/2 ถ้วย
-แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
-หัวกะทิ 1/2 ถ้ว
-น้ำปูนใส 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.   ล้างถั่วแล้วคั่วให้หอม เมื่อแตกฝัดเปลือกออกให้หมด โม่ทีละน้อยจนละเอียด นำไปพักไว้
2.   ละลายน้ำตาลปี๊บกับหัวกะทิ ตั้งไฟเคี่ยวจนเหนียวเป็นยางมะตูมอ่อนๆ ยกลงคนกับน้ำตาลทรายจนเย็น จึงผสมกับแป้งถั่วนวดให้เข้ากัน จนสามารถปั้นได้
3.   ปั้นเป็นทรงกลมๆ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วคลึงบนกระดานให้ยาว 3 1/2 นิ้ว ทำเป็นวงกลมเหมือนวงแหวน แล้วเอาแป้งอีกก้อน คลึงให้เป็นเส้นเล็กกว่า วางพาดกลางเป็นรูปกากบาท แล้วปั้นแป้งเม็ดกลมเล็กๆ อีก 5 อัน วางที่มุมตัดกัน 4 มุมและตรงกลางอีก 1 เม็ด เรียงลงตะแกรงพักไว้
วิธีผสมแป้งชุบ
1.   นวดแป้งข้าวเจ้ากับแป้งท้าวยายม่อม ไข่และน้ำปูนใส แล้วละลายด้วยหัวกะทิทีละน้อยๆ จนแป้งละลายไม่เป็นเม็ดกรองหนึ่งรอบ
2.   ตั้งกะทะ ใส่น้ำมันค่อนข้างมาก ตั้งไฟกลาง พอน้ำมันร้อน นำขนมที่ปั้นไว้ลงชุบแป้งทีละอันค่อยๆหย่อนใส่กระทะ แบ่งทอดทีละน้อยเพื่อให้ขนมสุกเสมอกันทั้งชิ้น พอขนมสุกเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองทองนำขึ้นมาพักสะเด็ดน้ำมัน

              ของว่างแสนอร่อยนี้เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวสิงห์บุรีที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  นำของป่าที่แม้จะมีพิษร้ายแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต  แต่ก็สรรหาวิธีจัดการกับมันจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  ที่กล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า กลอย หรือหัวกลอยนั้นนับเป็นพืชประเภทเดียวกับ หัวมัน หัวเผือก คือลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อย มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินซึ่งจะเกิดอยู่ใต้ดินเพียงแค่ตื้นๆสังเกตเห็นได้ง่าย ไม่ต้องขุดหากันให้ยุ่งยาก  พบตามที่ลุ่มต่ำ ที่รกร้างทั่วไป ป่าเต็งรัง ป่าผสม และป่าดงดิบ ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน หัวกลอยให้แป้งมาก แต่มีสารไดออสคอรีน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ ทำให้เมา คันคอ อาเจียน เหงื่อออก ตาพร่า ใจสั่น วิงเวียน ต้องนำมาทำให้หมดพิษ โดยปอกเปลือกทิ้ง แล้วหั่นเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่ทิ้งไว้บริเวณที่น้ำไหลผ่าน เช่นน้ำลำธาร น้ำตก น้ำห้วย สัก 2 - 3 วัน ล้างให้สะอาด จึงจะรับประทานได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือนำไปแช่น้ำเกลือเข้มข้น อย่างน้อย 3 วัน จึงจะนำไปประกอบอาหารได้ สิ่งสำคัญคือการล้างน้ำสะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร ต้องล้างหลายๆรอบจนแน่ใจว่ากลอยของเรา หมดเมือก หมดพิษจริงๆ

              ชาวสิงห์บุรีนำเจ้าหัวกลอยนี้ มาประยุกต์เข้ากับขนมถั่วทอด เป็นการเพิ่มคุณค่าทางอาหารและสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นขึ้นมาได้อย่างดีเลยทีเดียว

วัตถุดิบการทำถั่วทอดกลอย

              แป้งข้าวเจ้า 4 ถ้วย  แป้งมันสำปะหลัง 8 ช้อนโต๊ะ   ถั่วลิสงดิบ 5 ถ้วย  หัวกลอย  3 หัว  ไข่ไก่ 4 ฟอง  น้ำตาลทราย 8 ช้อนโต๊ะ  เกลือ 1 1/2 ช้อนชา    น้ำปูนใส 2 ถ้วย   น้ำกะทิ 2 ถ้วย   น้ำมันพืช   พิมพ์เหล็กกลมแบน หรือพิมพ์ถั่วทอด

วิธีทำถั่วทอดกลอย

  1. นำหัวกลอยมาปอกเปลือกหั่นเป็นแว่นสูงประมาณครึ่ง เซนติเมตร นำไปแช่น้ำเกลือเข้มข้น ประมาณสามวัน เสร็จแล้วล้างน้ำสะอาดหลายๆน้ำ นำมาหั่นเป็นทรงเต๋าเล็ก ขนาดประมาณเม็ดถั่วลิสง หรือใหญ่กว่า
  2. ผสมแป้ง ไข่ น้ำตาลทราย และเกลือ คนพอเข้ากัน ค่อย ๆ เติมน้ำปูนใสลงไป นวดจนส่วนผสมเข้ากันดี เติมน้ำกะทิลงไป คนให้เข้ากัน แล้วนำไปกรองด้วยกระชอนถี่ ๆ หรือผ้าขาวบาง  โรยถั่วลิสงและกลอยลงไปในชามผสม มากน้อยตามชอบ
  3.  ใส่น้ำมันลงในกระทะหรือหม้อสำหรับทอด พอน้ำมันร้อน นำพิมพ์ลงแช่ในน้ำมันพอร้อนแล้วนำขึ้นมา (เพื่อให้ขนมไม่   ติดพิมพ์) เทน้ำมันออก
  4.  ตักแป้งใส่พิมพ์ เกลี่ยถั่วลิสงและกลอยให้ทั่วพิมพ์ นำพิมพ์ลงทอดในน้ำมันที่ร้อน ใช้ไฟกลางค่อนไปทางอ่อน พอแป้ง สุกจะลอยตัวหลุดพิมพ์ออกมาเอง ถ้ายังไม่หลุดก็ให้ช้อนหรือใช้ไม้ปลายแหลมช่วยแงะออก
  5.  ทอดจนแผ่นถั่วเหลืองกรอบทั้งสองด้าน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
3,983 views

0

แบ่งปัน