คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วันจ่าย

จากวันล่าเพื่อบูชายัญ สู่วันแห่งการจับจ่าย

#รู้หรือไม่ ? วันจ่ายอันแสนวุ่นวายของใครหลายคนมีที่มาจาก “วันล่า” ของชาวจีนในอดีต
.
#ไหว้เจ้าของต้องครบชื่อต้องดี

ก่อนจะถึงวันไหว้เจ้าก็ต้องมีวันจ่าย ซึ่งอาจเป็นวันวุ่นๆ ของใครหลายคนที่ต้องออกไปจ่ายตลาด เลือกซื้อของที่จำเป็นสำหรับเซ่นไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษ และผีไร้ญาติในวันสิ้นปี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ที่ต้องซื้อมาแบบทั้งตัวและต้องมีเครื่องในพร้อมสรรพ ผลไม้ต่าง ๆ ที่ถ้าจะให้ครบตามฉบับภูเก็ตก็ต้องซื้อให้ครบทั้ง 5 อย่างที่เรียกว่า "หง่อโก้" ทั้ง ส้ม กล้วย แตงโม อ่องหลายหรือสับปะรดและส้มโอ ขนมหวาน กับข้าวคาว กับข้าวเจหรือหลักฉ่าย สุรา น้ำชา ประทัดและกระดาษเงิน-กระดาษทอง โดยเลือกสรรของที่ดีที่สุดครบเครื่องตามธรรมเนียม ตลอดทั้งอาหารแต่ละชนิดล้วนมีเสียงเรียกพ้องกับเสียงของคำมงคล
.
#จากวันล่าถึงวันจ่าย

วันนี้อาจดูเป็นวันธรรมดาที่ไม่สำคัญในเชิงพิธีกรรม แต่ถือเป็นวันสำคัญอีกวันนึ่งของเทศกาลตรุษจีน ที่ถูกกำหนดจนเป็นแบบแผนปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ย้อนไปในอดีตวันจ่ายก็คือช่วงเวลาที่ผู้คนออกล่าสัตว์ หาของเซ่นไหว้ เตรียมการไว้สำหรับการเซ่นไหว้ใหญ่ในวันช่วงตรุษจีน ในสังคมจีนโบราณการล่าสัตว์เพื่อมาบูชายัน เซ่นสรวงในช่วงเปลี่ยนผ่านปีหรือฤดูการเพาะปลูกถือเป็นเทศการใหญ่ประจำปี เรียกว่า “เทศกาลล่าปา” หรือ “ล่าเจี๋ย (腊节) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการล่าสัตว์เพื่อนำไปเซ่นสรวงบูชายัญเทพเจ้าในวันสิ้นปี ถือเป็นเทศกาลใหญ่คู่กับเทศกาลตรุษจีนก่อนจะผนวกรวมกับเทศกาลตรุษจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น
.
#ไหว้เจ้าทำไม่ต้องสัตว์ทั้งตัว

ร่องรอยของพิธีกรรมล่าสัตว์มาบูชายัญ ยังคงปรากฏในธรรมเนียมการเซ่นไหว้ในปัจจุบัน โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาเซ่นไหว้ในปัจจุบันจะต้องนำมาทั้งตัวรวมถึงเครื่องในและเลือด ถ้าเป็นปลาก็ต้องเอาแบบมีเกล็ด หมูก็ต้องคาบหางและมีขาครบสี่ขา โดยถือคติว่าเป็นสัตว์ครบทั้งตัว ซึ่งเป็นคติที่คลี่คลายมาจากการบูชายัญสัตว์เป็น ๆ ในสังคมจีนโบราณ นอกจากนี้ของไหว้อื่น ๆ ก็ล้วนมีพัฒนาการมาจากผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญนั้นคือ “ข้าว” โดยข้าวที่ชาวฮกเกี้ยนนิยมปลูกในสมัยโบราณคือ “ข้าวเหนียว” ขนมเข่ง ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว จึงเป็นของไหว้ประจำเทศกาลที่ขาดไม่ได้
.
#วันล่าในปัจจุบัน

วันจ่ายจึงไม่ใช้แค่วันธรรมดาวันหนึ่งในเทศกาลตรุษจีนแต่กลับมีรากฐานมาจาก “เทศกาลล่าปา” วันแห่งการไล่ล่าเพื่อนำสัตว์มาเซ่นสรวงบูชายันขอบคุณเทพเจ้าของคนในอดีต ในปัจจุบัน"การล่า"ดังกล่าวยังคงดำรงอยู่ หากแต่ทำในตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต แทนที่จะต้องเข้าป่าเพื่อล่าเหมือนเช่นอดีต
.
ภาพ : ตัวอย่างของเซ่นไหว้ จากนิทรรศการถอดรหัสตรุษจีน พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ (มิวเซียมภูเก็ต)
.
ข้อมูลเพิ่มเติม :
1. หนังสือ เทศการจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล สำนักพิมพ์มติชน
2. https://health.kapook.com/view21160.html

964 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต