คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เซียมซีเสี่ยงยา

การรักษาจากเทพเจ้า

#กำเนิดเซียมซี
การเสี่ยงเซียมซี เป็นโหราศาสตร์อันเก่าแก่แขนงหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีนไม่น้อยกว่า 1,000 ปี แต่เดิมเป็นคำกลอนที่สลักไว้บนแผ่นไม้ไผ่ที่ชาวบ้านใช้เสี่ยงทาย เริ่มเป็นที่นิยมและปรากฏการการบันทึกถึงในสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. 1502-1822)

“เซียมซี” เป็นชื่อเรียกภาษาจีน “เซียม” แปลว่า แผ่นกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ยาวๆ ส่วนคำว่า “ซี” แปลว่า บทกลอน เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า บทกลอนบนแผ่นกระดาษแผ่นเล็ก ๆ เพื่อให้จดจำได้ง่าย สิ่งหนึ่งที่คู่กับเซียมซีคือติ้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะทำจากไม้ไผ่บาง ๆ และเขียนหมายเลขกำกับไว้ การเสี่ยงเซียมซี คือการสั่นกระบอกติ้วเซียมซี ให้ไม้เซียมซีหลุดออกมา 1 อันเลขที่ปรากฏบนไม้เซียมซีจะเป็นตัวทำนายโชคชะตาของผู้ที่เสี่ยงทายจากใบเซียมซี
.
#จีนสร้างไทยแปลง
ในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเซียมซีเข้ามาพร้อมชาวจีนในสมัยอยุธยา เมื่อเข้ามาสู่ดินแดนสยาม เซียมซีได้รับความนิยมแพร่หลายและมีการ ปรับ แปล เปลี่ยน แปลง จนเข้ากับวัฒนธรรมไทย มีการแปลข้อความจีนดั่งเดิมเป็นภาษาไทยตลอดถึงแปลงเนื้อหาจากการอุปมาอุมัยเรื่องราวในพงศาวดารจีนเป็นเรื่องราววรรณคดีไทยที่คนไทยรู้จักจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยในปัจจุบัน
.
#เซียมซีเสี่ยงยารักษาโรค
เซียมซีกลายเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คนในยามประสบปัญหาชีวิต คำกลอนในใบเซียมซีเป็นโอสถในการเยียวยาจิตใจของผู้คนและชี้ทางออกของปัญหาต่างๆ แต่ไม่ใช่แค่การเยียวยาจิตใจเพียงอย่างเดียวในยุคที่ผู้คนเข้าไม่ถึงการรักษาและยังต้องพึ่งพายาสมุนไพรอยู่ เซียมซีจึงแปรเปลี่ยนบทบาทจากการเยียวยาทางใจไปสู่การเยียวยาทางกาย ด้วยการเป็นเซียมซีเสี่ยงยา ใครเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีโอกาสเข้าถึงหมอหรือรักษาแล้วไม่หาย เซียมซีเสี่ยงยาเป็นการรักษาทางเลือกอีกหนึ่งทางในฐานะของสื่อกลางการขอคำวินิจฉัยโรคจากเทพเจ้า
.
#แล้วภูเก็ตละ
สำหรับคนภูเก็ตสถานที่ในการขอเซียมซีเสี่ยงยาที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณคือศาลเจ้าปุดจ้อและศาลเจ้าฮกหงวนก้ง (เริงจิต) ขั้นตอนการเสี่ยงเซียมซี ทางศาลเจ้าจะจัดเตรียมกระบอกเซียมซีไว้ โดยจำแนกตามประเภทไว้ ได้แก่ ยาจักษุ รักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับตา ยาภายนอก รักษาอาการผิดปกติทางภายนอกหรือผิวหนัง ยารักษากุมาร หรือยาสำหรับเด็ก ยาสำหรับบุรุษ และยาสำหรับสตรี ผู้ที่จะเสี่ยงเซียมซีจะต้องเลือกให้ตรงกับลักษณะอาการของตน เมื่อเลือกกระบอกเซียมซีแล้วจะต้องจุดธูปบอกอาการต่อเทพเจ้า ผู้ที่จะเสี่ยงเซียมซีจะต้องลงมือเขย่าเซียมซีจนได้ไม้เซียมซีที่ระบุหมายเลขไว้ และโป้ยถามต่อเทพเจ้าว่าหมายเลขที่ได้ถูกต้องตรงกับโรคหรือไม่ แล้วจึงหยิบใบเซียมซีที่ตรงกับเลขที่ได้ โดยในใบเซียมซีจะระบุตำรับยารักษาโรค กรรมวิธีการปรุงยา เปรียบเสมือนเป็นใบสั่งยาของเทพเจ้า เพื่อให้ผู้ที่เสี่ยงเซียมซีนำใบเซียมซีที่ได้ไปสั่งยายังร้านขายยาสมุนไพร โดยภูเก็ตร้ายยาเก่าแก่ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ร้านหงวนชุนต๋อง ร้านฝุ่ยชุนถ่อง
.
เซียมซีจึงไม่ใช้เพียงเรื่องของการเสี่ยงทายดวงชะตาเพียงอย่างเดียวแต่ยังผูกพันธ์กับการเยียวยาทางกายด้วย แม้ว่าปัจจุบันการเข้าถึงบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันจะแพร่หลายมากขึ้น แต่ความป่วยไข้ของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่าอาการที่เกิดขึ้นทางกาย การหายจากโรคมาจากการเยียวยาจิตใจด้วย เซียมซีการเสี่ยงทายขอยาจากเทพเจ้าจึงยังเป็นคำตอบของผู้คนจำนวนไม่น้อยและยังดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน
.
ข้อมูลเพิ่มเติม :
1. บทความวิจัยภาษาเซียมซี โดย ดร.จินตนา ธันวานิวัฒน์
2. ใบเซียมซีสื่อสุขภาพ: วาทกรรมวิเคราะห์ โดย กำพล แสวงบุญสถิต วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 9-10 ฉบับที่ 16-17 มกราคม – ธันวาคม 2557
3. https://phuketoldarchitecture.blogspot.com/…/blog-post_29.h…
4. http://www.fwdder.com/topic/90567
5. http://lek-prapai.org/home/view.php?id=1048
6. https://horoscope.mthai.com/horoscope-highlight/13367.html

3,287 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต