คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ไหว้พระจันทร์

กันทำไม?

#นีลอาร์มสตรองเหยียบดวงจันทร์

ข่าวการเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกของนีล อาร์มสตรอง ในปี ค.ศ.1969 สร้างแรงสะเทือนไม่น้อยต่อระบบความเชื่อของมนุษย์ชาติ โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับดวงจันทร์ สำหรับชาวจีน รายงานของยานอวกาศไม่ได้กล่าวถึง กระต่ายหยก ฉางเอ๋อ หรืออู๋กังและต้นกุ๊ยฮวา มีเพียงก้อนหินและภาพพื้นผิวที่ว่างเปล่า คำถามต่อมานับจากนั้นคือ แล้วเรายังต้องไหว้พระจันทร์อยู่อีกหรือ?
.
#ดวงจันทร์กับการเพาะปลูก

คำตอบของคำถามที่เกิดขึ้นนั้นเชื่อว่าผู้คนแต่ละรุ่นคงมีคำตอบในใจอยู่แล้ว แต่หากย้อนกลับไปในสังคมจีนโบราณดวงจันทร์ถือเป็นอีกหนึ่งธรรมชาติบนท้องฟ้าที่มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งต่อวิถีชีวิต ทั้งในด้านอารมณ์ความรู้สึกซึ่งจะเห็นได้จากบทกวีที่มักรำพัน เปรียบเปรยถึงดวงจันทร์ ด้านวิถีความเป็นอยู่ ที่จะเห็นได้จากตำนานความเชื่อต่าง ๆ เช่น ตำนานเฒ่าจันทราที่ชาวจีนเชื่อกันว่า คือผู้ถือบันทึกดวงชะตาเด็กเกิดใหม่และเป็นผู้หยั่งรู้อนาคตของคู่สมรส ตำนานเทวีฉางเอ๋อกับกระต่ายหยก และที่สำคัญคือการโคจรของดวงจันทร์ยังถือเป็นตัวกำหนดระบบปฏิทินของจีนมาตั้งแต่โบราณ ดวงจันทร์จึงสัมพันธ์กับการเพาะปลูกซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในสมัยโบราณ
.
#เคารพธรรมชาติ

ด้วยความเคารพที่มนุษย์มีต่อดวงจันทร์ซื่อถือเป็นตัวแทนของธรรมชาติ จึงทำให้เกิดประเพณีไหว้พระจันทร์ขึ้น โดยจะจัดในช่วงกึ่งกลางฤดูสารท ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปดของปฏิทินจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรทั้ง ข้าว ถั่ว งาและธัญพืชต่าง ๆ ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บมาได้จะถูกนำมาทำขนมเพื่อบูชาบรรพบุรุษและดวงจันทร์ซึ่งถือเป็นตัวแทนของธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อการเพาะปลูก
.
#เริ่มไหว้พระจันทร์กันเมื่อไหร่

ประเพณีไหว้พระจันทร์ของชาวจีนมีหลักฐานเก่าแก่ถึงช่วงราชวงศ์เซี่ยซึ่งจะทำเฉพาะกษัตริย์เท่านั้น ต่อมาประเพณีนี้ได้ทำกันอย่างแพร่หลายทั่วไปและถือเป็นเทศกาลของรัฐในสมัยราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ.1503 - 1822) จนสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งเป็นราชวงศ์มองโกล ประเพณีนี้ได้ถูกนำกลับมาปฏิบัติเฉพาะราชสำนักอีกครั้งโดยสั่งห้ามประชาชนทำพิธีไหว้พระจันทร์ แต่มีตำนานที่กล่าวถึงชาวจีนได้ใช้วันไหว้พระจันทร์เป็นวัดนัดหมายในการยึดอำนาจคืนจากมองโกล ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวประเพณีไหว้ประจันทร์ที่ที่มีอิทธิพลต่อสำนึกความรักชาติของชาวจีน
.
#สิ่งที่ผู้คนในโลกยุควิทยาศาสตร์หลงลืม

ถ้ามองข้ามเรื่องตำนานและเทพเจ้าไป ประเพณีไหว้พระจันทร์คือประเพณีอันดีงามที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพที่ที่ชาวจีนมีต่อธรรมชาติซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ผู้คนในโลกยุควิทยาศาสตร์หลงลืม
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. หนังสือ เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ โดยถาวร สิกขโกศล
2. บทความ 50 ปี มนุษย์เหยียบดวงจันทร์ จัดฉาก กฎหมายอวกาศ RARE EARTH เหมืองนอกโลก โดยไทยรัฐ
3. https://www.springnews.co.th/thailand/644857

913 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต