คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศาลเจ้าเซ่งเต๊กเบ่ว

ที่สถิต "ผ้อต่อก้ง" เทพเจ้าแห่งโลกหลังความตาย

พูดเรื่องความเป็นความตาย วันนี้ก็ขอเอาเรื่องราวของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ่ว ศาลเจ้าที่สืบเนื่องกับเรื่องราวของโลกหลังความตายของชาวภูเก็ตมาเล่าสู่กันฟัง
.
“เซ่งเต็กเบ่ว” แปลว่า ศาลเจ้าเลิศกุศล จากคำบอกเล่าและข้อความสลักบนกระถางธูป ทำให้ทราบว่าเดิมศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลปุ่นเถ่าก้งและพระโพธิสัตว์กวนอิม สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2423 ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้มีอายุกว่า 140 ปีเลยทีเดียว
.
ศาลเจ้าแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนภูเก็ตที่เกี่ยวเนื่องด้วย “ความตาย” เพราะถือเป็นสถานที่หลักในการจัดพิธีพ้อต่อ หรือ ประเพณีการทิ้งกระจาด ซึ่งเป็นพิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณในช่วงวันสารทจีนมาตั้งแต่อดีต ถือเป็นเทศกาลใหญ่ประจำปีของชาวภูเก็ต
.
ชาวภูเก็ตมักเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าผ้อต่อก้ง” ตามชื่อเทพประธานของศาลเจ้า องค์ผ้อต่อก้ง ถือเป็นเทพผู้ควบคุมวิญญาณและโลกหลังความตาย ชาวภูเก็ตเชื่อว่าเป็นร่างอวตารขององค์ประโพธิ์สัตว์กวนอิม ที่แบ่งภาคไปโปรดสัตว์ในนรกภูมิและคอยควบคุมดวงวิญญาณไม่ให้สร้างความวุ่นวายให้กับมนุษย์โลก โดยพ้อต่อก้งมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ไต่ซือเอี๋ยก้ง” ถือเป็นเทพแห่งภูตผีทั้งปวงและตามเรื่องราวในพระสูตร “โยคะตันตระอัคนีชวาลมุขเปรตพลีโยคกรรม” ผ้อต่อก้ง คือ มหาเปรตซึ่งเป็นร่างอวตารของพระโพธิ์สัตว์กวนอิม ที่มาเตือนพระอานนท์ถึงวันมรณภาพ
.
สำหรับองค์ผ้อต่อก้งของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้ว เดิมเป็นภาพเขียนลายเส้นบนพนังและบูรณะเป็นภาพปั่นนูนต่ำในเวลาต่อมา
.
นอกจากองค์ผ้อต่อก้งและประเพณีพ้อต่อแล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศของโลกหลังความตายที่บอกเล่าผ่านภาพจิตรกรรมและภาพปั้นนูนต่ำเรื่องการลงทันฑ์ในนรกภูมิ ถือเป็นศาลเจ้าพียงไม่กี่แห่งของภูเก็ตที่มีภาพเขียนโบราณ โดยภาพจิตรกรรมชิ้นสำคัญคือแผ่นไม้คานเหนือประตูทางเข้า ที่วาดเป็นเรื่องราวการลงทันฑ์ในนรกภูมิ ซึ่งเป็นปริศนาธรรมที่ผู้สร้างเจตนาให้ผู้ที่มากราบองค์ผ้อต่อก้งเดินลอดคานไม้แท่งนี้ เสมือนว่ากำลังเดินทางเข้าสู่โลกแห่งความตายและเกรงกลัวต่อโทษทันฑ์ในนรกที่เกิดจากการทำบาป
.
หลังจากผ่านช่วงวิกฤติไปแล้ว ถ้ามีโอกาสมิวเซียมภูเก็ตก็ขอเชิญชวนทุกคนไปเยียมเยือนศาลเจ้าเล็ก ๆ แห่งนี้ สักครั้ง อย่างน้อยเรื่องราวของโลกหลังความตายที่ถ่ายทอดผ่านงานจิตรกรรมในศาลเจ้าแห่งนี้ จะเป็นสิ่งเตือนใจในการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต ขอให้ทุกคนปลอดภัยและผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
.
ป.ล.ปัจจุบันภาพเขียนชุดนี้ได้รับการบูรณะเขียนขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อปี พ.ศ.2550 แต่สำหรับใครที่อยากชมของเดิมมิวเซียมภูเก็ตขอแอบกระซิบว่าให้เดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว แผ่นไม้ภาพเขียนนรกภูมิของเดิมซ่อนตัวอยู่ที่นั้น
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. หนังสือรวมประวัติของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ่วบางเหนียวภูเก็ตและที่มาของประเพณีพ้อต่อบางเหนียว

1,495 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต