คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง

มาจากไหน ใครคิด?

มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง เป็นรถสาระพัดประโยชน์ ทั้งใช้ขนส่งสินค้ารวมถึงเป็นรถประจำครอบครัวของใครหลาย ๆ คน นครภูเก็ตวันนี้ บทบาทของมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างเปลี่ยนไปอีกขั้น โดยเทศบาลนครภูเก็ตได้ใช้รถชนิดนี้ เป็นพาหนะสำหรับปฏิบัติการแจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภครวมถึงตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด – ๑๙ จะว่าไป ด้วยคุณสมบัติของรถก็ดูเหมาะสมที่สุดสำหรับภารกิจนี้ ทั้งความคล่องตัว ประสิทธิภาพในการบรรทุก และการประหยัดพลังงาน
.
ระหว่างรอทีมเจ้าหน้าที่ที่มากับรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง เรามาดูกันว่า “มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง” ที่เราเห็น มาจากไหน ใครคิด?
.
ในประวัติศาสตร์โลก รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างได้ถูกผลิตและแพร่หลายนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมาและถูกใช้เป็นเป็นพาหนะของกองทัพเยอรมันและรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างนั้นเป็นยานพาหนะที่คล่องตัว รวดเร็วและประหยัด สนับสนุนปฏิบัติการทางทหารได้เป็นอย่างดี ทำให้รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลกในยุคนั้น
.
สำหรับสังคมไทย เรื่องราวของเครื่องยนต์กลไกยังเป็นเรื่องไกลตัวและหาได้ยากในช่วงเวลานั้น แต่ได้มีพาหนะรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายคือ “รถจักรยานสามล้อพ่วง” ที่คิดค้นโดย นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ในปี พ.ศ.2476 รถสามล่อพวงของนายเลื่อนมีหลาหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่เป็นที่นิยมคือสามล้อพ่วงหลัง ซึ่งดัดแปลงนำรถลากของชาวจีน หรือที่ ชาวภูเก็ตเรียกว่า “หล่างเฉี้ย” มาเชื่อมติดกับจักรยานและสามล้อแบบพ่วงข้าง ติดตั้งกระบะยึดเก้าอี้หวายสำหรับโดยสาร รถสามล้อพ่วงของนายเลื่อนกลายเป็นรถที่ใช้แพร่หลายในสังคมไทย
.
ในเมืองภูเก็ตรถจักรยานสามล้อพ่วงข้างเป็นพาหนะที่ได้รับความนิยมกว่าสามล้อพ่วงหลัง เริ่มใช้ในราวทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา ชาวภูเก็ตเรียกรถลักษณะนี้ว่า “แต็กซี่” ถือเป็นพาหนะที่ใช้แพร่หลายในเมืองภูเก็ตขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้ประกาศยกเลิกรถสามล้อถีบในกรุงเทพ ในปี 2503 เพราะวิ่งได้ช้ากีดขวางการจราจร ธุรกิจสามล้อพ่วงได้กระจายสู่ภูมิภาคอย่างเต็มตัวและกลายเป็นภาหนะในชีวิตประจำวันของผู้คนในเวลาต่อมา
.
จากการยกเลิกสามล้อถีบนี้เอง ด้วยความเป็นนักดัดแปลงของคนไทยและเครื่องยนต์เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายขึ้นนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้ให้กำเนิดรถสามล้อแบบติดเครื่องยนต์ขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ เช่น “ตู๊กตุ๊ก” “สกายแล็บ” รวมถึงการนำมอเตอร์ไซค์มาติดกระบะข้าง แทนที่จะเป็นรถจักรยานเหมือนในอดีต
.
ในระยะแรกสามล้อเครื่องแบบต่าง ๆ มีจำกัดเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ และเริ่มแพร่หลายสู่พื้นที่ต่าง ๆ พร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทยในทศวรรษที่ 2520 เป็นต้นมา ยอดขายมอเตอร์ไซค์ ขยายจาก 1 แสน 5 หมื่นคัน เป็น 2 ล้าน คัน ต่อปี ในระยะเวลาสิบกว่าปีและจากผลสำรวจในปี พ.ศ.2538 พบว่า ครัวเรือนชนบท 3 ใน 5 มีรถมอเตอร์ไซค์ใช้ ส่วนหนึ่งของรถมอเตอร์ไซค์เหล่านี้ได้ถูกดัดแปลงเป็น “รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง” ซึ่งสอดคล้องกลับภาพจำของ อ.ฤดี ภูมิภูถาวร ที่กล่าวว่า “รถพ่วงข้างแบบใช้มอเตอร์ไซค์เริ่มมีวิ่งแพร่หลายในเมืองภูเก็ตเมื่อ 20 - 30 ปี ที่ผ่านมา”
.
จากรถจักรยานสามล้อพ่วงที่คิดค้นโดย นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ในปี พ.ศ.2476 ได้ผ่านความช่างคิดช่างดัดแปลงของคนไทยกลายเป็นรถสามล้อเครื่องแบบต่าง ๆ ที่ใช้แพร่หลายในประเทศไทยรวมถึง “รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง” พาหนะกู้วิกฤติโควิด-19 เมืองภูเก็ตในปัจจุบัน
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. https://www.silpa-mag.com/history/article_47431
2. https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_4548
3. หนังสือหนังสือพ่อค้าไทยยุค 2480 โดย อเนก นาวิกมูล
4. หนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
5. บทสัมภาษณ์ อ.ฤดี ภูมิภูถาวร

4,906 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต