คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

อาม่าเล่า

ข้าวปันส่วนสมัยสงคราม หุงแล้วมีกลิ่น บางที่ก็มีทรายติดมาด้วย

วิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูเก็ต ได้ทิ้งบทเรียนไว้ให้กับคนรุ่นหลังมากมาย คำให้การของอาม่ามาลี เอี่ยวผดุง ถือเป็นหนึ่งบทเรียน ที่มิวเซียมภูเก็ตขอนำเสนอในวันนี้
.
อาม่ามาลี เอี่ยวผดุงเป็นบุตรสาวของ “เต่หล่าวเซี้ยนซินแส” แพทย์แผนจีนโบราณชื่อดังของเมืองภูเก็ตในอดีต อาม่าเกิดในประเทศจีนและเข้ามาประเทศไทยในปี พ.ศ.2481 สามปีก่อนภูเก็ตเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในคำให้การ อาม่าเล่าถึงเรื่องราวชีวิตในช่วงสงครามโลกมากมายหลายเรื่อง “ข้าว” ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งในความทรงจำที่อาม่ากล่าวถึง

“ตอนสงครามลำบาก...ข้าวสารต้องซื้อจำกัด...ส่วนมากเขาจะเรียกข้าวนครฯ นะ เวลาหุงขึ้นมามันจะมีกลิ่นเหมือนกับข้าวเก่า บางที่ก็มีทรายติดมาด้วยนะ ...ไม่เหมือนข้าวสมัยนี้”
.
ใจร้ายคำที่ออกมาจากความทรงจำของอาม่า ได้สะท้อนให้เห็นภาพภูเก็ตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลน “ข้าว” เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ข้าวกลายเป็นสินค้าควบคุมของจังหวัดภูเก็ตที่ต้องปันส่วนโดยจังหวัดเท่านั้น
.
จากคำให้การ ทำให้เห็นว่าในช่วงนั้นภูเก็ตต้องซื้อข้าวมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับ"เอกสารรายงานราชการในยามสงคราม"ของจังหวัดภูเก็ต ที่กล่าวถึงการต้องซื้อข้าวมาจากนครศรีธรรมราชและเพชรบุรี เพื่อมาปันส่วนให้กับประชาชน ข้าวที่ปันส่วนในช่วงสงครามเป็นข้าวที่มีคุณภาพไม่ดีมากนักและยังมีเม็ดกรวดเม็ดทรายผสมในข้าว ซึ่งแม้ว่ามีคุณภาพไม่ดีเหมือนปกติ แต่ก็ถือเป็นสิ่งมีค่าในช่วงเวลานั้น
.
เมื่อได้ข้าวมาแล้ว อาม่าบอกว่า “ต้องนำมาเลือกเม็ดทรายออกที่ละเมล็ดถึงจะหุงกินได้ บางที่หุงแล้วมีทรายติดอยู่ก็ต้องกิน” แถมข้าวที่ได้ที่ได้ปันส่วนมานั้นมีปริมาณไม่แน่นอน ในบางครั้งก็ไม่พอต่อความต้องการของคนในครอบครัว “บางมื้อก็ต้องหุงผสมหัวมันให้พอกิน” เรื่องข้าวและอาหารการกินถือเป็นความลำบากของชีวิตในวิกฤติสงครามโลกครั้งนั้น ซึ่งอาม่าทิ้งท้ายว่า “แต่เราก็ผ่านมาได้”
.
คำให้การของอาม่ามาลี เอียวผดุงถือเป็นหลักฐานและบทเรียนจากวิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มิวเซียมภูเก็ตนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นเป็นกำลังใจในการฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ขอให้มีความสุขในทุกมื้ออาหาร สวัสดีครับ

832 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต