คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผ้าปาเต๊ะ

นิยมแบบไหน นุ่งอย่างไร?

“ผ้าปาเต๊ะ” เป็นวัฒนธรรมร่วมของผู้คนในคาบสมุทรมลายูและถือเป็นอัตลักษณ์การแต่งกายของวัฒนธรรมเพอรานากัน ทั้งสาวบาบ๋าและสาวภูเก็ตทั่วไปนิยมนุ่งผ้าปาเต๊ะมาตั้งแต่อดีต
.
คำว่า ปาเต๊ะ หรือ บาติก (Batik) เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็ก ๆ ผ้าปาเต๊ะ จึงหมายถึงผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ ด่าง ๆ ซึ่งมาจากกรรมวิธีวิธีการทำผ้าปาเต๊ะที่จะใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือ ย้อม ในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้น อาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และ ย้อมสี ในผืนเดียวกัน
.
ลวดลายของผ้าปาเต๊ะจะเป็นรูปที่มีต้นแบบมาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ หรือรูปเลขาคณิตต่าง ๆ สำหรับผ้าปาเต๊ะในวัฒนธรรมเพอรานกัน จะนิยมรูปสัญลักษณ์มงคลตามคติจีน เช่น รูปดอกท้อ ดอกโบตั๋น พัด ลายหงส์ หรือ นกฟินิกส์ ถือเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมความเป็นมลายูและจีน
.
ผ้าปาเต๊ะที่ขึ้นชื่อและเป็นที่นิยมของสาวบาบ๋า ภูเก็ต มาตั้งแต่อดีต มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ผ้าปาเต๊ะลาส้อม (Lasem Style) เป็นผ้าปาเต๊ะที่ผลิตในชวา ประเทศอินโดนีเซีย นิยมเป็นสีนำตาล และสีส้มอิฐ ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายขวาง รูปดอกไม้ และสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ปลา นก
2. ผ้าปาเต๊ะเมืองไทร เป็นผ้าปาเต๊ะที่ไม่มีท้าย เขียนลวดลายดอกทั้งผืน มีสามสีด้วยกัน คือ สีดำ สีขาวนำเงิน และสีขาวเขียว
3. ผ้าพัน คือ ผ้าปาเต๊ะที่มีความยาวกว่าผ้าปาเต๊ะปกติ วิธีการนุ่งคือจะใช้พันรอบตัว ลวดลายที่นิยมรูปดอกไม้ รูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ปลา นก
.
ผ้าปาเต๊ะทั้ง 3 แบบ เป็นที่นิยมและมีราคาสูง เพราะด้วยเป็นผ้าที่นิ่มมือ ไม่ลอกง่าย มีลวดลาย - สี เป็นเอกลักษณ์และมีกลิ่นหอมซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของผ้าปาเต๊ะที่ดี
.
ปัจจุบันการนุ่งผ้าปาเต๊ะมีการพัฒนาไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยี โดยหากย้อนไปในอดีตการนุ่งผ้าปาเต๊ะที่ถูกต้อง ต้องนุ่งเอาส่วนที่เรียกว่า “ท้ายผ้า” ให้อยู่ทางสะโพกด้านซ้าย หลายคนอาจสงสัยว่าท้ายผ้าอยู่ตรงไหนละ? ส่วนท้ายผ้าจะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่มี สี – ลวดลายแตกต่างจากส่วนที่เป็นพื้น คาดผืนผ้าจากบนลงล่าง การนุ่งโดยการเอาส่วนของท้ายผ้าอยู่ทางสะโพกด้านซ้าย(ดูภาพประกอบ) ถือเป็นทริคสำหรับการนุ่งผ้าปาเต๊ะให้ถูกต้องตามแบบโบราณและเป็นลูกเล่นของการนุ่งผ้าปาเต๊ะที่เมื่อมองจากทั้ง 2 ด้านที่มี สี - ลวดลายต่างกัน จะเหมือนกับว่าผู้สวมใส่นุ่งผ้าปาเต๊ะคนละผืนกัน
.
ปัจจุบันผ้าปาเต๊ะ มีหลากหลายรูปแบบ ย่านถนนถลางใจกลางเมืองเก่าภูเก็ต เป็นแหล่งรวมผ้าปาเต๊ะนานาชนิดให้เลือกสรรเป็นเจ้าของ ถ้ามีโอกาสมาเยือนภูเก็ตอย่าลืมลองหาผ้าปาเต๊ะสักผืนถ่ายภาพกับย่านเมืองเก่าอวดเพื่อน ๆ ในโลกออนไลน์ หรือถ้าที่บ้านใครมีผ้าปาเต๊ะผืนเก่าของอาม่า อาอี้ ก็สามารถนำมาลองสวมตามทริคที่เรานำเสนอกันได้นะครับ
.
ภาพ ผ้าบาติกสวย ๆ จากภูเก็ต
โดย กิตติศักดิ์ ทองลิ่ม
โครงการประกวดภาพถ่ายชอบภูเก็ตตรงนี้
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ฤดี ภูมิภูถาวร. การแต่งกายผู้หญิงบาบ๋าภูเก็ต
2. ชลพรรษ แก้วใหม่. (2557). แรงบันดาลใจจากบาติก วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. วิกรม กรุงแก้ว และ ยุทธพงษ์ ต้นประดู่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. การพัฒนารูปแบบผ้าพื้นเมืองภูเก็ตสู่นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

35,950 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต