คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เลียง

เครื่องมือหาแร่ ยุคแรกเริ่ม

"เลียง" เป็นเครื่องมือเก่าแก่ของมนุษย์ที่ใช้สำหรับแยกแร่ออกจากดิน หิน ทราย มีใช้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยรวมถึงเหมืองในต่างประเทศ ซึ่งเลียงแต่ละพื้นที่จะมีรูปแบบ ขนาดและวัสดุที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการทำ ทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกอีกชื่อว่า “บั้ง”
.
สำหรับผู้คนในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกรวมถึงภูเก็ต มีหลักฐานที่กล่าวถึงการใช้เลียงร่อนแร่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏในบันทึกของชาวฝรั่งเศส “มองซิเออร์เรอเนแชบอโน” ในช่วงปี ค.ศ. ๑๖๘๖ (พ.ศ. ๒๒๒๙) ระหว่างมาควบคุมกิจการซื้อแร่ดีบุกที่ภูเก็ต บันทึกไว้ว่า...

“ชาวเกาะนี้ซึ่งเป็นคนอาศัยอยู่ตามป่าตามดงไม่ทำการงานที่แปลกแต่อย่างใดเลย ทั้งวิชาความรู้ก็ไม่ต้องเสาะแสวงหา การที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็เพียงแต่ตัดไม้ฟืน ทำนาและขุดดิน เพื่อร่อนหาแร่ดีบุก เท่านั้น” (ประชุมพงศาวดาร จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
.
เลียงจะทำจากไม้ที่มีเนื้อเหนียว เช่น ไม้หลุมพอ ไม้หยี โดยส่วนใหญ่จะใช้ส่วนที่เรียกว่า “พอนไม้” คือส่วนรากที่แตกปีกออกมาจากลำต้น โดยเลือกปีกที่มีความหนาพอ เพราะเนื้อภายในจะสานกันแน่นและมีเนื้อไม้สำหรับถากโกรนเป็นตัวเลียงได้ เลียงลูกหนึ่งจะใช้เวลาทำหลายวัน เพราะต้องตากจนเนื้อไม้แห้ง แล้วจึงใช้ขวานถากให้ได้รูปทรงคล้ายกระทะ จากนั้นจึงใช้สิ่วหรือกบไสไม้เก็บรายละเอียด ใช้เศษกระเบี้องแตกขูดผิวหน้าให้เรียบแล้วนำไปตากในร่มจนเนื้อไม้แห้ง จึงนำไปใช้งาน
.
การทำเลียงต้องใช่นายช่างผู้ชำนาญ ส่วนสำคัญของเลียงจะอยู่ที่ท้องเลียง ความลึกตื้นของท้อเลียงจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะนำไปใช้ ถ้าใช่ในพื้นที่น้ำลึก เชียว ท้องของเสียงจะถูกทำให้ลึกเพื่อป้องกันน้ำที่เชียวกวาดแร่ดีบุกออกหมดขณะร่อน ส่วนเลียงท้องตื้นปกติ จะใช้กับพื้นที่น้ำตื้นเช่นท้ายรางเหมือง
.
การใช้เลียงเพื่อร่อนแร่ ผู้ร่อนแร่จะต้องคุ้ยหินแร่ กรวด และทรายที่ปะปนกันมาใส่ลงไปในเลียง ใช้แรงเหวียงและกระแสนำกวาดเอา ดิน ทราย ให้ละลายไปกับกระแสน้ำ ส่วนแร่ดีบุกซึ่งมีมวลที่หนักกว่าธาตุอื่น ๆ จะวิ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางของเลียง (ท้องเลียง)
.
พื้นที่ที่ใช้เลียงในการร่อนแร่ จะใช้บริเวณตามลำธาร ลำคลอง เพราะเชื่อว่าตะกอนแร่จากภูเขาจะถูกพักมาทับถมในแม่น้ำ หรือนำไปร่อนตามแอ่งน้ำบนภูเขาในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำฝนได้ชะล้างแร่มาตกตะกอนอยู่ ตลอดถึงท้ายรางของเหมืองแร่ และยังใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกแร่หรือล้างแร่ในเวลาทำการเจาะสำรวจแหล่งแร่อีกด้วย
.
เลียงกลายเครื่องมือเสวงหาความมั่งคั่งที่ใช้มาอย่างยาวนานเป็นเครื่องมือชนิดแรก ๆ ที่มนุษย์ใช้ในการหาแร่ สำหรับภูเก็ตเลียงถือเป็นเครื่องมือที่มีอยู่ทุกบ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวมาตั้งแต่อดีต อ่านจบแล้วไหนใครมีเลียงประจำบ้านถ่ายมาอวดกันได้นะครับ
.
ภาพ เลียงประจำบ้านของครูบุญธรรม ชัชเวช
ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 42.5 ซ.ม. สูง 10 ซ.ม.
จัดแสดงในนิทรรศการ "ภาพจำสงครามโลก" ภูเก็ตนครา มิวเซียมภูเก็ต
.
อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม
1. บทสัมภาษณ์ ครูบุณธรรม ชัชเวช
2. ฐานข้อมูลภูเก็ตดาต้า
3. http://www.finearts.go.th
4. https://www.sac.or.th

2,088 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต