คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เทพเจ้าเตาไฟ

เทพเจ้าผู้ดูแลความเป็นอยู่ของคนในบ้าน

เทศกาลตรุษจีนเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ ด้วยพิธีกรรมส่งเทพเจ้าเตาไฟ เทพเจ้าผู้ดูแลความเป็นอยู่ของคนในบ้าน 
 

เทพเจ้าเตาไฟคือใคร
เทพเจ้าเตาไฟเป็น 1 ใน 5 เทพประจำบ้านสมัยโบราณ ประกอบด้วยเทพแห่งเตาไฟ เทพแห่งประตูบ้าน เทพแห่งประตูห้อง เทพแห่งบ่อน้ำ และเทพแห่งห้องโถงกลาง เทพทั้งห้ามีหน้าที่คุ้มครองคนภายในบ้าน ภายหลังคติการบูชาเทพทั้งห้าเสื่อมลง คงเหลือแต่เทพแห่งประตูบ้านและเทพเจ้าเตาไฟที่ยังสัมพันธ์กับวิถีชีวิของผู้คนมากกว่า สำหรับชาวจีนฮกเกี้ยน ภูเก็ต - ปินัง - ฝูเจี้ยน เชื่อว่าเทพเจ้าเตาไฟเป็นเทพที่มีหน้าที่คุ้มครองดูแลความเป็นอยู่และจดบันทึกการกระทำของคนในบ้าน เพื่อกลับไปรายงานหยกอ๋องซ่งเต่ เทพเจ้าสูงสุด ในวันแรกของเทศกาลตรุษจีน (วันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ปีนี้ 2563 ตรงกับวันที่ 18 มกราคม ตามปฏิทินสากล)
#ไหว้เตาไฟทำไม่ต้องของหวานและเหนียว
สิ่งที่เทพเจ้าเตาไฟรายงาน มีผลต่อโชคชะตา เคราะห์กรรมในปีต่อไป จึงมีการเซ่นไหว้เพื่อขอบคุณและเอาใจเทพเจ้าเตาไฟ หวังให้รายงานแต่สิ่งดีงาม โดยเรียกวันนี้ว่าวัน "ส่างสีน" โดยนิยมเซ่นไหว้ส่งเทพเจ้าเตาไฟ ด้วยน้ำชา ขนมเข่งและของหวาน ๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เหนียวติดปาก รายงานไม่สะดวก ถ้ารายงานก็รายงานแต่เรื่องอ่อนหวานดีงาม บางบ้านอาจจะไหว้ด้วยเหล้า เพราะจะทำให้พูดไม่สะดวกด้วยฤษธิ์สุรา เซ่นไหว่เสร็จมีการเผากระดาษกิ้มและเปลี่ยนป้ายชื่อแผ่นใหม่ รอเทพเจ้าเตาไฟองค์ใหม่มาสถิตในวัน "เฉี่ยสีน" ต่อไป

ไหว้เตาไฟในสามแผ่นดิน
ในปัจจุบันพิธีกรรมการไหว้เตาไฟ ชาวจีนฮกเกี้ยน ภูเก็ต – ปีนัง – ฝูเจี้ยน ยังคงยึดถือปฎิบัติเช่นเดียวกัน ปีนังอาจเพิ่มขนมเต่า (อังกู้) ขนมถ้วยฟู (ฮวดโก้ย)และผลไม้ ฝูเจี้ยน มักมีอ้อยตัดทอนเพิ่มเข้ามาในรายการของไหว้ ถือเป็นของหวานและเป็นของชื่อมงคล เพราะภาษาฮกเกี้ยนเรียกอ้อยว่า “ก้ามเจี่ย” แปลว่าสูงส่ง พ้องกับคำว่า “กัมเสี่ย” ที่หมายถึงการขอบคุณ
 

ไหว้เตาไปในโลกร่วมสมัย
ปัจจุบันเตาไฟมีบทบาทน้อยลงเพราะไม่สะดวกต่อการประกอบอาหาร จึงเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊สแทน พีธีการไหว้เทพเจ้าเตาไฟก็ลดน้อยลงเช่นเดียวกับความเข้าใจคุณค่า ความหมายของการไหว้เทพเจ้าเตาไฟ แต่ตราบใดที่ “ครัว”ยังคงเป็นพื้นที่สำคัญของบ้าน จิตวิญญาณของเทพเจ้าเตาไฟก็ยังคงไม่หายไป แต่อยู่ในรูปของความสุขใจ ความอิ่มท้องของผู้คนในทุกมื้ออาหาร
 

หมายเหตุชื่อเรียกเทพเจ้าเตาไฟ
ชาวภูเก็ตจะเรียกเทพเจ้าเตาไฟว่า “จ้าวฮุนก้ง” หรือ "ซีเบ่งจ้าวกุ้น" ซึ่งการออกเสียงผันแปรไปตามความห่างไกลระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับดินแดนโพ้นทะเล โดยมีที่มาจากคำว่า "灶君公" ออกเสียงตามระบบพินอินว่า "chàu-kun-kong" {Min Nan (POJ)}

ข้อมูลเพิ่มเติม :
หนังสือ เทศการจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล สำนักพิมพ์มติชน
http://plcnksnews2.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
ขอบคุณคำชี้แนะเกี่ยวกับการออกเสียงชื่อเทพเจ้าเตาไฟจากแฟนเพจด้วยครับ
ภาพ : เทพเจ้าเตาไฟและโพโบราณ บ้านเลขที่ 92 ถนนถลาง ย่านเมืองเก่าภูเก็ต

17,633 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต