คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

อังม่อหลาวขี้อาย

อังม่อหลาวของตระกูลลิมปานนท์

ชวนชมสถาปัตยกรรมภูเก็ตมุมใหม่ แบบเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง

มิวเซียมรีวิววันนี้จะพาไปเปิดมุมมองแปลกใหม่ในการชมความงามของสถาปัตยกรรมเมืองภูเก็ต แต่จุ๊ ๆ ๆ.... อย่าเสียงดังนะ เราจะไปแอบมอง “อังม่อหลาวขี้อาย” กัน ตามมาเลย...

เริ่มต้นกันที่มิวเซียมภูเก็ตเดินตามถนนพังงาไปเรื่อย ๆ ผ่านโรงแรมออนออนและร้านตู้กับข้าว เมื่อสุดถนนให้สังเกตุหาอุโมงค์เล็กๆระหว่างธนาคารอิสลามกับร้านสยามเบเกอรี่ ถึงตรงนี้ จุ๊ ๆ ๆ...เราต้องค่อย ๆ ย่องเขาไปแอบมอง ที่สุดปลายอุโมงค์จะพบกับอังม่อหลาวขี้อายแอบซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆท่ามกลางวงล้อมของตึกสมัยใหม่และความจอแจในย่านตัวเมือง

"ลองห้อง"คือชื่อเรียกขานอังม่อหลาหลังนี้ ด้วยเพราะขนาดและจำนวนห้องภายในที่มีมากมาย อังม่อหลาวหลังนี้ก่อสร้างขึ้นประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มองลอดจากอุโมงค์จะเห็นกระถางต้นไม้เรียงรายด้านหน้าซึ่งเป็นภาพจำของอังม่อหลาวหลังนี้ หลังกระถ่างจะเห็นซุ้มโค้งหัวเสาแบบดอริก จั่วหลังคามีลายปูนปั้นรูปดอกไม้ หลังคากระเบื้องกาบกล้วยแบบโบราณและลวดลายที่แอบซ่อนให้เราชะโงกชะแง้ค้นหา

ความใหญ่โตสวยงามของอังม่อหลาวหลังนี้เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของตระกูลลิมปานนท์ตระกูลนายเหมืองเก่าแก่บนเกาะภูเก็ต ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง ที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของภูเก็ตในยุคเหมืองแร่รุ่งเรืองไว้ให้คนในปัจจุบันได้ชื่นชม และหากมองให้ลึกไปกว่าตัวอาคารแล้วอังม่อหลาวหลังนี้ยังสะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ความมานะของกลุ่มคนจีนที่เดินทางมาแสวงหาชีวิตใหม่บนเกาะภูเก็ต จากเสื่อผืนหมอนใบจนสามารสร้างคฤหาสน์หลังใหญ่เป็นของตัวเองได้

ถ้าคุณเคยชินกับมุมมองเดิมๆในการชมความงามสถาปัตยกรรมแบบภูเก็ต “อังม่อหลาวขี้อาย”ถือว่าเป็นที่ที่คุณต้องลองไปแอบมองสักครั้ง

ศัพท์ชวนรู้ อังม่อหลาว 红毛楼 แปลว่าตึกแบบฝรั่ง เกิดจากการผสมของภาษาจีนฮกเกี้ยนสามคำคือ 红 อัง = สีแดง 毛 มอ = ผม (คนผมแดงหมายถึงฝรั่ง) 楼เหลา = บ้าน

พิกัด: สามแยกถนนพังงาตัดกับถนนเยาวราช ย่านเมืองเก่าภูเก็ตระหว่างธนาคารอิสลามและร้านสยามเบเกอรี่

3,263 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต