คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ฮ่ายเหล็งอ๋อง

ตำนานพญามังกรทะเลใต้

เรื่องราวของฮวงจุ้ย ผูกพันธ์กับชีวิตชาวจีนตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะไปตั้งรกรากที่ไหนก็จะยึดหลักฮวงจุ้ยเสมอ หลักฮวงจุ้ยของชาวจีนมีอิทธิพลตั้งแต่กระถางต้นไม้หน้าบ้านไปจนถึงตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ หรือ เมือง เช่น ฮวงจุ้ยรูปไก่ของแผ่นดินจีน หรือ แม่น้ำสิงคโปร์ ที่ได้รับการจัดวางให้มีลักษณะคล้ายปลาคาร์ฟ
.
ภูเก็ตเองก็มีเรื่องราวเช่นนี้กับเขาด้วยเหมือนกัน แถมเป็นฮวงจุ้ยที่มีลักษณะเหมือน “พญามังกรทะเลใต้” หรือ “ฮ่ายเหล็งอ๋อง” ซึ่งเป็นตำนานเรื่องเล่าที่อยู่คู่กับเกาะภูเก็ตมานับร้อยปี
.
ที่มาของเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในสมัย รัชกาลที่ 5 ในช่วงที่ภูเก็ตอยู่ในฐานะศูนย์กลางการปกครองของมณฑลภูเก็ต พระยารัษฏานุประดิษฐ์ฯ มณฑลเทศาภิบาล ณ ขณะนั้น ได้เชิญซินแสท่านหนึ่งมาดูฮวงจุ้ยของเกาะภูเก็ต โดยชินแสท่านนั้นได้กล่าวว่า ภูมิศาสตร์และทำเลของเกาะภูเก็ต เมื่อมองจากแผ่นที่แล้วมีลักษณะเหมือนมังกร
.
มังกรที่ชินแสกล่าวถึง นอนขดตัวอยู่ในทะเลใต้(ทะเลตอนใต้ของจีน) จึงเรียกว่า “ฮ่ายเหล็ง” ซึ่งตรงกับตำนานของ “หลำฮ่ายเหล็งอ๋อง” หนึ่งในเจ้าสมุทรทั้งสี่ที่ช่วยดูแลปกปักรักษา มหาสมุทรตามเทพปกรณัมจีนโดยมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเกาะภูเก็ตที่สอดคล้องกับส่วนต่าง ๆ ของมังกร เช่น แหลมพรหมเทพ คือ หัวมังกรบริเวณเขาแดง อ่าวในหาน คือ จมูกและดั้งจมูก บริเวณอ่าวกะรน คือ นัยน์ตา บริเวณอ่าวทุ่งคา คือ ปากที่อ้า ภูเขาใจกลางเมืองภูเก็ต คือ หัวใจมังกร และบริเวณท่าฉัตรไชย อ่าวโต๊ะขุน อ่าวมะพร้าว คือ ปลายหางมาถึงโคนหาง
.
จากตำนานเรื่องเล่าเรื่องนี้เป็นที่มาของการสร้างประติมากรรมมังกรทะเล “ฮ่ายเหล็งอ๋อง” ในพื้นที่ของสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี เริ่มสร้างในช่วงปี พ.ศ.2547 – 2548 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 – 16 พฤษภาคม 2549
.
ประติมากรรม"พญามังกรทะเล" นั้นเป็นรูปมังกร มี 5 เล็บ ซึ่งเป็นลักษณะของมังกรระดับอ๋อง หรือ กษัตริย์ หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูง 5 เมตร มีความยาวของลำตัว 15 เมตร น้ำหนัก 5 ตัน ออกแบบโดยคุณธวัช ศรีสมเพ็ชร์ ศิลปินผู้มีความชำนาญในการหล่อ สร้างประติมากรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทย
.
ฮ่ายเหล็งอ๋องกลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของผู้ที่มาเยือนเมืองภูเก็ต ชาวภูเก็ตเชื่อว่าประติมากรรมแห่งนี้จะส่งเสริมความเป็นสิริมงคลด้านฮวงจุ้ยของเมืองภูเก็ต ตลอดถึงอำนาจของพญามังกรทะเลใต้จะช่วยปกปักษ์รักษาให้ผู้ที่อยู่ในภูเก็ตมีความปลอดภัยและเจริญมั่งคั่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม
1.หลำห้ายเหลงอ๋องหรือหนานไห่หลงหวาง 南海龍王
http://www.phuketcity.info/default.asp…
2.สวนสาธารณะ 72 พรรษา
https://www.museumthailand.com/…/Suan-Chalerm-Pragiat-72-Pa…

5,152 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต