คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ไกรสรราชสีห์

        ไกรสรราชสีห์ตั้งอยู่กลางถนน กลางสี่แยกซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์กก่อนที่จะเข้าไปยังตัวเมืองสิงห์บุรี ไกรสรราชสีห์เป็นจุดถ่ายภาพที่สำคัญอีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสิงห์บุรีอีกด้วย โดยที่ไกรสรราชสีห์มีตำนานคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ได้กล่าวถึงการเกิดของพระอาทิตย์ โดยกล่าวไว้ว่าพระอาทิตย์นั้นเกิดจากพระอิศวรมหาเทพได้ร่ายพระเวทให้ราชสีห์6ตัว ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ผู้ยิ่งใหญ่ และ1ใน6ตัวนั้นคือ”ไกรสรราชสีห์”ซึ่งเป็นจ่าฝูงและนอกจากนี้ไกรสรราชสีห์นั้นยังสอดคล้องกับชื่อของ”พระเจ้าไกรสรราช”ผู้ที่ทรงสร้างเมืองสิงห์บุรีอีกด้วย โดยวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2554 เวลา 09.24 น. ได้ทำการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ บริเวณรอบเกาะกลางถนนจะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ต้นฤาษีผสม ต้นชาดัด ต้นหูปลาช่อน ต้นเทียนหยด ต้นเข็มและต้นเฟื่องฟ้า ประติมากรรมไกรสราชสีห์เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดสิงห์บุรี ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สัญจรผ่านไปมาต่างแวะมาไหว้ขอพรหรือบนในเรื่องต่างๆให้สมหวัง ประสบความสำเร็จ สังเกตได้จากประติมากรรมปูนปั้นไก่ที่อยู่บริเวณส่วนฐานที่ประชาชนได้นำมาแก้บน โดยนัยยะของการก่อสร้างคือ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมหากษัตริย์ผู้ริเริ่มสร้างเมืองสิงห์ คือ”พระเจ้าไกรสรราช”

เรียบเรียงโดย

นางสาว กีรติ สมสิงห์

9,529 views

0

แบ่งปัน