คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เตาเผาแม่น้ำน้อย

เตาเผาแม่น้ำน้อย

          พิพิธภัณฑ์เตาเผาแม่น้ำน้อยสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทรงคุณค่าของจังหวัดสิงห์บุรี  นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่มากนัก  ทั้งที่สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งขุดค้นพบเตาเผาขนาดใหญ่และวัตถุโบราณ  เครื่องปั้นดินเผา  ภาชนะเครื่องใช้ที่สำคัญ  ซึ่งเป็นร่องรอยความเจริญทางอารยธรรมในสมัยอยุธยา

          เตาเผาแม่น้ำน้อย  ตั้งอยู่ในอำเภอบางระจัน  โดยกรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันสองหลังโดยหลังแรกเป็นอาคารโปร่งโล่ง มีเตาเผาจำนวน 2 เตา สามารถเดินชมโดยรอบเตาเผาได้มีนิทรรศการให้ข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ส่วนอาคารหลังที่ 2 จัดแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาที่มีการขุดค้นพบในแหล่งนี้  เตาเผาแม่น้ำน้อยนับว่ามีขนาดใหญ่มากที่สุดมีความยาวถึง 14 เมตรเคยใช้เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผา อาทิ ไห อ่าง ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น ความสำคัญของเตาเผาแม่น้ำน้อยทางประวัติศาสตร์  คือ  ผลิตท่อประปาดินเผา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์  มีหลักฐานการค้นพบที่พระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นการวางระบบประปาครั้งแรกในสมัยอยุธยาและไหสี่หู  ภานะดินเผาที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ในสมัยนั้น  คือเป็นไห มี หู 4 อันรอบปากไห มีการสันนิษฐานว่าใช้ร้อยเชือกปิดปากไห  ใช้บรรจุสินค้าส่งขายไปในดินแดนต่างๆทั่วโลก

 

ตัวอย่างท่อประปาดินเผาแบบกลม

เตาเผาจำลอง

          เตาเผาแม่น้ำน้อย แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญ  แต่เป็นร่องรอยความเจริญทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สร้างเตาเผาขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในสมัยอยุธยา เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญให้กับบ้านเมือง  รวมทั้งสร้างความเจริญในการค้าขายสินค้าไปยังต่างแดนตั้งแต่อดีตกาล  จึงเป็นสถานที่สำคัญของชาวสิงห์บุรีที่ควรภาคภูมิใจ  อนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้

เตาเผาที่มีการขุดค้นพบ  ขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด ภายในมีภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆให้สามารถศึกษา   และมีป้ายนิทรรศการให้ความรู้  

เรียบเรียงโดย                      

นางสาวปาริชาติ  ด่านสุขณรงค์

4,825 views

0

แบ่งปัน