คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ฟั่นด้ายตีนกา

ประเพณีลอยกระทงสายเมืองตาก

ฟั่นด้ายตีนกา

มีตำนานเล่ากันว่า ในอดีตกาลมีสามเณรน้อยนิสัยชอบซุกซน วันหนึ่งได้ยิงไก่ วัว เต่า และพญานาคตาย จึงเกิดสำนึกในบาปที่ตนกระทำมาตลอด จึงอธิษฐานกับพวกสัตว์ต่างๆ ว่า ถ้าได้เกิดในชาติหน้าขอให้ได้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน

 

ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีต้นไทรเป็นที่อาศัยของกาเผือกสองตัวผัวเมีย ออกไข่มา ๕ ฟอง วันหนึ่งท้องฟ้ามืดครึ้มได้พัดเอาไข่ ๕ ฟอง ตกลงในแม่น้ำและลอยไปติดชายหาด แล้วไข่ทั้ง ๕ ฟอง ก็แตกออกมาเป็นเด็กทารก ๕ คน คือ เณรน้อย ไก่ เต่า วัว และพญานาค ตามที่เคยอธิษฐานไว้นั้นเอง

 

ส่วนกาเผือกสองตัวผัวเมีย เมื่อตายลงไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ จึงได้มาเข้าฝันทารก ๕ คน ว่าหากอยากเห็นหน้าและระลึกถึงพ่อแม่ “จงฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกาแล้วลอยแม่น้ำคงคาไป” และต่อมาทารกทั้ง ๕ คน ก็ได้สำเร็จอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ด้วยความเชื่อตามตำนานที่เล่าขาน จึงมีการฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกาใส่กระทงเพื่อบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในประเพณีการลอยกระทงสายสืบมาจนทุกวัน

 

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดมีรูปแบบงานลอยกระทงที่โดดเด่น โดยการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นกระทง เนื่องจากคนเมืองตากนิยมรับประทาน “เมี่ยง” ซึ่งขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทำเมี่ยง ส่วนกะลามะพร้าวจะถูกทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก

 

ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง หรือ วันลอยกระทง ชาวบ้านจึงได้ทดลองนำกะลาด้านที่ไม่มีรูมานำกะลามาขัดถูจนสะอาด  ตกแต่งลวดลายสวยงาม  ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อเทียนขี้ผึ้งซึ่งนำมาจากเทียนจำนำพรรษา กลายเป็นกระทงกะลาที่สวยงาม ประกอบเข้ากับแม่น้ำปิงช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดตากมักจะเกิดสันทรายใต้น้ำเกิดเป็นร่องน้ำ เมื่อนำกระทงกะลาลงลอยก็จะไหลไปตามร่องน้ำทำให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่องจนสุดสายตา

          

 

ที่มาข้อมูล : https://www.m-culture.go.th/tak/ewt_news.php?nid=800&filename=index

ภาพจาก https://www.facebook.com/กระทงสายเมืองตาก และ https://www.winnews.tv/news/25284

2,739 views

0

แบ่งปัน