คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แม่นางด้ง

แม่นางด้ง

                 ภูมิหลัง

                 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวฟากท่า เป็นสิ่งที่สั่งสมมาช้านาน ถึงการนำอุดมการณ์แห่งความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเข้าใจ และการอยู่ร่วมกัน ในกลุ่มชนอย่างผาสุก มาใช้ได้อย่างเหมาะสม แนบเนียน ในชีวิตประจำวัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย และไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยืดหยุ่น รักสงบ มีความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการละเล่นพื้นบ้านมาเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

                  ความเชื่อ

                   การเข้าทรงนางด้ง หรือผีนางด้ง เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่สำคัญของคนไทย มิใช่เรื่องไร้สาระกิจกรรมทุกกิจกรรม ล้วนแฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งของสังคมและวัฒนธรรม ในเกือบทุกภาค ที่มีอาชีพทำไร่ ทำนา ที่ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า ประชาชนในหมู่บ้านได้รื้อฟื้นประเพณี การละเล่นพื้นบ้านที่หายสาบสูญไปนับครึ่งศตวรรษ กับคืนมาด้วยความรัก และความสามัคคีของคนในหมู่บ้านได้อย่างน่าชื่นชม

                 อัตลักษณ์ที่โดดเด่น

                 การละเล่นแม่นางด้ง วัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลบ้านเสี้ยว นิยมทำเมื่อยามฝนแล้ง  เพื่อขอฝนจากฟ้าให้ตกลงมา ให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และให้ฝนจากฟ้าตกต้องตามฤดูกาล โดยแม่ม่าย จะทำหลักเสี่ยงทายไปสองหลัก คือหลักแล้งและหลักฝน

                วัสดุการละเล่นแม่นางด้ง

                 ๑. กระด้งที่สานจากไม้ไผ่ของแม่หม้าย

                 ๒. ไม้คานของแม่หม้าย

                 ๓. ขัน

                 ๔. ดอกไม้ประดับกระด้ง

                 ๕. หลักเสี่ยงทายสองหลัก

                 เครื่องแต่งกายของผู้รำ ใส่ผ้าซิ่นหมากไม่ต่อตีน เสื้อหรือผ้าขาวม้า ผ้าสไบ

                  วิธีการแสดง

                   ใช้สถานที่ที่เป็นลานกลางแจ้ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง มักจะเล่นในวันตรุษสงกรานต์ ตอนกลางคืน และในวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เล่นติดต่อกันจนฝนตก ในการละเล่นนี้ผู้เล่นจะประกอบด้วย ผู้เชิญผีนางด้งเป็นผู้หญิง ๒ คน ผู้ร้องเป็นผู้ที่ดูการละเล่น โดยมีแม่หม้ายอัญเชิญเทวดาผีนางด้งมาถือคนจับกระด้ง มีเนื้อเพลงร้องรำกันอย่างสนุกสนาน คนถือกระด้งจะฝาดกระด้งกับหลักเป็นครั้งๆ ถ้าแล้งมากจะฟากหลายครั้ง เพื่อให้ฝนตกลงมา ชาวบ้านจะช่วยร้องรำทำเพลงหลายๆ รอบ ถ้าฝนตกลงมา ก็จะอัญเชิญเทวดาผีนางด้งออกมา โดยใช้น้ำมนต์หรือน้ำหอม ที่เสกไว้โดยพ่อหม้าย

                   บทร้องการเล่นผีนางด้ง

                   นางด้งเอยเข้าผ่าระหง กระด้งแม่ม่าย เขาถากเปลือกแดง เขาแทงแมงเม่า ขอเชิญพระเจ้ามาเข้านางด้ง (ร้องซ้ำไปเรื่อย ๆ )

                   นางด้งเอย...ละป่าระหง ...กระด้งใหม่ๆ ...ของฝัดเครื่องแกง...ข้าวแดง แมงเม่า...กระด้งฝัดข้าว ออกมาพึกๆ...ออกมาผายๆ...ขอคืนกาย มาเข้านางด้ง...ขอเชิญพระเจ้า มาเข้านางด้ง...ร้องซ้ำไปซ้ำ มาอยู่หลายรอบ            

                  ความเยือกเย็นของน้ำเสียงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ อุปกรณ์ที่สำคัญคือ กระด้งและสากตำข้าว ของแม่ม่าย มีข้อพิเศษ คือต้องไปเอาของสองสิ่งมาโดยไม่บอกให้เจ้าของทราบ คือขโมยมานั่นเอง การเข้าทรงหญิงเข้าทรงจะนั่งอยู่ตรงกลาง มีผู้ช่วยนั่งอยู่ตรงหน้า ในระหว่างสากทั้งสอง นำกระด้ง หุ้มด้วย ผ้าขาวม้า เมื่อไหว้ครูและเชิญวิญญาณมาเข้าทรง ท่ามกลางเสียงเพลงที่เยือกเย็นแต่แฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่น ในความเชื่อเรื่อง ทรงเจ้า เข้าผีของพวกเขา เมื่อวิญญาณมาเข้าแล้ว นางด้งจะเริ่มสั่นไปทั้งร่างกาย ผีจะเข้าทรงที่เรียกกันว่าผีนางด้ง จะเริ่มลุกขึ้นร่ายรำ อย่างสนุกสนาน และลืมความเหน็ดเหนื่อย ผีนางด้งจะนำกระด้ง ไปกวักใคร หรือไปแตะใคร ผู้นั้นจะต้องออกมารำ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาแห่งการมีส่วนร่วม ชาวบ้านจะร้องเพลงตีกลองให้จังหวะอย่างสนุกสนาน ในที่สุดก็จะ รำกันทั้งหมู่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคี ในหมู่คณะของชาวบ้าน เมื่อรำไปได้สักพักหนึ่ง ชาวบ้านที่รักสนุกอยากจะหยอก ผู้เข้าทรงนางด้ง ก็จะลักสากตำข้าวไปซ่อน นางด้งก็จะโมโห และไล่นำกระด้งไปฟาด ผู้นั้นจนต้องนำมาคืน หรือหาสากพบ นำความสนุกสนานครื้นเครงมาสู่หมู่บ้านนั้นอย่างกลมกลืนและแนบเนียน

                    ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในการดำเนินชีวิตของชุมชน

                 เมื่อสนุกสนานกันได้ครู่หนึ่ง ก็จะมีการทำนายทายทักเรื่องราวต่างๆ ในหมู่บ้านหรือเรื่องทั่วไปเพื่อช่วยในการสร้างความสามัคคี และความอบอุ่นใจ โดยมีชาวบ้านที่ร่วมกิจกรรมการเข้าทรงมาถามเรื่องที่ตนเองสงสัย หรือถามเรื่องที่ทำความครึกครื้นในหมู่บ้าน อันเกิดความเข้าใจและเกิดกำลังใจ ให้ชาวบ้านในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต เมื่อเห็นว่า นางด้งสนุกสนานช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ไม่น่าเบื่อ ก็จะเชิญนางด้งออก ผู้เข้าทรงจะไม่ทราบเรื่องรางที่ตนเองเข้าทรงเลย และถามว่าเกิดอะไรขึ้น

                   องค์ประกอบที่บ่งบอกให้เห็นคุณลักษณะของศิลปะการแสดง

                  ๑ เครื่องดนตรี ๑ ชิ้น ประกอบด้วย กลอง

                  ๒ ผู้แสดง แม่หม้าย ๒ คน ผู้รำประกอบ ๑๐ คนเพลงแม่นางด้ง

            ทํานองเซิ้ง อีกบทหนึ่งที่เป็นที่นิยม

            ขับร้อง อ.ยงยุทธ แก้วบุญมา

           นางด้งเอย ฟ้าระหง กระดังไม้มาก กะสากไม้แดง จิแคงแมงไม้ กระด้งฝัดข้าว ลงมาถึก ๆ ลงมาพาย ๆ พื้นดินทรายให้แม่นางด้ง

โก้งโค้งกงเกวียน เวียนมานี้ได้สองสามรอบ รอบมานี้ได้สองสามที ฉัตรจุรีแมงหมี่จุราพาสาวหลง เจ้าดงไม้แมก มาฝิงแดดกับแม่สาวเอย

มาเล่นลายกับพี่กับน้องฝนบ่ตกข้างไห่ตายคา ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้ง แห้งอยู่

ป่าโฮมควัน กบอยู่ฮูเกาหัวย่อก ๆ ปลาดุกก็แลนซนบั้ง ปลากั้งก็เล่นชนตอ ทิดจนจอเอากอกายไม้ ฟากฝ่ายก็เขียดแม่เหลือง เคียง ๆ นั้นก็เขียดแม่ด้อง อ่องป่องนั้นก็เขียนเจนา หลังซา ๆ พญาคันคาก

เชิญกะครกไม้บาก เชิญกะสากไม้แดง เชิญทั้งแองข้าวหมาก ฝนห่านี้ก็เทลงมา เทลงมาเป็นภูเขาย้อย ย้อยลงมาเป็นภูเขาหลวง เขาทักท้วงบ้านเมืองนารี ฝนห่านี้ก็เทลงมา เทลงมา เอ้าเทลงมา

มาแล้วเอยลงมาแล้วเอย (ซ้ํา) ลงไม่เป็นสักกระเด็นลง ลงไม่ได้ก็ไต่ไม้ลงมา มาแล้วเอยลงมาแล้วเอย มาแล้วเอยลงมาแล้วเอย

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

www.m.culture.go.th

youtube.com :  Prayud Sirioum

picgra.com

8,801 views

0

แบ่งปัน