คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เบียร์ไทย

เจ้าของเบียร์ไทยรายแรก

พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาโดยประกอบอาชีพการค้า  โดยกำเนิดพระยาภิรมย์ภักดีอยู่ในตระกูลขุนนาง บิดามีบรรดาศักดิ์คุณพระ พี่น้องและวงศ์ญาติล้วนแต่เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้แต่พระยาภิรมย์ภักดีเอง เมื่ออายุ ๑๗ ปี ก็เริ่มอาชีพโดยการเป็นข้าราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการในสมัยนั้น)  ที่โรงเรียนสุนันทาลัย  ภายหลังออกจากราชการเป็นลูกจ้างพ่อค้าแล้วมาทำธุรกิจส่วนตัว ตั้งแต่รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ๆในระยะเวลา ๓๒ ปี นายบุญรอดก็เป็นพระยาภิรมย์ภักดี ไปต่างประเทศด้วยทุนตนเอง ๓ ครั้ง และครั้งที่ ๓ ไปทัวร์ยุโรปถึง ๔ เดือนเต็ม ทุกครั้งที่เดินทางมิใช่เพื่อ “การทัศนาจร”  หากไปดู “ช่องทาง” การค้า  เช่น โรงงานยาสูบ โรงงานน้ำตาล และโรงเบียร์ เป็นต้น

 

เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๓ พระยาภิรมย์ภักดี ตัดสินใจยื่นหนังสือขออนุญาตผลิตเบียร์ต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งมี พระยาโกมารกุลมนตรีเป็นเสนาบดีกระทรวงในสมัยนั้น พร้อมทั้งทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อขออนุญาตตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์ในพระนคร เนื่องจากเห็นว่า เบียร์เป็นสินค้าที่ชาวต่างชาติส่งเข้ามาจำหน่ายในสยามเป็นเวลาช้านานทำให้เงินตราในประเทศต้องไหลออกเป็นจำนวนมาก  หากคนไทยสามารถผลิตเบียร์ขึ้นได้เอง  ย่อมเป็นการป้องกันเงินตราไหลอกนอกประเทศทั้งยังขายได้ในราคาถูกกว่า โดยใช้ปลายข้าวเป็นวัตถุดิบแทนข้าวมอลต์และจำทำให้แรงงานไทยมีงานทำเพิ่มขึ้นด้วย

 

เมื่อพระยาภิรมย์ภักดีทำหนังสือทูลเกล้าฯถวายพระเจ้าอยู่หัว เรื่องก็เงียบหายไปจนถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๓ เสนาบดีกระทรวงคลังจึงเรียกไปเจรจาเรื่องเบียร์ เกี่ยวกับเรื่องกำแพงภาษีซึ่งตั้งไว้สำหรับเบียร์ในประเทศถึงลิตรละ ๖๓ สตางค์  และแผนผังโรงเบียร์ซึ่งต้องเสนอต่อเสนาบดีคลังเพื่อประกอบการพิจารณา  เนื่องจากเมืองไทยยังไม่เคยโรงเบียร์เลยแม้แต่โรงเบียร์เดียว จึงต้องเดินทางไปดูการทำเบียร์ที่ไซ่ง่อนตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง ตอนเย็นก็เชิญผู้จัดการกับนายช่างมา “ดินเนอร์” เพื่อเป็นการตอบแทน  วันรุ่งขึ้นก็ไปดูโรงเบียร์อีก เพื่อจดรายละเอียดต่างๆให้สมบูรณ์และได้ทราบจากนายช่างว่าเบียร์ไซ่ง่อนยังไม่ดีนัก เพราะในน้ำมีแร่เหล็กแยกธาตุเอาเหล็กออกเท่าไหร่ก็ไร้ผล  และนอกจากนี้ยังได้ความรู้ว่าน้ำเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้รสชาติของเบียร์เปลี่ยนไปด้วย  นายช่างยังให้รูปถ่าย รูปเขียนระบายศรี ตลอดจนแผนผังเครื่องจักรทำเบียร์แก่พระยาภิรมย์ภักดีอีกด้วย

 

เมื่อมีแผนผังโรงเบียร์ก็มีแล้ว  รายการละเอียดต่างๆก็มีพร้อมแล้ว แต่ปัญหาเรื่องคุณภาพของน้ำประปาเมืองไทยยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีแร่เหล็กหรือไม่  ในเวลานั้นในเมืองไทยยังไม่สามรถทำได้เพื่อความกระจ่างก่อนจะลงทุนจึงจำเป็นต้องส่งน้ำประปของไทยไปแยกธาตุที่ประเทศเยอรมันอันเป็นแหล่งเชี่ยวชาญในการผลิตเบียร์  รอผลการวิเคราะห์อยู่สองสามเดือน  พระยาภิรมย์ภักดีจึงทราบรายงานการแยกธาตุจากมหาวิทยาลัยฮานซ์ กรุงเบอร์ลินว่าน้ำประปาของไทยไม่มีแร่เหล็กมิหนำซ้ำลักษณะคล้ายน้ำในเมืองมิวนิค  ซึ่งทำเบียร์ได้อย่างวิเศษ  หลังจากพระยาภิรมย์ภักดีทราบว่าน้ำประปาเมืองไทยทำเบียร์ได้แล้ว  แผนผังโรงเบียร์ก็มีแล้ว  แต่คำอนุญาตยังไม่ผ่านมาจากกระทรวงการคลัง  เพราะเรื่องยังอยู่ที่ฝรั่งที่ปรึกษากระทรวงการคลัง แล้วยังมีข่าวว่าจะยังไม่อนุญาตอีกด้วย  แต่ต่อมาในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๗๔  พระยาโกมารกุลมนตรี  ได้เรียกพระยาภิรมย์ภักดีไปบอกว่า  รัฐบาลจะอนุญาตให้ทำเบียร์ได้แต่ไม่ใช่ผูกขาด    และต้องเสียภาษีลิตรละ ๑๕ สตางค์นอกจากค่าเครื่องผสมเบียร์และเครื่องจักร  ซึ่งจะต้องเสียภาษีอีก ๒๕ เปอร์เซ็นต์  

 

หลังจากพระยาภิรมย์ภักดีได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔  แล้ว ทรงแนะนำเรื่องการซื้อเครื่องจักรว่า  ควรซื้อของใหม่ ซึ่งแม้จะมีราคาแพงกว่าของเก่า  แต่ต่อไปจะถูกกว่า  ทั้งยังทรงตักเตือนมีความระมัดระวังอย่าให้เสียรู้ฝรั่งในการเดินทางไปต่างประเทศ  และในที่สุดคำร้องขอตั้งโรงเบียร์ได้ประสบผลสำเร็จ หลังจากติดต่อมาหนึ่งปีเต็ม  และได้ต่อรองเรื่องภาษีเบียร์กับรัฐบาลไทย  โดยกระทรวงและกรมสรรพสามิตได้อนุญาตให้อำมาตย์เอก พระยาภิรมย์ภักดี  ตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์ได้ โดยกำหนดอัตราภาษีไว้ปีแรกลิตรละ ๑ สตางค์ ปีที่ ๒ ลิตรละ ๓ สตางค์  ปีต่อไปรัฐบาลสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเก็บตามที่เห็นสมควร  วันที่ตกลงกันนี้คือ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔  

 

ครั้นวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เจ้าคุณภิรมย์ภักดีก็ออกเดินทางไปยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อจัดหาซื้อเครื่องจักรทำเบียร์มาถึงเมืองมาเซล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน  พอวันที่ ๑๙ ก็ออกเดินทางไปประเทศเยอรมนีเพื่อดูโรงงานทำเบียร์และหาซื้อเครื่องจักรทำเบียร์ด้วย  ต่อมาเกิดการปฏิวัติสยามในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  สาเหตุทางการเมืองส่งผลทางการค้าชะงักงันไปหมด มีข่าวหนังสือพิมพ์เยอรมันลงข่าวการปฏิวัติในกรุงเทพฯ ทูลกระหม่อมบริพัตรถูกจับ  เจ้าคุณภิรมย์ภักดีต้องระงับการประมูลชั่วคราว  แล้วต้องตระเวนไปยังประเทศต่างๆที่มีโรงเบียร์และโรงงานสร้างเครื่องจักรต่างๆ ไปยังเมืองเบอร์ลิน อัมสเตอร์ดัม เฮก ลอนดอน เบลเยี่ยม และ เวนิส  เมื่อได้ข่าวว่ารัฐบาลใหม่ไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า  การเปิดรับประมูลเครื่องจักรทำเบียร์ก็เริ่มกลับมาอีก   

 

รัฐบาลใหม่ก็ตกลงอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์จากกรมสรรพสามิตได้ในวันที่๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖  เสียค่ามัดจำรายปี ๒,๐๐๐ บาทต่อปี  และเสียภาษีลิตรละ ๑๐ สตางค์ โรงงานเบียร์มีที่ตั้งที่บางกระบือ โดยเช่าที่ดินของเจ้าพระยารามราฆพ  โรงเบียร์เริ่มปลูกตามแผนผังของบริษัทเมี้ยค  โดยบริษัทคริสเตียนนีแอนด์นิลสันเป็นผู้ก่อสร้าง เดิมจะใช้ชื่อว่า บริษัทเบียร์สยาม แต่เมื่อมีผู้จัดการธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ทักว่า อะไรๆก็สยาม เจ้าพระยาภิรมย์ภักดีจึงใช้ชื่อตนเองเป็นชื่อบริษัทเบียร์แห่งแรกในเมืองไทย จึงมีชื่อว่า "บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด"  

 

2,092 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร