คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

"หงอคาขี่"

ความเอื้ออาทรที่กำลังปิดตาย

ถ้ามาเดินย่านเมืองเก่าภูเก็ต หลายคนคงได้มีโอกาสเดินลอดทางเดินซุ้มโค้งรูปเกือกม้า ที่ชวนให้นึกว่ากำลังเดินอยู่ในอาคารสมัยกรีกโรมันที่ไหนสักแห่ง ทางเดินเหล่านี้เรียกว่า “หง่อคาขี่” ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรและภูมิปัญญาในการวางผังเมืองของคนในอดีต ที่นับวันจะถูกปิดตายไปเรื่อยๆ

“หง่อคาขี่” หรือ “หง่อกากี” เป็นคำที่มาจากภาษาภาษาจีนและมลายู “หง่อ” เป็นภาษาจีน แปลว่า 5 “กากี” เป็นคำภาษามลายู แปลว่า ทางเดิน นอกจากนี้คำว่า “กากี” ยังเป็นมาตราวัดระยะในการสร้างอาคารของนายช่างจีน ความยาว 1 กากีจะเท่ากับความยาว 1 ศอกตามมาตรตราวัดไทยและจะเท่ากับ 1 ฟุต ของมาตราวัดของอังกฤษ “หง่อคาขี่” จึงหมายถึงทางเดิน 5 ฟุตที่ที่ทุกบ้านเว้นไว้สำหรับเป็นทางเดินเชื่อมต่อหน้าบ้านทุกหลังให้สามารถเดินได้ตลอดถึงกัน ถือเป็นความพิเศษทางสถาปัตยกรรมของตึกเก่าภูเก็ต

“หง่อคาขี่” ทำไม่ต้องมี?

หง่อคาขี่ เป็นลักษณะอาคารตามข้อกำหนดของประเทศเจ้าอาณานิคม ทางเดินเท้า 5 ฟุต เป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยกัปตันสแตม ฟอร์ด ราฟเฟิลล์ชาวอังกฤษ ใช้ในประเทศสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2365 โดยคณะผู้บริหารของรัฐบาลประเทศอังกฤษระบุให้ตึกแถวที่มีระเบียงยื่นล้ำออกมานอกอาคาร พื้นที่ส่วนที่อยู่บริเวณด้านหน้าของตึกแถวชั้นล่างจะต้องมีขนาดความกว้างอย่างน้อย 5 ฟุต สิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ปรากฎแก่ตึกแถวในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์

ภูเก็ตเป็นเมืองหนึ่งในคาบสมุทรมลายูที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับมาเลเซียโดยเฉพาะเกาะปีนังผ่านการซื้อขายดีบุก ความเจริญในด้านต่างๆ ของภูเก็ตอิงอยู่กับเกาะปีนังเป็นสำคัญ มีการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่นำไปสู่การแลก รับ ปรับ เปลี่ยน ทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน รูปแบบการสร้างอาคารของภูเก็ตก็ถือเป็นหนึ่งในผลผลิตของการ แลก รับ ปรับ เปลี่ยน ทางวัฒนธรรมระหว่างภูเก็ตและเกาะปีนัง จึงไม่ต้องแปลกใจที่ตึกภูเก็ตจะมีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตึกในเกาะปีนังรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า หงอคาขี่ ด้วยเช่นกัน

มากว่าการรับรูปแบบ

ไม่ใช่เพียงเรื่องของการรับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น การสร้างหง่อคาขี่ถือเป็นสิ่งที่เกิดจากความเอื้ออาทร ความร่วมมือร่วมใจกันของเจ้าของบ้านในการสละพื้นที่หน้าบ้านของตัวเองเป็นทางเท้าให้กับผู้สัญจรไปมาได้หลบแดดหลบฝนและถือเป็นภูมิปัญญาในการวางผังเมืองของคนในอดีต เพื่อให้สอดรับกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีของเกาะภูเก็ต

ปัจจุบันหง่อคาขี่ที่เคยเชื่อมหน้าบ้านถึงกันทุกสายถนนได้ถูกปิดลง กลายเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล แม้ว่าจะมีทางเท้าเข้ามาแทนที่ แต่ก็ไม่อาจชดเชยคุณค่าของหง่อคาขี่ ทางเดิน 5 ฟุตที่แสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรและภูมิปัญญาาในการวางผังเมืองของคนในอดีตได้ ในอนาคต “หง่อคาขี่” อาจกลายเป็นเพียงเรื่องเล่าที่รอวันลืม

 

4,755 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดภูเก็ต