คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศรัทธาชาวอู่ไท

อุทัยธานีลุ่มน้ำสะแกกรัง

"อู่ไท"  คือ  ชื่อแรกเริ่มเดิมทีของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ตอนใต้สุดของภาคเหนือ หรือบางคนก็อาจจะบอกว่าอยู่ตอนบนของภาคกลาง อุทัยธานีมีแม่น้ำสายสำคัญผ่ากลางจังหวัดคือ แม่น้ำสะแกกรัง ที่ไหลลงมาจากต้นแม่น้ำแม่วงก์บนเอกเขาถนนธงชัย ก่อนจะไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทก็เป็นอันสิ้นสุด คำว่าสะแกกรังนี้มีที่มาอยู่ 2 ทาง บ้างว่าแต่ก่อนมีต้นสะแกยืนต้นกลางหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกว่าสะแกกลาง พอคนจีนเข้ามาพูดไม่ชัดก็เลยเพี้ยนเป็นสะแกกรังจนถึงปัจจุบัน แต่บ้างก็ว่าต้นสะแกที่ว่านี้คือต้นเถาสะแกวัลย์ เป็นพืชล้มลุกริมน้ำ ต้นไม้ชนิดนี้ชอบพันต้นไผ่ จนเกรอะกรัง นานเข้าคนจึงเรียกพื้นที่ตรงนี้สะแกกรัง แต่ไม่ว่าจะที่มาทางใดก็ล้วนแต่กล่าวถึงต้นไม่ที่ชื่อต้นสะแกทั้งสิ้น

 

จังหวัดอุทัยธานีมีเกาะกลางแม่น้ำสะแกกรังอยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า เกาะเทโพ เป็นเกาะขนาดใหญ่ ถึงกับกล่าวอ้างกันว่าเป็นเกาะน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งใหญ่ที่สุดจริงหรือไม่นั้นด้วยความรู้อันน้อยนิดเท่าที่มีอยู่ตอนนี้นั้นตอบไม่ได้ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าความกว้างใหญ่ของเกาะนั้นเกินกว่าที่ตาทั้งสองจะเก็บขอบเขตได้หมด บนเกาะแห่งนั้นมีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่งชื่อว่า วัดอุโปสถาราม หรือที่เรียกกันอย่างลำลองว่า วัดโบสถ์ ต้องเดินข้ามสะพานปูนจากตลาดจากตลาดตัวเมืองเข้าไป ระหว่างทางที่เดินข้ามสะพานก็มีเรือเอี้ยมจุ๊นทัวร์หลายลำแล่นผ่าน เมื่อผ่านสะพานทุกคนจะต้องยกมือทำสามเหลี่ยมเหนือหัว คนละแวกนั้นเล่าว่าเป็นความเชื่อว่าจะไม่ทำของของมงคลในตัวเสื่อม เมื่อเดินลงสะพานถึงวัดโบสถ์มีอุโบสถและวิหารสร้างขึ้นคู่กันบนฐานไพทีสูงเกือบเท่าศีรษะ เมื่อพิจารณาจากสภาพพื้นที่ใกล้กับแม่น้ำก็พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นกลวิธีการสร้างของคนโบราณที่คำนึงถึงช่วงน้ำหลากน้ำท่วมนั่นเอง คนโบราณหากผู้ใดจะสร้างอุโบสถก็จะต้องสร้างวิหารด้วย เพราะตามความเชื่อคือจะสร้างอุโบสถอุทิศให้กับพ่อ และสร้างวิหารเพื่ออุทิศให้กับแม่ แต่ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถหรือวิหารธรรมเนียมที่มักปฏิบัติกันก็คือการสร้างสรรค์จิตกรรมบนฝาผนังเล่าเรื่องทั้งด้านในและด้านนอก ภาพเล่าเรื่องมีทั้งชาดก หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งโดยมากจะเป็นผู้คนในชุมชนในหมู่บ้านนั่นเอง

2,006 views

0

แบ่งปัน