คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ข้าวแคบเมืองลับแล

ข้าวแคบเมืองลับแล

“­­­­­อุตรดิตถ์แดนฝัน สวรรค์บนดิน” ประโยคนี้ปรากฏอยู่บนป้าย เราจะเห็นได้เมื่อเข้าสู่เขตจังหวัดอุตรดิตถ์

          เริ่มต้นการเดินทางจุดแรกคือ ซุ้มประตูเมืองลับแล สิ่งหนึ่งที่จะบ่งบอกว่าได้มาถึงเมืองลับแลแบบสมบูรณ์แล้วนั้นจะต้องเห็นซุ้มประตูเมืองลับแล สีเหลืองโดดเด่นมาแต่ไกล เหมือนเป็นปราการด่านแรก เรียกได้ว่าจุดนี้ใครมาถึงก็ต้องตะลึงในความสวยงามโดดเด่นของซุ้มที่ทุกคนต้องแวะถ่ายรูปบ้าง เดินชมบ้าง มองไปข้างซุ้มประตูมีประติมากรรมแม่ม่าย เป็นรูปหญิงสาวอุ้มลูกน้อย ข้างๆมีสามีนั่งคอตก ในมือถือย่ามใส่ขมิ้น บริเวณฐานจารึกข้อความ "ขอเพียงสัจจะวาจา" เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองลับแล

ข้าวแคบ ของดีเมืองลับแล

          จากนั้นดิฉันก็เดินทางเข้าสู่เมืองลับแลเพื่อตรงไปยังจุดมุ่งหมายนั่นก็คือตำบลฝายหลวง ซึ่งเป็นตำบลที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบพื้นเมือง มีการทำข้าวแคบแทบทุกหลังคาเรือนตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยในหน้าหนาวซึ่งเป็นหน้าเกี่ยวข้าว เวลาไปทำไร่ ทำนา ก็เอาข้าวแคบที่เก็บไว้มาห่อกับข้าวเหนียวประมาณ 2-3 พัน กินไประหว่างทางเพื่อให้อิ่มท้อง ไม่ต้องเสียเวลามานั่งกิน ด้วยความที่ตัวดิฉันเองเป็นคนลับแล แม้ว่าจะไม่ได้เกิดที่นี่แต่ดิฉันก็เติบโตที่นี่ ตั้งแต่เล็กจนโตก็เห็นคนในชุมชนมีอาชีพทำข้าวแคบ พูดได้เลยว่าถ้าเป็นคนลับแลแล้วไม่มีใครที่จะไม่รู้จักข้าวแคบ ชาวบ้านในอำเภอลับแลเล่าให้ดิฉันฟังว่า การทำข้าวแคบนั้นมีมานานแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานว่าน่าจะมากกว่า 100 ปีขึ้นไปและอาจมาพร้อมๆกับการมาสร้างเมืองลับแลของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารเมื่อประมาณพุทธศักราช 1,500 และที่เรียกว่าข้าวแคบนั้น เรียกตามลักษณะของปากหม้อที่ทำข้าวแคบ ตอนไล้แป้งซึ่งมีลักษณะแคบ

          “ข้าวแคบ” ที่เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวลับแลนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ เป็นแผ่นแป้งบางๆที่ได้จากการไล้น้ำแป้งที่ผสมงาดำ เกลือ หรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ลงบนผ้าสีขาวหรือสีดำที่วางบนปากหม้อดินขณะที่มีไอน้ำเดือดเหมือนการทำข้าวเกรียบปากหม้อ โดยแผ่นแป้งที่ได้มีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 นิ้ว เมื่อแผ่นแป้งสุกแล้วนำไปตากแดดจะได้ “ข้าวแคบแห้ง” สามารถฉีกรับประทานได้ทันทีเป็นอาหารว่าง หรือจะนำไปห่อกับเส้นหมี่คลุกกับเครื่องปรุง ที่ชาวลับแลเรียกว่า “หมี่คุก” (คลุก) ก็ได้ นอกจากจะรับประทานในรูปแบบของข้าวแคบแห้งแล้วแผ่นแป้งที่ไล้สุกสามารถรับประทานสดได้ นั่นก็คือ “ข้าวพัน”  ซึ่งได้จากการใช้ไม้ไผ่แบนๆ หรือชาวลับแลเรียกว่า ไม้หลาบ ม้วนแผ่นแป้งสุกแล้วรูดออก แต่ถ้าใส่ผักที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เช่น ถั่วงอก คะน้า กะหล่ำปลี ผักบุ้งยอดขาว หรือผักอื่นๆลงบนแผ่นแป้งสุก ปิดฝาไว้สักครู่ เมื่อผักสุกใช้ไม้หลาบพับแผ่นแป้งเป็นมุมห่อผักไว้ เหมือนกับการทำไข่ยัดไส้ จะเรียกว่า “ข้าวพันผัก”

”หนึ่งวัน หนึ่งเวลา บนเส้นทางแห่งความสุขในดินแดนลี้ลับแห่งนี้ยังคงน่าค้นหาไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกินกว่าจะบรรยายได้ ยังรอท่านอยู่ที่นี่”…

ภาพและบทความโดย

นางสาวช่อพฤกษา พันธ์มุง

27,123 views

0

แบ่งปัน