คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปราสาทหินเมืองต่ำ

                   ปราสาทหินเมืองต่ำ มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน (ราว พ.ศ.1550-1625) และมีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลัง (พ.ศ.1508-1555) ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถาน ตัวปราสาทประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนปรางองค์อื่นที่เหลืออยู่ก็มีสภาพไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก 

                     การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังประตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบ ประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบัน สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าปรางค์เหล่านี้ ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลาประทับนั่งอยู่บนหลังโคนนทิ และภาพพระวรุณทรงหงส์ตามลำดับ

                       ยอดปรางค์ ทำด้วยหินทราย หน้ากลุ่มปรางค์ยังมีวิหารเป็นอาคารก่ออิฐ 2 หลัง ตั้งหันหน้าตรงกับปรางค์ที่อยู่ด้านข้างทั้งสององค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบๆยาวต่อเนื่องกัน หรือที่เรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองชั้น มีซุ้มประตูอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทั้งหมดยกเว้นซุ้มประตูของประตูชั้นในด้านทิศตะวันตกก่อด้วยหินทรายสลักลวดลายอย่างงดงาม ตั้งแต่หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง ฯลฯ เป็นภาพเล่าเรื่องในศาสนาฮินดูและลวดลายที่ผูกขึ้นจากใบไม้ดอกไม้ หรือเรียกกันว่า ลายพันธุ์พฤกษา ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก เป็นลานกว้างปูด้วยศิลาแลง มีสระน้ำขุดเป็นรูปหักมุมตามแนวกำแพงอยู่ทั้ง 4 มุม กรุขอบสระด้วยแท่งหินแลงก่อเรียงเป็นขั้นบันไดลงไปยังก้นสระ  ขอบบนทำด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาค 5 เศียร ชูคอแผ่พังพานอยู่ที่มุมสระ

 

                       ปราสาทเมืองต่ำ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 044 - 66 6 251-2

                       การเดินทาง จากตัวเมืองบุรีรัมย์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2445 ถึงอำเภอประโคนชัย จากนั้นเลี้ยวขวาใช้ทางหลวง หมายเลข 24 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข 2177 (อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 8 กิโลเมตร)

ข้อมูลและภาพจาก : เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสุรินทร์ www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/100/43-ศรีสะเกษ.pdf

จัดหาข้อมูลโดย นางสาวสุวนันท์ ตระกูล

4,891 views

0

แบ่งปัน