คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปี๋ใหม่เมืองแป้

ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา

ประเพณีปีใหม่เมือง (ปาเวณีปี๋ใหม่เมือง) เป็นประเพณีที่ปรากฏในเดือนเมษายน หรือ เดือน 7 เหนือ ถือเป็นการเปลี่ยนศักราช และเป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่รวมกันเพื่อทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ และเล่นน้ำร่วมกัน  

จังหวัดแพร่จะเริ่มสงกรานต์ในวันที่ 13 เมษายน  ถือเป็น “วันสังขานต์ล่อง” เป็นวันแรกของกิจกรรมประเพณีปี๋ใหม่เมือง หลังเที่ยงคืนวันที่ 13 เมษายน จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (สังขานต์ คือคำเดียวกับ "สงกรานต์" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า "ก้าวล่วงแล้ว" ถือเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่า)  ชาวบ้านจะนิยมทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อเตรียมรับวันใหม่

 

วันที่ 14 เมษายน “วันเน่าหรือวันเนาว์” วันที่สองของประเพณีปี๋ใหม่เมือง จะเป็นวันที่ต้องเตรียมสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ทำบุญ  และตลอดทั้งวัน เด็กๆ บ่าว สาว ผู้เฒ่าผู้แก่ จะพากันไปขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย  คนแพร่มีความเชื่อเรื่องวันเน่าว่าไม่ควรด่าทอ สาปแช่ง หรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็นเป็นอัปมงคลไปทั้งปี

 

วันที่ 15 เมษายน “วันพระยาวัน”  วันที่สามของประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกหรือวันเปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ เช้าตรู่จะมีการทำบุญทางศาสนาและอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ เรียกว่า “ทานขันข้าว” (อ่านเสียงล้านนา “ตานขันข้าว”)  นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย และถวายช่อตุงปีใหม่  ช่วงสายหลังจากเสร็จพิธีวัดจะเป็นการรดน้ำดำหัวเพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ และช่วงบ่ายจะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ตามศรัทธาวัดต่างๆ  ในวันนี้จะเป็นวันที่ญาติมิตรซึ่งอยู่ต่างที่ต่างจังหวัดจะได้มีโอกาสพบปะกัน

 

วันที่ 16 เมษายน “วันปากปี” วันที่สี่ของประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันแรกของปี คนแพร่จะทำบุญเสาใจบ้าน ส่งเคราะห์บ้าน และพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน โดยในวันนี้จะนิยมกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายพ้องถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

 

วันที่ 17 เมษายน วันแห่ปี๋ใหม่เมือง “ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา”  เป็นงานใหญ่ของจังหวัดที่จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีสงกรานต์(ปี๋ใหม่) ที่เป็นเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวแพร่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยจังหวัดมีนโยบายให้คนแพร่ ”นุ่งผ้าหม้อห้อม ผ้าเมือง อู้กำเมือง กิ๋นอาหารพื้นเมือง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวแพร่ กิจกรรมที่สำคัญ คือ ขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถแกงคั่ว ของหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ชุมชน และเอกชน หลายสิบขบวน โดยใช้ถนนเจริญเมือง(ถนนหม้อห้อม) เป็นเส้นทาง และที่สำคัญของงาน คือ ทุกคนจะแต่งตัวด้วยชุดหม้อห้อม หรือผ้าพื้นเมือง จึงเรียกกันว่า “ถนนหม้อห้อม” กลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ทำให้เป็นที่รู้จักในช่วงเทศกาลสงกรานต์

 

ที่มาข้อมูลและเรียบเรียงจาก : https://th.wikipedia.org/  แล http://library.cmu.ac.th

ที่มารูปภาพ : https://www.facebook.com/phrae.tv

5,904 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่