คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผ้าทอไทยพวน

ผ้าตีนจกไทยพวน เป็นสิ่งที่คิดไม่ถึงว่าจะมีอยู่ในจังหวัดลพบุรี เนื่องจากการขาดช่วงขององค์ความรู้

            ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าทอที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดลพบุรีนิยมทอผ้ามัดหมี่สำหรับนุ่งในชีวิตประจำวัน หรือแลกเปลี่ยนกับของใช้อื่นๆ ต่อมาผ้ามัดหมี่ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดในตัวเมืองลพบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง จนปัจจุบันผ้ามัดหมี่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำจังหวัดอีกสิ่งหนึ่ง 

            ผ้ามัดหมี่ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ แต่ทว่าผ้ามัดหมี่ไม่ได้เป็นผ้าทอชนิดเดียวของชาวไทยพวนในอำเภอบ้านหมี่ หรือแม้กระทั่งชาวไทยพวนในอำเภออื่นๆ ของจังหวัดลพบุรี ในอดีตชาวไทยพวนทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนของตัวเอง นอกจากจะตั้งใจทอเพื่อที่ตัวเองจะได้มีผ้าที่มีคุณภาพดีไว้ใช้แล้ว การอวดฝีมือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ทอต้องใช้ความประณีตในการทอ ในอดีตชาวไทยพวนที่ฝีมือดีนิยมทอผ้าที่ต้องใช้กรรมวิธีพิเศษเพื่อให้ลูกหลาน หรือคนที่รักได้สวมใส่ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นเครื่องถวายเพื่อใช้สอยในพระพุทธศาสนา

            กรรมวิธีการจก และขิดเป็นกรรมวิธีที่ใช้รังสรรค์ลวดลายพิเศษบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นหมอนหน้าอิฐที่ใช้รับแขก หรือหนุนนอนในชีวิตประจำวัน หมอนเท้า หรือหมอนสามเหลี่ยมที่ตัดเย็บจากผ้าจกลวดลายดอกไม้ หอปราสาท หรือสัตว์นานาชนิด สำหรับเป็นเครื่องประกอบในกองบวช ใช้ในพิธีแต่งงาน เป็นของใช้สำหรับเจ้านาย และพระภิกษุผู้ใหญ่ หรือถวายเป็นพุทธบูชา หัวผ้าซิ่นสีแดง ซึ่งมีการขิดลวดลายดอไม้เป็นแถวสลับสีสวยงาม หรือแม้กระทั้งผ้าซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นตีนจกนี้เป็นของที่มีเฉพาะ ช่างทอที่มีฝีมือ มีความมานะเท่านั้นจึงจะทอไว้นุ่งเอง หรือสำหรับลูกหลาน สีแดงนิยมใช้เป็นสีพื้นของตีนผ้า ลวดลายจกจะใช้ฝ้ายที่ย้อมสีสดใส ซึ่งนิยมอยู่หลักๆ คือสีขาว ดำ แดง เหลือง เขียว คราม หรือน้ำเงิน และส้ม แต่หากมองภาพรวมแล้ว สีเหลืองจะเป็นสีที่กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของส่วนที่เป็นลายจก ลวดลายที่ใช้จกบนผืนผ้านั้น ไม่ต่างจากลวดลาวของชาติพันธุ์ลาวกลุ่มอื่นมากนัก อาจเป็นวัฒนธรรมร่วม หรือเกิดจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกัน และกัน หากแต่ผ้าซิ่นตีนจกมีขนบ โครงสร้างการวางลาย และการใช้สีที่ต่างจากชาติพันธุ์ลาวกลุ่มอื่นอย่างชัดเจน แต่เมื่อหลังจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้เกิดการปรับตัวในด้านการประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ และสังคม ช่างทอผ้าลดการทอผ้าประเภทที่มีกระบวนการซับซ้อน ใช้เวลานานในการผลิต เหลือไว้เพียงการทอผ้ามัดหมี่ที่มีตลาดรองรับมากว่า เพื่อที่จะได้มีรายได้คุ้มค่ากับเวลา และต้นทุน เมื่อจุดประสงค์ และระบบการผลิตเปลี่ยนไปเป็นแบบอุตสาหกรรม  ผ้าซิ่นตีนจกไทยพวนจังหวัดลพบุรีจึงหายไปตามกาลเวลาเหลือเพียงเรื่องเล่าจากปากช่างทอผู้เคยพบเห็นเท่านั้น 

            ปัจจุบันยังมีความพยายามที่จะรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอของไทยพวนโดยผู้สนใจรุ่นหลัง แต่การศึกษานั้นยังเป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยกำลังของพวกเขาเอง หวังว่าเรื่องเล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะได้รวบรวมเรื่องของผ้าตีนจกไทยพวนจังหวัดลพบุรีไว้

5,778 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลพบุรี