คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จุลกฐิน

กฐิน แปลว่า "ไม้สะดึง" คือ กรอบไม้หรือไม้แบบ สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ และเป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ 

 

"จุลกฐิน" หรือ "กฐินแล่น"

คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน เป็นกฐินที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มาก ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จ เลยเรียกว่า กฐินแล่น (เร่งรีบ ฟ้าว ต้องแล่น(วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล) เจ้าภาพผู้ที่จะคิดทำจุลกฐินเพื่อทอดถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่ง จะต้องมีบารมี มีพวกพ้องคอยช่วยเหลือ เพราะต้องเริ่มจากการนำฝ้ายแก่ที่อยู่ในฝักและมีปริมาณมากพอที่จะทำเป็นจีวรได้ผืนใดผืนหนึ่ง ทำพิธีสมมติว่า "ฝ้ายจำนวนนั้นได้มีการหว่านแตกงอก ออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝักแก่สุก เก็บมาอิ้วเอาเมล็ดออก ดีดเป็นผง ทำเป็นเส้นด้าย เบียออกเป็นไจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากให้แห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือแล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการนำไปทอดเป็นผ้ากฐิน"

เมื่อพระสงฆ์รับผ้าแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง พระภิกษุองค์ครองจะจัดการต่อไปตามพระวินัย หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำ ทุบ ซัก ตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บย้อม พับ ทับรีดเสร็จเรียบร้อยนำไปถวายพระภิกษุองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เสร็จการพินทุอธิษฐานแล้วจะมีการประชุมสงฆ์แจ้งให้ทราบ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดจะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีจุลกฐิน

 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินไม่มีกำลังมากพอ จะตัดวิธีการในตอนต้นออก โดยเริ่มตั้งแต่การนำเอา ผ้าขาวผืนใหญ่ มากะประมาณให้พอที่จะตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วนำไปทอด เมื่อพระภิกษุสงฆ์นำไปดำเนินการตามพระวินัยแวก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จ แล้วนำกลับไปถวายพระภิกษุองค์ครองเพื่อพินทุอธิษฐานต่อไป เหมือนวิธีทำที่กล่าวมาแล้วในการทำจุลกฐินเต็มรูปแบบ

อีกประการหนึ่งที่มีการทำ จุลกฐิน เนื่องจากกำหนดการ "กรานกฐิน" นั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้เพราะจะทำให้กฐินเดาะ(สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำกฐินมาถวาย ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน 12 หรือหมดฤดูกฐิน มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่างๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จ บางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชนในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน การร่วมมือกันจัดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ กว่าจะเป็น จุลกฐิน ได้จะต้องใช้ผู้คนมากและมีความชำนาญเป็นพิเศษ กะเวลาได้ถูกจึงจะเสร็จทัน ขณะทำก็จะดูชุลมุนไปหมดเพราะต้องเร่งรีบให้ทัน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดสำนวนไทยเปรียบการทำงานที่ชุลมุนวุ่นวายเป็นโกลาหลเพื่อเร่งให้เสร็จทันตามกำหนดว่า "วุ่นเป็นจุลกฐิน"

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่องจาก

https://th.wikipedia.org

www.guideubon.com

คุณกนกวรรณ เอี่ยมงาน(site.google.com/aboutchiangmai)

www.chiangmai-cityofcrafts.com

www.pantip.com/user:paipaiphuart

           

20,255 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่