คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สังคมชุมชนหนองขาว

พัฒนาการทางด้านสังคมของชุมชนหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2500-2540

 

พัฒนาการทางด้านสังคมของชุมชนหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

.ศ. 2500-2540

นาย ธนพล หยิบจันทร์

ความนำ

          ชุมชนหนองขาวหรือตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ปัจจุบันสภาพสังคมของ บ้านหนองขาวกำลังเปลี่ยนไปตามสังคมสมัยใหม่ แต่ชาวบ้านยังคงสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ไว้ได้อย่างมาก

บ้านหนองขาวตั้งอยู่บริเวณชายขอบของที่ราบลุ่มอันเป็นช่องทางระหว่างที่สูงซึ่งขนานอยู่ทั้งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี บ้านหนองขาวถือเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่   ที่ราบบนเส้นทางดังกล่าวเป็นที่ราบขั้นบันได มีลำน้ำจากที่สูงด้านตะวันตกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกไหลมาหล่อเลี้ยง นับเป็นพื้นที่เหมาะสมในการทำการเกษตรและทำให้เกิดเป็นชุมชนขึ้นตามชายขอบที่สูงทั้งสองด้าน (เบญจรัชต์ เมืองไทย, 2543 : 16)

          ชุมชนซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณนี้มีพัฒนาการที่แตกต่างกันหลายยุคหลายสมัย โดยชุมชนที่มีขนาดใหญ่มักตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเพราะอยู่บนเส้นทางคมนาคม นอกจากนั้นยังพบชุมชนกระจายอยู่ตามที่ดอนที่ลุ่มและที่สูงด้านตะวันออก โดยมีบ้านทวนหรืออำเภอพนมทวนเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่น เนื่องจากเป็นจุดที่ลำน้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นลำห้วยทวนไหลสู่ที่ลุ่มซึ่งเชื่อมต่อไปยังเมืองอู่ทอง จึงอาจกล่าวได้ว่าบ้านดอนตาเพชร และท้องถิ่นพนมทวนถือเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นแถบนี้ บ้านหนองขาวจึงนับเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งอารยธรรมในสมัยพัฒนาการของบ้านเมืองในยุคแรกเริ่ม และการที่หนองขาวตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชุมชนเหล่านี้มีความสำคัญอยู่ทุกยุคทุกสมัย (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2540 : 24-26)

          หนองขาวเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเส้นทางสงครามระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งนับเป็นพื้นที่ชายแดนอ่อนไหวต่อการควบคุมของอำนาจรัฐ และมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่หลากหลายมานับตั้งแต่อดีต อาทิเช่น การเข้ามาของคนอินเดีย การเข้ามาของคนจีนในหนองขาว เป็นต้น

          การศึกษาของบทความชิ้นนี้ต้องการอธิบายถึงพัฒนาการของสังคมชุมชนบ้านหนองขาวในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2540 ที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 จนถึงการพัฒนาสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ว่าส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสังคมของคนชาวหนองขาวอย่างไร ซึ่งบทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพราะเป็นบ้านเกิดของผู้เขียนและพยายามอธิบายกว้างๆ โดยจะใช้เรื่อง อาชีพ ระบบสาธารสุขและวัฒนธรรมความเชื่อ เป็นตัวอธิบาย ซึ่งอาจทำให้เนื้อหาอาจจะไม่ครอบคลุมเพียงพอไปถึงสังคมด้านอื่นๆ เนื่องจากความรู้อันจำกัดของผู้เขียน

สภาพสังคมของชุมชนหนองขาว

อาชีพ

          อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพสำคัญของบ้านหนองขาวตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้า พื้นดินอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูก ข้าวได้ผลดีกว่าพื้นที่อื่นๆ ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรีมา ตั้งแต่อดีต ดังปรากฏหลักฐานใน ตามเสด็จไทรโยค พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวว่า ชุมชนรอบๆ ต้องซื้อข้าวจากบ้านหนองขาว

จนหมากพลูอยู่ข้างจะขัดสน       แม่กลองต้องทนส่งมาถึงนี่

นาเข้าทาไม่ใคร่จะได้ดี              กินเข้าที่หนองขาวแลบ้านน้อย

มักวิบัติขัดข้องด้วยน้าท่า           เข้าปลาบ่ใคร่ดีมีบ่อยบ่อย

ต้องกินเข้าต่างเมืองฝืดเคืองคอย  เข้านับร้อยเกวียนมีที่เข้ามา

                             (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2511: 62)

          สะท้อนให้เห็นถึงว่าชุมชนหนองขาวมีการทำนามาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง เมื่อมาถึงแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ที่เน้น การลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infra-structure) ของประเทศ ได้แก่ การสร้างทางหลวงสายประธาน การพัฒนาเส้นทางรถไฟ การปรับปรุงการประปา และการสร้าง เขื่อนเพื่อการชลประทานและการผลิต ซึ่งการปรับปรุงการปัจจัยพื้นฐานเป็นผลให้การทำนาได้สะดวกมากขึ้น ส่งผลให้สภาพสังคมของชุมชนหนองขาวนั้นเปลี่ยนไป โดยในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องทุ่นแรง ชาวหนองขาวนิยมใช้วัวไถนาและนวดข้าว แต่นับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 [1] การทำนาก็ขยายตัวขึ้น เช่น นาทุ่งอาศัยน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ จึงสามารถทานาได้ปีละ 2 ครั้งตามการปล่อยน้ำของ กรมชลประทาน (ปานวาด มากนวล, 2556 : 31) มีการใช้เครื่องจักรแทนกำลังคน ทำให้จากแต่เดิมในการทำนาจำเป็นต้องใช้กำลังคนในขั้นตอนต่างๆ บ้านหนองขาวจึง มีธรรมเนียมการช่วยเหลือกันในหมู่ญาติมิตร เรียกว่า “การเอาแรง” กล่าวคือ เมื่อมีชาวบ้านจะเกี่ยวข้าว คนในครอบครัวนั้นจะเดินไป “ขอแรง” จากครอบครัวอื่น ภายหลังเมื่อบ้านที่เคยมาเอาแรงไว้จะเกี่ยวข้าวบ้าง บ้านที่ไปขอแรงในตอนแรกก็จะไปช่วยเหลือเป็นการตอบแทนน้ำใจกัน ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้ธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมาก็ค่อยๆหายไป และนำมาสู่ธรรมเนียมใหม่ๆ ที่เริ่มมีความเป็นปัจเจกมากยิ่งขึ้น เช่น เจ้าของนาจะติดต่อจ้างคนที่มีรถไถและรถเกี่ยวข้าวไว้ เมื่อถึงเวลาไถพลิกหน้าดินหรือหว่านเมล็ดข้าว เจ้าของนาเพียงอยู่เฝ้า คนที่มารับจ้างในระหว่างทำนาเท่านั้น เป็นต้น

             การพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้พยายามผลักดันให้ไทยในช่วงนั้น มีการเจริญเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นยุคทองทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่โดดเด่นที่สุดของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ คือ นโยบายการเปลี่ยนสนามรบเป็นตลาดการค้า ซึ่งนโยบายดังกล่าว เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ที่สร้างความมั่นใจให้ต่างชาติเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้รับความสำเร็จอย่างสูง จนได้รับการกล่าวขานว่า "ไทยกำลังจะก้าวสู่ความเป็น NIC" [2] เป็นการเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด (จารวี โกมลดิษฐ์, 2544:5) ทำให้จากเดิมที่ชาวบ้านมุ่งแต่ทำเกษตรกรรมหันไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองหรือต่างจังหวัดมากขึ้นเพราะได้เงินเดือนดีกว่า (นงนุช กระต่าย, สัมภาษณ์) ทำให้คนในชุมชนเริ่มมีความปัจเจกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการที่ชาวชุมชนหนองขาวประกอบอาชีพอื่นๆ ที่นอกจากการทำนา มากยิ่งขึ้น เพราะในช่วงเวลานั้นที่ดิน (นา) มีราคาสูงขึ้น ทำให้ชุมชนชาวหนองขาวมีการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก (ลำยอง กระต่าย , สัมภาษณ์) เห็นได้จากการเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ อย่าง อาชีพค้าขายโดยแต่เดิม ชาวหนองขาวส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก และจะนำผลผลิตทางการเกษตรไปเร่ขายเฉพาะช่วงว่างเว้นจากการทำนา สินค้าที่นาไปขายมักเป็นผลผลิตที่เหลือจากบริโภคเอง เช่น ตาลโตนด ผลไม้จากไร่ ของป่า เป็นต้น และหลังจากทศวรรษ2530 เป็นต้นมาพบชุมชนหนองขาว ประกอบอาชีพค้าขายทั้งที่ขายแบบหาบเร่และเปิดร้านขายของชำ เช่น ร้านป้าไทย ร้านป้าผอง ร้านป้าพร [3] เป็นต้น รวมทั้ง ในชุมชนมีตลาดนัด 2 แห่ง คือ ตลาดนัด “กม. 12” และตลาดนัดหน้าวัดอินทาราม ตลาดนัดทั้งสองมีทั้งชาวบ้านที่นาผลผลิตในครัวเรือนมาขายและพ่อค้าหาบเร่ที่มาจากต่างถิ่น รวมทั้งคนในชุมชนหันไปทำอาชีพรับจ้างในโรงงานในตัวเมืองกาญจนบุรีและต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

 

การรักษาโรคและการสาธารณสุขของชุมชนหนองขาว

          การรักษาโรคทั่วไปของชาวหนองขาวมักเริ่มต้นจากการพึ่งพาตนเองในครัวเรือนก่อน ยาแผนโบราณที่เป็นที่รู้จักในบ้านหนองขาวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยากลางบ้านและยาผีบอก “ยากลางบ้าน” คือ ยาที่ได้จากสิ่งที่มีอยู่ในบ้าน ในครัว หรือในสวนครัว เช่น หมาก ใบพลู ปูน ขิง ข่า ตะไคร้ ใบโหระพา มะกรูด มะนาว สับปะรด เป็นต้น ยากลางบ้านที่ชาวหนองขาวใช้บรรเทาความเจ็บป่วยบ่อยๆ เช่น ใบกะเพราขยี้หรือตาผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาท้องแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใบต้น “ลูกเขยตายแม่ยายปรก” ตาผสมกับเหล้าขาวหรือน้าเล็กน้อย ใช้ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก่นขนุนนาไปต้มน้ำดื่มเพื่อแก้ไข้ทับฤดู เป็นต้น ยากลางบ้านเหล่านี้มักใช้กันเฉพาะครัวเรือนบางครอบครัวอาจจะมีวิธีใช้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งที่หาได้ภายในบ้าน เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย คนเฒ่าคนแก่จะเป็นคนบอกวิธีใช้ยากลางบ้านให้แก่ลูกหลานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย ส่วน “ยาผีบอก” หมายถึง ยาที่ได้จากการฝันหรือเข้าทรง โดยผู้มาเข้าฝันหรือผู้เข้าทรงบอกตำรายาเพื่อเป็นการเอาบุญ เมื่อผู้ใช้หายจากโรคแล้ว ต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของตำรับ (ปานวาด มากนวล, 2556 : 41)

          การรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มมีบทบาทจริงจังก็ต่อเมื่อมีการขยายระบบสาธารณสุขจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคในช่วงปี พ.ศ. 2490-2500 คือหลังจากการตั้งสุขศาลาในชุมชนในช่วงแรกชาวหนองขาวยังไม่นิยมรักษากับ “หมอตำบล” [4] เพราะยาแผน ปัจจุบันมีราคาสูงเมื่อเทียบกับยาของหมอพื้นบ้าน แต่เมื่อเห็นว่ายาแผนใหม่รักษาโรคต่างๆ ได้จริง ชาวบ้านจึงหันไปรักษากับหมอตำบลมากขึ้น โดยเฉพาะความเจ็บป่วยรุนแรงอย่างไข้มาลาเรียและ อหิวาตกโรค ชาวบ้านที่รักษาหายแล้วจะบอกต่อๆ กัน ชาวหนองขาวสามารถเลือกว่าจะรักษากับหมอ ตำบลหรือรักษากับหมอพื้นบ้านตามเดิม ต่อมาเมื่อสร้างสุขศาลาโกวิทสุตคุณขึ้นในปี พ.ศ. 2491 และ มีหมอที่ราชการส่งมาประจำที่สุขศาลา ชาวหนองขาวก็สามารถเข้าถึงการบริการของการแพทย์แผน ใหม่ได้โดยตรง  และในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายขยายบริการสาธารณสุข เพื่อ รองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ (สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราช ประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 9, 2523: 91) สุขศาลาของบ้านหนองขาวจึง เปลี่ยนไปเป็นสถานีอนามัยตามนโยบายรัฐ ซึ่งก็ทำให้คนชุมชนหนองขาวหันมารักษาแพทย์แผนปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น  ประมาณช่วง พ.ศ. 2490-2520 ชาวบ้านหนองขาวเริ่มหันมาสนใจยาแผนปัจจุบันใช้แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมี “หนังขายยา” หรือบริษัทยามาเร่จำหน่ายยาพร้อมเปิดฉายภาพยนตร์ในหมู่บ้าน บริษัทยาที่ชาวบ้านยังจาชื่อได้ เช่นโอสถตรามือ เจดีย์ห้าชั้น โอสถสภา เป็นต้น ยาส่วนใหญ่ที่นามาขายมียาหม่อง ยาแก้ไข้ และยาแก้ปวดเป็นหลัก สถานที่ฉายภาพยนตร์จะอยู่ภายในวัดอินทาราม ก่อนฉายหนังแต่ละครั้งจะมีรถมาขับตระเวนประชาสัมพันธ์รอบๆ หมู่บ้านช่วงกลางวัน พอตกเย็น ชาวบ้านที่สนใจก็จะไปรวมกันที่วัด  (ปานวาด มากนวล, 2556 : 50) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขยายระบบสาธารณสุขที่ทำให้คนในชุมชนหนองขาวหันมาใช้ยาแผนปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่หก (พ.ศ. 2530-2534)  ทางด้านสาธารณสุขมีโรงพยาบาลอำเภอที่เปิดบริการแล้วถึงร้อยละ 92 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด และสถานีอนามัยร้อยละ 98 ของจำนวนตำบลทั้งหมด รวมทั้งการให้บริการสาธารณสุขมูลฐานได้ถึงระดับหมู่บ้าน ไม่ตำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนหมู่บ้านในเขตชนบททั่วประเทศ เช่นสถานบริการสาธารณสุข ต.ท่าม่วง ต่อมาเป็นสุขศาลาท่าม่วง และสถานีอนามัย กระทั่งเป็นโรงพยาบาลอำเภอท่าม่วง[5] ขนาด 10 เตียง และในปี 2534 เป็นต้น จึงทำให้เมื่อชาวชุมชนหนองขาวเจ็บป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยตนเองจึงมารักษาในโรงพยาบาลประจำอำเภอยิ่งมากขึ้น เช่น โรคไข้เลือดออก คลอดลูก เป็นต้น

 

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

          โดยบทความชิ้นนี้จะยกตัวอย่างพิธีการทรงเจ้าและการตั้งศาลของชุมชนหนองขาว เพื่ออธิบายเห็นเห็นถึงการปรับตัวของวัฒนธรรมในช่วง พ.ศ. 2500-2540 สำหรับประวัติความเป็นมาของการเข้าทรงและเจ้าที่มาเข้าทรงนั้นไม่สามารถระบุระยะเวลาที่แน่นอนของการเกิดขึ้นมาของการเข้าทรงในหมู่บ้านหนองขาวได้ แต่ประมาณว่าไม่ต่ำกว่า 80 ปี เพราะร่างทรงของเจ้าพ่อแม่รุ่นที่ 2 เริ่มเป็นร่างทรงเมื่อปี พ.ศ. 2481 ซึ่งชุมชนหนองขาวนั้นมีหลายศาลมาก เช่น ศาลพ่อแม่ ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง ศาลเจ้าพ่อลมบน เป็นต้น ซึ่งแต่ละศาลก็จะมี พิธีไหว้ครูประจำปี หลังจากร่างทรงผ่านพิธีครอบครูและมีการตั้งหิ้งเจ้าของตนแล้ว จึงนับได้ว่าร่างทรงนั้นเป็นร่างทรงที่สมบูรณ์และสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ตามมาก็คือ ในทุกๆปีร่างทรงต้องทำพิธีไหว้ครูซึ่งเรียกกันติดปากว่าการจัดงานปี พิธีไหว้ครูประจำปีเป็นพิธีที่แสดงความเคารพ และการบูชาเจ้าหรือเทพที่เป็นครูทั้งหลาย รวมไปถึงแสดงความเคารพบูชาเจ้าที่มาเข้าทรงในร่างทรงด้วย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพิธีไหว้ครูประจำปีนั้นนิยมทำกันในวันพฤหัสบดีเนื่องจากว่าเป็นวันครู ส่วนเดือนที่นิยมจัดไหว้ครูประจำปีคือ เดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 ซึ่งมักตรงกับเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม โดยเฉพาะเป็นช่วงหน้าแล้งซึ่งร่างทรงส่วนใหญ่จะมีเวลาว่างมากกว่าเดือนอื่น โดยชาวบ้านจะไปตั้งสำรับ (เครื่องบูชา) ในแต่ละศาล ซึ่งแต่เดิมเป็นพิธีที่เรียบง่ายในช่วงทศวรรษ 2500 อาจจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากหนัก แต่ที่เห็นได้คือการเริ่มมีเครื่องดนตรี เครื่องเสียงไฟฟ้า เข้ามาในงานประจำปี ซึ่งอาจสืบเรื่องของการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในช่วงนั้น แต่ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 2530 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง จะยกตัวอย่างดังนี้

          สำรับ ของที่อยู่ในสำรับ เมื่อก่อนเป็นขนมต้มแดงต้มขาว ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์ ขนมเปียกปูน ดอกไม้อะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นดอกเฟื่องฟ้า น้ำเปล่าใส่กระทง บายศรีปากชามเล็ก แต่ปัจจุบันสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ คนนิยมขนมต้มแดงต้มขาวและขนมเปียกปูนน้อยลงในการนำมาไหว้ กลับแทนที่ด้วยขนมขบเคี้ยวที่ขายตามร้านค้าและตลาด เช่น ฮานามิ ขนมปัง โดนัท เป็นต้น เนื่องจากมันสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาในการทำ ซื้อได้ง่ายตามร้านค้า

          ของแก้บนที่ชาวบ้านนำมาแก้บนในงาน ได้แก่ เงิน ชาวบ้านที่นำเงินมาแก้บนอาจจะนำมาให้เจ้าในงานปี ซึ่งพี่เลี้ยงจะเป็นคนคอยเก็บเงินไว้เพื่อเอาไว้ใช้เกี่ยวกับการทรงเจ้า เช่น ซื้อของประดับหิ้งเจ้า เสื้อผ้า ซ่อมบำรุงศาลและนำเงินเหล่านี้มาเลี้ยงคนที่มาในงานปี เช่น ซื้อน้ำดื่ม นอกจากเงินชาวบ้านก็ยังนิยมนำผ้า วงดนตรี ลิเก หนัง อาหาร เป็นต้น สิ่งที่เปลี่ยนไปคือในเรื่องของอาหาร เมื่อก่อนใช้เหล้าหมัก ซึ่งชาวบ้านจะทำกันเอง แต่ปัจจุบันนี้ของที่นำมาแก้บนเปลี่ยนมาเป็นเหล้าแม่โขง เบียร์สิงห์ บุหรี่ยี่ห้อต่างๆ โค้ก ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกระแสบริโภคนิยมอย่างเห็นได้ชัด ในขณะเดียวกันเจ้าก็ต้องปรับตัวไปตามกระแสของสังคมด้วยโดยการใช้ ดื่ม กินของทุกอย่างที่มีชาวบ้านนำมาแก้บน

          การเปลี่ยนแปลงไปของสำรับหรือของแก้บนนี้อาจเพราะการที่ชาวบ้านไม่รู้ถึงความหมายทางสัญลักษณ์ของขนมต่าง และการนำขนมขบเคี้ยวมาเป็นสำรับก็เนื่องจากสะดวก ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำ ซึ่งสะท้อนได้ถึงสังคมในปัจจุบันนี้ของชาวบ้านที่ต้องทำงานหาเงินกันมากขึ้น มีเวลาทำงานบ้านน้อยลง  ต้องการความรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531-2534 เป็นต้นมา ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการตั้งโรงงานมากขึ้น จากเดิมที่แต่การทำเกษตรกรรมที่ชาวบ้านจะมีเวลามากกว่าปัจจุบัน เมื่อมีโรงงานคนในหมู่บ้านก็ออกไปทำงานในโรงงาน หรือทำงานข้าราชการ บริษัทอย่างในปัจจุบัน ซึ่งเวลาในการทำงานเป็นเวลา เริ่มเช้าเลิกเย็นไปจนถึงดึก ทำให้ชาวบ้านต่างไม่มีเวลาดังเช่นแต่ก่อน

          กล่าวโดยสรุปคือ การเปลี่ยนแปลงช่วง พ.ศ. 2500-2540 ที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 จนถึงการพัฒนาสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นั้นได้ส่งผลให้สังคมมีชุมชนทางหนองขาวมีพลวัตอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งปกติแล้วในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ก็มีพลวัตอยู่สม่ำเสมอ แต่ในช่วง พ.ศ. 2500-2540 นับเป็นปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้สภาพสังคมดั้งที่ยกตัวอย่างคือ อาชีพ การรักษาโรคสาธารณสุขและวัฒนธรรม นั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจกล่าวได้ถึงว่าการพัฒนาสังคมของชุมชนหนองขาวนั้นสอดคล้องกับการพัฒนาสังคมในระดับชาติ แต่อาจจะเป็นการด่วนสรุปไป จึงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้สภาพสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไป ในการศึกษางานอื่นๆ ต่อไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

[หนังสือ]

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ พระ. (2511). กลอนไดอรีซึมทราบ ตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราศ

          ท้าวสุภักติการภักดี และกลอนนารีภิรมย์. พระนคร: จันหว่า.

วิรัช และนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ. (2533). การทรงเจ้าและร่างทรง: ความเชื่อพิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อ

          สังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2540). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย: กระบวนการเรียนรู้ด้วยกัน. กรุงเทพฯ:

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 9. (2523). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

[วารสาร]

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, อุไรรัตน์ ไพบูลย์วัฒนกิจและวิวรรธน์ นาคสุข. (2543). การเข้าทรงของหมู่บ้านหนอง

          ขาว ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร,19-20(3),

 257-341

[วิทยานิพนธ์]

จารวี โกมลดิษฐ์. (2544). บทบาทผู้นำด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของ : พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ (ระหว่าง พ.ศ. 2531-2534). ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขารัฐศาสตร์,สำนักหอสมุดกลาง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจรัชต์ เมืองไทย. (2543). พิธีทรงเจ้า:พิธีกรรมกับโครงสร้างสังคมที่หนองขาว. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขามานุษยวิทยา,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาศิลปกร.

ปานวาด มากนวล. (2554). บทบาทและการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคที่บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

[สัมภาษณ์]

นงนุช กระต่าย. (2561, 4 เมษายน). สัมภาษณ์ (แม่)

ลำยอง กระต่าย. (2561, 3 เมษายน). สัมภาษณ์ (ป้า)

 

[เว็บไซต์]

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับ1-12.

          เข้าถึงได้จาก : nesdb.go.th (วันที่สืบค้นข้อมูล 2 เมษายน 2561)

 

 

         

 

[1] แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-5 ก็ส่งผลให้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบในการทำนาของชุมชนชาวหนองขาวโดยมีปรับเปลี่ยนไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

[2] ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (newly industrialized country, NIC) เป็นประเภทการจำแนกประเทศโดยนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์

[3] ปัจจุบันปี 2561 ร้านขายของชำเหล่านี้ได้ปิดตัวลงเกือบหมดเพราะมีร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกขนาดเล็กมาเปิดบริการ

[4] แพทย์ประจำตำบล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หมอตำบล” เป็นตำแหน่ง แพทย์ที่กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ปี พ.ศ. 2457

[5] โรงพยาบาลอำเภอท่าม่วง ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19

 

 

                                   ที่มารูปภาพ (https://www.http://oknation.nationtv.tv ) (ตาม อ.ส.ท.ไปถ่าย สารคดีท่องเที่ยว)

6,792 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดกาญจนบุรี