คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เงินท้อกเชียงใหม่

      เงินท้อกคืออะไร

                  เงินตราของอาณาจักรล้านนามีหลายประเภท อาทิ เงินเจียง (เงินขาคีม) และเงินท้อก ในส่วนของเงินท้อกนั้น สามารถแบ่งได้เป็นตามแหล่งผลิต อาทิ เงินท้อกลำปาง (เรียกอีกอย่างว่าเงินท้อกวงตีนม้า) เงินท้อกเชียงใหม่ เงินท้อกน่าน

               วัตถุจัดแสดงชิ้นนี้จัดอยู่ในประเภทเงินท้อกเชียงใหม่ มีลักษณะเด่นคือ รูปร่างทรงกลมแบนคล้ายเปลือกหอยตลับ หรือเหมือนกาบหอย ด้านล่างเป็นพื้นราบมีวัตถุสีเหลืองอมแดงหุ้มอยู่ ซึ่งเป็นสีของไข่แดงของไข่ไก่ที่ถูกเผาไฟ ส่วนด้านบนนูนหนามีพื้นย่นประกอบด้วยเส้นริ้วเล็กๆ แตกเป็นร่องละเอียด มีช่องกลวงคล้ายโพรงรูปพระจันทร์เสี้ยวเป็นแอ่งเว้าลงไป ทำให้มีการเรียกชื่ออื่นๆ ด้วยเช่นกันว่า ท้อกใบไม้ ท้อกหอยโข่ง (เงินหอย) หรือท้อกปากหมู เป็นต้น

               เงินท้อกเชียงใหม่มีการใช้วัสดุแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับราคา หากทำด้วยเนื้อเงินล้วนจะมีราคาสูง แต่หากเป็นเนื้อเงินผสมสำริด ดังเช่นวัตถุจัดแสดงชิ้นนี้จะมีราคาต่ำลงมา ส่วนพิกัดราคายังแบ่งตามน้ำหนักของตัววัตถุ มีตั้งแต่ขนาดใหญ่ลดหลั่นไปยังขนาดเล็กเป็นเถา

                  มีการตีหรือตอกตราประจำเมืองไว้บนเหรียญเงินท้อกประมาณ 2-3 จุด หรือ 2-3 ดวง ซึ่งอาจเป็นตราเดียวกันทั้งหมดหรืออาจตีตราพิเศษเพิ่มข้นอีกตราก็ได้ ตราเหล่านี้ตอกประทับในขณะที่ผลิตเงินตราขึ้น แต่ก็ไม่แน่ชัดนัก เนื่องจากผิวเงินท้อกค่อนข้างย่นเป็นคลื่นไม่เรียบ

                 เงินท้อกเชียงใหม่มีความแตกต่างจากเงินท้อกลำปางและเงินท้อกเมืองน่าน คือนอกเหนือไปจากขนาดความหนาที่แตกต่างกันแล้ว กล่าวคือ เงินท้อกลำปางมีผิวที่บางมากเป็นพิเศษแล้ว  ยังมีข้อสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างเงินท้อกเชียงใหม่กับเงินท้อกลำปาง คือการใช้รูปสัญลักษณ์ที่ตีตราต่างกัน เงินท้อกลำปางมีตรารูปม้าอยู่ที่ริมขอบ และบางเหรียญเป็นอักษรรูปตัว "" ในขณะที่เงินท้อกเชียงใหม่ มีการใช้ตราสัญลักษณ์รูปช้าง ซึ่งเป็นตราเมืองเชียงใหม่ นอกนั้นเป็นตราจักร หมายถึงขึ้นอยู่กับราชวงศ์จักรีของสยาม และบางเหรียญมีตัวอักขระล้านนาเป็นอักษรย่อแบบต่างๆ เงินท้อกรุ่นหลังๆ จะไม่มีตราพวกนี้ตีไว้

               ส่วนเงินท้อกเมืองน่านมักทำด้วยโลหะผสม มีเนื้อเงินน้อยมาก รูปร่างกลมตัน พื้นเรียบไม่มีรอยย่นเป็นริ้วเหมือนเงินท้อกเชียงใหม่ ด้านที่มีรอยเว้าเล็กน้อยนั้นมีลักษณะคล้ายรอยนิ้วมือกดไม่เป็นโพรงลึก มีรูเล็กๆ เจาะไว้ริมขอบเพื่อสามารถใช้ลวดร้อยหิ้วไปมาได้สะดวก

            เงินท้อกมีการใช้ติดต่อในรูปแบบเดียวกันอย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยล้านนาตอนต้น แม้เมื่ออาณาจักรแห่งนี้แตกออกและตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาเป็นเวลายาวนานแล้วก็ตาม เนื่องจากพม่าไม่มีการควบคุมการผลิตเงินตราของประเทศราช หัวเมืองในอาณาจักรล้านนาจึงยังคงผลิตเงินตราในรูปแบบเดิมต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และใช้ปะปนไปกับเงินดอกไม้หรือเงินผักชี ซึ่งเป็นเงินตราของพม่า

               จนในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวเชียงใหม่จึงได้เริ่มใช้เหรียญเงินรูปี (รูเปีย) ของประเทศอังกฤษที่แพร่เข้ามา อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนครเชียงใหม่ตรงกับสมัยของพระเจ้าอินทรวิไชยานนท์นั้น ยังปรากฏว่ามีการนำเงินท้อกไปใช้ในการหมั้น สู่ขอเจ้าสาว การซื้อที่ดิน คือใช้ในเรื่องสำคัญๆ เหมือนกับลักษณะที่เคยมีมาตั้งแต่อดีต

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ

และภาพจาก 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย

5,129 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่