คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

กิจกรรม

  1. หน้าแรก
  2.    >   
  3.    >   นิทรรศการ "อีสานเดิ้น"
กิจกรรมปี 2564

01 เม.ย. 2564

30 มิ.ย. 2564

นิทรรศการ "อีสานเดิ้น"

722 ผู้เข้าชม

0

แบ่งปัน

อีสานเดิ้น (Esan Dern)

นิทรรศการเครื่องประดับอัตลักษณ์อีสานใต้

 

จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีสานใต้สู่การออกแบบเครื่องประดับ

อีสานใต้ : เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี

และความเชื่อ ฯลฯ การใช้เครื่องประดับเพื่อบ่งบอกถึงสถานภาพทางสังคม ความงาม และรสนิยม

ถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอีสานใต้ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เครื่องประดับอัตลักษณ์ชนเผ่า

ในพื้นที่อีสานใต้นั้น มีหลากหลายแบบ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความพิเศษ

ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของภูมิภาค อาทิ

 

  • กระจอน” ต่างหูโบราณที่ส่วนหัวมีลักษณะเป็นแป้นวงกลมเชื่อมติดเข้ากับส่วนก้านที่โค้งงอ

เหมือนตะขอ เมื่อสวมแล้วส่วนก้านจะห้อยลงมาจากด้านหลังใบหู

มีลวดลายละเอียดซับซ้อน รูปแบบได้แรงบันดาลใจมาจากดอกไม้ อาทิ ดอกแก้ว และดอกพิกุล

 

  • ประเกือม” มีลักษณะเป็นเม็ดกลมคล้ายลูกประคำ ทำจากเม็ดเงิน มีหลายขนาด

มักนิยมนำมาร้อยต่อกันเป็นเครื่องประดับ โดยความโดดเด่นของประเกือมอยู่ที่ลวดลาย

ที่แกะสลักอยู่โดยรอบเม็ด

 

นับวันเครื่องประดับอันทรงคุณค่าที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมนี้กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา

ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาให้ยั่งยืนสืบไป

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จึงได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบสินค้าและเทคนิคการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

แก่เครื่องประดับในพื้นที่อีสานใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

และอุบลราชธานี โดยนำเอกลักษณ์ของภูมิภาคที่สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย

พร้อมยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้า และนำมาเชื่อมโยงเข้ากับการท่องเที่ยว

เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่ซึ่งมี “เครื่องประดับอันทรงคุณค่า”

เป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

 

จัดแสดงระหว่างเดือน เมษายน - มิถุนายน 2564

ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น.

ณ พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

 

 

วันที่สร้าง : 29 มีนาคม 2564

0

แบ่งปัน

01 เม.ย. 2564 - 30 มิ.ย. 2564

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสีลม
แขวงสุริยวงศ์
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02 634 4999 ต่อ 201

โทรสาร :